โทรศัพท์ 1358
โครงการฟื้นฟูฯ คือคำตอบของ Micro SMEs - คนตัวเล็ก ที่มีปัญหา?
โครงการฟื้นฟูฯ คือคำตอบของ Micro SMEs - คนตัวเล็ก ที่มีปัญหา? โครงการฟื้นฟูและเสริมศักยภาพวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วงเงิน 8,000 ล้านบาทมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยผู้ประกอบการ SMEs ที่มีปัญหา - มีปัญหาทางด้านการเงิน- เข้าถึงแหล่งเงินทุนของสถาบันการเงินได้ยาก- ต้องการเงินทุน หรือ มีเงินทุนไม่เพียงพอ- ขยายกิจการ ปรับปรุง เริ่มต้นธุรกิจหรือปรับเปลี่ยนแนวทางการดำเนินธุรกิจ- ใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินกิจการ- ยื่นกู้ได้โดยไม่ต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน #กรส่งเสริมอุตสาหกรรม #เอสเอ็มอี #9มาตรการพิเศษขับเคลื่อนเอสเอ็มอี
09 มี.ค. 2561
อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานพิธีมอบรางวัล คนดีศรี กสอ และเจริญพระพุทธมนต์ ถวายจตุปัจจัยไทยธรรม และถวายภัตตาหารเพลแด่พระภิกษุสงฆ์ เนื่องในวันคล้ายวันสถาปนาครบรอบ 76 ปี กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
วันที่ 9 มีนาคม 2561 นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานพิธีมอบรางวัล คนดีศรี กสอ และเจริญพระพุทธมนต์ ถวายจตุปัจจัยไทยธรรม และถวายภัตตาหารเพลแด่พระภิกษุสงฆ์ เนื่องในวันคล้ายวันสถาปนาครบรอบ 76 ปี กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โดยมี นายสมชาย หาญหิรัญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ให้เกียรติเข้าร่วมงาน พร้อมด้วย นางสาวนิสากร จึงเจริญธรรม รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม โดยมี นางสาวนิรามัย ศิริศรีสุดากุล ผอ.ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 และคณะผู้บริหาร ข้าราชการ อดีตผู้บริหารและข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าร่วมพิธีดังกล่าว ณ ห้องประชุม โซน A ชั้น 6 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
09 มี.ค. 2561
ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 เข้าร่วมกิจกรรม สร้างพลังสตรี สามัคคีรวมใจ สู่ไทยยั่งยืน เนื่องในวันสตรีสากล ประจำปี 2561
วันพฤหัสบดีที่ 8 มีนาคม 2561 นางสาวนิรามัย ศิริศรีสุดากุล ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 เข้าร่วมกิจกรรม สร้างพลังสตรี สามัคคีรวมใจ สู่ไทยยั่งยืน เนื่องในวันสตรีสากล ประจำปี 2561 โดยนายวีระศักดิ์ วิจิตร์แสงสี ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร เป็นประธานในพิธี ณ หน้าอาคารศูนย์ข้อมูลการท่องเที่ยวและ OTOP บริเวณสวนสาธารณะบึงสีไฟ อ.เมือง จ.พิจิตร
08 มี.ค. 2561
ทำไม? ต้องช่วยคนตัวเล็ก
ทำไม? ต้องช่วยคนตัวเล็ก จากเศรษฐกิจการส่งออกขยายตัวในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2560 เป็นการขยายตัวเฉพาะอุตสาหกรรมขนาดใหญ่และขนาดกลางที่มีศักยภาพ ในขณะที่ผู้ประกอบการ SMEs บางส่วนโดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการ รายย่อย ผู้ประกอบการในภูมิภาคและวิสาหกิจชุมชน ยังประสบปัญหาในการประกอบธุรกิจไม่สามารถเข้าถึงบริการของหน่วยงานภาครัฐ รวมทั้งไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับธุรกิจของตนเองได้ และเพื่อเป็นส่วนสำคัญช่วยผลักดันให้เศรษฐกิจไทยเกิดการขยายตัวต่อยอดไปสู่การจ้างงาน สร้างอาชีพ ลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ส่งเสริมและและสนับสนุนและพัฒนาศักยภาพ SMEs ให้พร้อมเพื่อเข้าสู่ยุคประเทศไทย 4.0 กระทรวงอุตสาหกรรม จึงได้ดำเนินการ “โครงการฟื้นฟูและเสริมศักยภาพวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม” สำหรับ Micro SMEs - คนตัวเล็ก ภายใต้มาตรการพิเศษเพื่อช่วยขับเคลื่อน SMEs #กรส่งเสริมอุตสาหกรรม #เอสเอ็มอี #9มาตรการพิเศษขับเคลื่อนเอสเอ็มอี
07 มี.ค. 2561
อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (อสอ) ให้เกียรตินำคณะเจ้าหน้าที่และผู้ประกอบการไทยเข้าร่วมงานและเยี่ยมชมบูธในงาน Foodex Japan 2018
วันที่ 7 มีนาคม 2561 - นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (อสอ) ให้เกียรตินำคณะเจ้าหน้าที่และผู้ประกอบการไทยเข้าร่วมงานและเยี่ยมชมบูธในงาน Foodex Japan 2018 ซึ่งเป็นงานแสดงอาหารและเครื่องดื่มระดับโลก ณ ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 6-9 มีนาคม 2561 โดยมีผู้ประกอบการไทยเข้าร่วมงานจำนวน 18 บริษัท (27 ราย) และสถาบันอาหารเป็นหน่วยร่วมดำเนินงาน ภายใต้โครงการสร้างเครือข่ายอุตสาหกรรมเป้าหมายและสร้างโอกาส ขยายช่องทางธุรกิจ(อาหารแปรูป) กิจกรรมพัฒนาการรวมกลุ่มและเชื่อมโยงเครือข่ายคลัสเตอร์อุตสากรรมแห่งอนาคต(อุตสาหกรรมอาหารแห่งอนาคต) พร้อมนี้ท่าน อสอ. ได้แนะนำ 9 มาตรการส่งเสริม SMEs ของภาครัฐให้แก่ผู้ประกอบการทร อาทิ โครงการ Big brother กองทุนคนตัวเล็ก และการให้บริการผ่าน SSRC เพื่อเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการพัฒนาศักยภาพและช่วยเหลือผู้ประกอบการในการพัฒนาธุรกิจและขีดความสามารถในการแข่งขันต่อไป ### PR. DIP (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน
07 มี.ค. 2561
เปิดรับสมัครผู้ประกอบการ SMEs เข้าร่วมใช้ระบบเชื่อมโยงธุรกิจผ่านแพลทฟอร์ม T-GoodTech ของไทย โดยเป็นช่องทางการจับคู่ระหว่างธุรกิจกับธุรกิจ (B2B) ระหว่างผู้ประกอบการไทยด้วยกันเองและระหว่างผู้ประกอบการไทยกับบริษัททั่วโลก พร้อมเชื่อมต่อสู่แพลทฟอร์ม J-GoodTech
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดรับสมัครผู้ประกอบการ SMEs เข้าร่วมใช้ระบบเชื่อมโยงธุรกิจผ่านแพลทฟอร์ม T-GoodTech ของไทย โดยเป็นช่องทางการจับคู่ระหว่างธุรกิจกับธุรกิจ (B2B) ระหว่างผู้ประกอบการไทยด้วยกันเองและระหว่างผู้ประกอบการไทยกับบริษัททั่วโลก พร้อมเชื่อมต่อสู่แพลทฟอร์ม J-GoodTech ของประเทศญี่ปุ่นในอนาคตโดยสามารถสมัครผ่านช่องทางออนไลน์https://goo.gl/iZhLiV ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่http://www.tgoodtech.com/ โทรสอบถามรายละเอียดได้ที่ 02-2024497** ประชาสัมพันธ์โดยศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 **
06 มี.ค. 2561
การประชุมคณะอนุกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐประจำจังหวัดอ่างทอง
วันอังคารที่ 6 มีนาคม 2561 นายสิทธิรงณ์ เร่งเงียบ ผู้อำนวยการกลุ่มงานพัฒนาการส่งเสริมธุรกิจอุตสาหกรรม ผู้แทน ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 เข้าร่วมประชุมคณะอนุกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐประจำจังหวัดอ่างทอง ร่วมกับอนุกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐประจำจังหวัดอ่างทอง ทั้งภาครัฐและเอกชน จำนวน 22 คน โดยมีนายประมวล มุ่งมาตร รองผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง ประธานคณะอนุกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐประจำจังหวัดอ่างทอง เป็นประธานที่ประชุม เพื่อพิจารณาอนุมัติให้สินเชื่อแก่ SMEs ผู้ขอกู้จำนวน 2 กิจการ วงเงิน 6,000,000 บาท รวมทั้งหมดปล่อยกู้ไปแล้ว 12 ราย วงเงิน 55,000,000 บาท ณ ห้องประชุมชั้น 2 สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดอ่างทอง ตำบลศาลาแดง อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง
06 มี.ค. 2561
B2B คืออะไร ทำอย่างไรให้รุ่ง
B2B คืออะไร ทำอย่างไรให้รุ่ง ปัจจุบันระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยนั้นขับเคลื่อนไปด้วยธุรกิจทั้งขนาดกลางและขนาดย่อมมากมายหลายประเภท ทั้งแบบ B2B (Business to Business), B2C (Business to Consumer), C2C (Consumer to Consumer) วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับธุรกิจแบบ B2B กัน ว่า B2B คืออะไร ทำอย่างไรให้ธุรกิจแบบ B2B ประสบความสำเร็จผู้ประกอบการ กับ ผู้ประกอบการ (Business to Business – B2B) คือการค้าระหว่างผู้ค้ากับลูกค้า แต่ในที่นี้ลูกค้าจะเป็นในรูปแบบของผู้ประกอบการ ซึ่งจะครอบคลุมถึงเรื่อง การขายส่ง การทำการสั่งซื้อสินค้าผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ ระบบห่วงโซ่การผลิต (Supply Chain Management) เป็นต้น ซึ่งจะมีความซับซ้อนในระดับต่าง ๆ กันไป เช่น ซื้ออ้อยเพื่อนำไปผลิตเป็นน้ำตาล เป็นต้น โดยส่วนใหญ่ผู้ซื้อและผู้ขายมักจะรู้จักกันล่วงหน้า และอาจทำเอกสารสัญญาที่เป็นกระดาษกันล่วงหน้า ดังนั้นความเสี่ยงที่เกิดจากการซื้อขายจะต่ำปัจจัยที่ส่งผลให้ธุรกิจประสบผลสำเร็จสำหรับธุรกิจ B2B (Business to Business) คือ 1. การจูงใจให้ลูกค้าของลูกค้าเกิดความสนใจและต้องการจากการจุดประกายความต้องการ เช่น การสร้างแรงจูงใจว่าเมื่อลูกค้าซื้อผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่เรามีไป ลูกค้าจะได้อะไรกลับมาบ้าง เป็นต้น2. มีการจัดการบริหารสินค้าที่เป็นรูปแบบขายส่ง โดยเน้นในปริมาณมาก แต่ราคาต่อหน่วยต่ำ ซึ่งนักการตลาดทั้งหลายของการทำธุรกิจประเภทนี้ต้องคงคุณภาพและชื่อเสียงไว้ให้ดูดีอยู่ตลอดเวลา และต้องเน้นการดูแลลูกค้าเป็นสำคัญ3. การโปรโมทสินค้า#กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม #เอสเอ็มอี #9มาตรการพิเศษขับเคลื่อนเอสเอ็มอี
05 มี.ค. 2561
กระทรวงอุตฯ ลงพื้นที่ดึง​ Big Brothers​ มอบเครื่องมือ เสริมแกร่งเกษตรกรไทย
กระทรวงอุตฯ ลงพื้นที่ดึง Big Brothers มอบเครื่องมือ เสริมแกร่งเกษตรกรไทย จ.เพชรบุรี 5 มีนาคม 2561- นายสมชาย หาญหิรัญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายภานุวัฒน์ ตริยางกูรศรี รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นางสาวสุนีย์รัตน์ ภู่ขำ นายอำเภอบ้านลาด จ.เพชรบุรี คณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม และคณะสื่อมวลชน ลงพื้นที่เยี่ยมชมการดำเนินงานและรับฟังปัญหาต่าง ๆ ของสหกรณ์การเกษตรบ้านลาด จ.เพชรบุรี ซึ่งเป็นกลุ่มผลิตกล้วยหอมทองบรรจุหีบห่อที่มีขายตามเซเว่นต่างๆ สำหรับการเยี่ยมชมครั้งนี้ ทางสหกรณ์การเกษตรฯ มีความต้องการให้ภาครัฐเข้ามาสนับสนุนอุปกรณ์การผลิตและเทคโนโลยีผ่านระบบสหกรณ์ รวมถึงการเพิ่มพูนความรู้ให้กับบุคลากรในการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมอาหารที่สามารถนำไปต่อยอดธุรกิจให้สามารถแข่งขันในตลาดได้ โดยเฉพาะผลผลิตที่มีในท้องถิ่น เช่น กล้วยหอม ละมุด ตาลโตนด มะนาว และผักในท้องถิ่น ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้การดำเนินธุรกิจของสหกรณ์เกิดศักยภาพ สามารถสร้างรายได้ให้กับสมาชิก และทำให้เศรษฐกิจภายในชุมชนโตขึ้นได้ โดยที่ผ่านมา กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ได้เข้ามาส่งเสริมด้านการสร้างมูลค่าเพิ่มการแปรรูปผลไม้กล้วยหอมทองเป็นกล้วยอบหรือกล้วยอาบแดด ด้วยการนำงานวิจัยมาประยุกต์ใช้ในเชิงพาณิชย์ นอกจากนี้ บริษัท โปรแกรส เทคโนโลยี คอนเซาท์แท็นส์ บริษัทเอกชนขนาดใหญ่ที่เข้าร่วมโครงการ Big Brother กับทาง กสอ. ได้เข้าไปช่วยติดตั้งตู้อบแห้งระบบลมร้อน 1 เครื่อง เครื่องรีดกล้วย 1 เครื่องให้แก่กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านละหานใหญ่สามัคคี สหกรณ์การเกษตรบ้านลาด นับเป็นรายแรกหลังจากที่ได้มีการลงนามความร่วมมือโครงการ “ปั้นนักธุรกิจอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปไทย (SMEs เกษตร) ตามแนวประชารัฐ ภายใต้มาตรการ Local Economy 1 ใน 9 มาตรการพิเศษของกระทรวงอุตสาหกรรม ทั้งนี้ ปัจจุบันสหกรณ์ฯ กำลังดำเนินโครงการสนับสนุนกลุ่มสมาชิกสหกรณ์เพื่อนำผลผลิตกล้วยตกเกรดไปแปรรูปเป็นกล้วยกวน (กล้วยหอมทอง) เพื่อเพิ่มมูลค่าต่อไป ### PR. DIP (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
05 มี.ค. 2561