โทรศัพท์ 1358
ขอเชิญร่วมงาน ITC Smart SME ด้วยเทคโนโลยี 4.0 วันที่ 15-16 กุมภาพันธ์ 2561
ฟรี ‼️ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 ขอเชิญร่วมงาน ITC Smart SME ด้วยเทคโนโลยี 4.0 วันที่ 15-16 กุมภาพันธ์ 2561 ประธานพิธีเปิดศูนย์ ITC โดย ดร.สมชาย หาญหิรัญรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2561 เริ่มเวลา 14.00 น. - 17.30 น. ณ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 ถนนคลังอาวุธ ตำบลขามใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ????สำรองที่นั่งและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 08 2153 2001 หรือ ลงทะเบียน Online https://goo.gl/forms/2AN2E7swLHWeSlP02???? ????ภายในงานมีกิจกรรมที่น่าสนใจมากมาย???? - ฝึกอบรม และทดลอง ใช้เครื่อง 3D PRINTINGเครื่องบรรจุของเหลว Filling/เครื่องพิมพ์ฉลากสินค้า/เครื่องติดฉลาก และเครื่องบรรจุกล่องและปิดฝากล่องโดยมีผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษาแนะนำ -ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ อาทิ หลักสูตร : สร้าง Youtube Videoให้ดัง ตังค์มาเอง 2018 (โปรโมทวีดีโอผ่าน Youtube, Facebook) และบัญชีง่ายดี ภาษีถูกต้อง, การออกแบบตัดเย็บเสื้อผ้า,การซ่อมบำรุงจักรอุตสาหกรรม, การย้อมสีธรรมชาติ, การทอผ้าด้วยกี่กระตุก ระบบคันกระดก เป็นต้น -พบกับบูธการแสดง เทคโนโลยีนวัตกรรม/ ผลงานวิจัย ของสถาบันการศึกษา เครือข่ายหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการเงิน พร้อมให้ความช่วยเหลือ SMEs มากกว่า 10 หน่วยงาน และรับสมัครเข้าร่วมโครงการ -ชมนิทรรศการอุปกรณ์ เครื่องจักรกลทางการเกษตรและนวัตกรรมหุ่นยนต์แขนกล ของ RST ROBOTICS -บูธ SHOW CASE แสดงและจำหน่ายสินค้าผู้ประกอบการที่รับบริการ จากศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มากกว่า 50 บูธ ????สำรองที่นั่งและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 08 2153 2001 หรือ ลงทะเบียน Online https://goo.gl/forms/2AN2E7swLHWeSlP02???? Cr: ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 จ.อุบลราชธานี โทรศัพท์ : 045314216-7โทรสาร : (045)311987website : https://ipc7.dip.go.th
30 ม.ค. 2561
อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร (MEDICAL HUB)
อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร (MEDICAL HUB) อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร เป็นการสร้างอุตสาหกรรมใหม่ต่อยอดจากธุรกิจการรักษาพยาบาล และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่ประเทศไทยมีฐานเดิมที่แข็งแรง โดยเพิ่มธุรกิจด้านอุปกรณ์ทางการแพทย์จากพื้นฐานด้านอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม โดยอุตสาหกรรมนี้เป็นอุตสาหกรรมที่มีอัตราการเจริญเติบโตค่อนข้างเร็วในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว คือร้อยละ 3.2 และอุตสาหกรรมเวชภัณฑ์จากพื้นฐานด้านการเกษตรและเคมีชีวภาพ อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจรของไทยจะประกอบด้วย 3 ส่วน คือการให้บริการสมัยใหม่ การวิจัยและผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์ และการวิจัยยา-ผลิตเวชภัณฑ์ ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ การให้บริการด้านการแพทย์ผ่านอินเทอร์เน็ตและสมาร์ทโฟน โดยการใช้เทคโนโลยีการเชื่อมต่อและระบบเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้คำปรึกษาทางการแพทย์และให้บริการรักษาทางไกลกับผู้ป่วยทั้งในและต่างประเทศ เพื่อเป็นทางเลือกแทนการเสียค่ารักษาพยาบาลราคาสูง หรือเพื่อให้บริการผู้ป่วยในพื้นที่ห่างไกล การพัฒนาระบบดังกล่าวสามารถทำได้โดยสถานพยาบาล หรือผู้ประกอบการด้านโทรคมนาคม การผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์เพื่อการวินิจฉัยและติดตามผลระยะไกล ซึ่งมีรากฐานมาจากการพัฒนาของเครื่องรับรู้ และอุปกรณ์การวัดสมัยใหม่ โดยอุปกรณ์วินิจฉัยและติดตามผลระยะไกลสามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มผู้บริโภคสามกลุ่มคือ 1) กลุ่มผู้มีโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคเกี่ยวกับระบบหายใจ 2) ผู้สูงอายุ และ 3) ผู้ที่ต้องการวินิจฉัยโรคด้วยตนเอง เช่น วัดความดันโลหิต การเต้นของหัวใจ เป็นต้นส่งเสริมการวิจัยยาและการผลิตยาที่ทันสมัย เป็นที่ต้องการของประเทศในเอเชียโดยเน้นการลดกระบวนการและลดระยะเวลาการทดลองยาสมัยใหม่ ให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและประหยัดเวลาในการทดสอบ เพื่อดึงดูดให้มีการทดสอบและผลิตยาในประเทศไทยเพื่อเอเชียในอนาคต ส่งเสริมการวิจัยและผลิตชีวเวชภัณฑ์ โดยมุ่งเน้นที่การผลิตยาชีววัตถุคล้ายคลึง ซึ่งคือยาสามัญของยาชีววัตถุต้นแบบ ที่มีการวิจัยและจดสิทธิบัตรแต่สิทธิบัตรหมดอายุลงแล้ว ในปัจจุบันยาชีววัตถุเป็นแนวโน้มในอุตสาหกรรมเวชภัณฑ์ที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็วจนมีขนาดใหญ่กว่ายาสามัญทั่วไปและ จะมียาชีววัตถุต้นแบบกว่า 10 ชนิดที่สิทธิบัตรจะหมดอายุลงตัวอย่างของยาชีววัตถุเช่น วัคซีน อินซูลิน ยาโรคข้ออักเสบ เป็นต้น Cr: หนังสือ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย กลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
29 ม.ค. 2561
กสอ.​ ชู​ 3 P พัฒนาเศรษฐกิจฐานราก พร้อมดึง​ OTOP​ ทดสอบตลาดในงาน “มหกรรมผลิตภัณฑ์ชุมชน”
กสอ. ชู 3 P พัฒนาเศรษฐกิจฐานราก พร้อมดึง OTOP ทดสอบตลาดในงาน “มหกรรมผลิตภัณฑ์ชุมชน” กรุงเทพฯ 29 มกราคม 2561- นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงาน “มหกรรมผลิตภัณฑ์ชุมชน” ซึ่งจัดขึ้นเพื่อหนุนผู้ประกอบการชุมชนตอบโจทย์ผู้บริโภคอย่างตรงจุดยึดหลัก“การตลาดนำการผลิต” หวังต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตรงความต้องการของตลาด สร้างอำนาจต่อรอง และเพิ่มศักยภาพผ่านโมเดลการพัฒนา 3 P คือ 1.People หรือ การพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ โดยเป็นการให้คำแนะนำสำหรับการเป็นผู้ประกอบการอย่างมืออาชีพ 2.Process หรือ การพัฒนาศักยภาพในการผลิต โดยมีการแนะนำให้ความรู้สำหรับการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green OTOP) รวมถึงการปรับปรุงกระบวนการผลิตเพื่อให้ได้รับการรับรองมาตรฐานต่างๆ และ 3.Product หรือ การพัฒนาด้านผลิตภัณฑ์ โดยให้คำแนะนำส่งเสริมการผลิตและการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้เข้าสู่มาตรฐานสากล และให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค ทั้งนี้ กรมฯได้คัดเลือกผู้ประกอบการที่มีศักยภาพและผ่านกระบวนการพัฒนาในหลากหลายโครงการร่วมออกบูธกว่า 80 ร้านค้า ระหว่างวันที่ 29 มกราคม-2 กุมภาพันธ์ 2561 ณ บริเวณห้องนิทรรศการ ชั้น 1 อาคาร กสอ. ถ.พระรามที่ 6 ราชเทวี ### PR.DIP (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สล.กสอ.) : รายงาน/ภาพข่าว รายละเอียดเพิ่มเติม : https://www.dip.go.th/…/…/PRDIP%202018/press%20no.014%20.pdf
29 ม.ค. 2561
อุตสาหกรรมดิจิทัล (DIGITAL)
อุตสาหกรรมดิจิทัล (DIGITAL) ดิจิทัล ถือเป็นแนวโน้มสำคัญของโลก ซึ่งจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมภาคการผลิตและผู้บริโภคอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อพิจารณาผลกระทบและศักยภาพของประเทศไทยแล้ว จะสามารถแบ่งอุตสาหกรรมย่อยได้เป็นสองกลุ่มคือ กลุ่มที่มาจากความต้องการด้านดิจิทัลของฐานธุรกิจ และกลุ่มที่ประเทศไทยสามารถพัฒนาเป็นอุตสาหกรรมใหม่เพื่อการส่งออกได้ดังนี้กลุ่มที่ 1.อุตสาหกรรมดิจิทัลที่เกิดจากความต้องการของรัฐบาล ธุรกิจ และผู้บริโภค เพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ แบ่งย่อยได้เป็น 5 ประเภทธุรกิจ คือธุรกิจพัฒนาและให้บริการซอฟต์แวร์ ทั้ง Embedded Software, Enterprise Software และ Digital Content และสามารถพัฒนาเป็นพื้นที่นิคม Software Parkธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งรวมถึงการยกระดับภาคการค้าปลีกของไทยสู่การใช้ช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ การสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเริ่มต้นธุรกิจ สำหรับผู้บริโภคในประเทศ และดึงดูดผู้ประกอบการต่างชาติให้เข้ามาลงทุนจัดตั้งศูนย์รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลผู้บริโภค เพื่อให้บริการการวิเคราะห์ข้อมูลเจาะลึกของตลาด แก่ธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ ทั้งนี้ สามารถพัฒนาเป็นพื้นที่นิคม Data Centerบริการเกี่ยวกับหน่วยจัดเก็บข้อมูลและการประมวลผลออนไลน์ และการป้องกันอันตรายในโลกออนไลน์ เพื่อให้ธุรกิจต่างๆ มีความคล่องตัวและเติบโตได้ด้วยการใช้ระบบดิจิทัลพัฒนาเมืองอัจฉริยะ โดยใช้เทคโนโลยีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตของอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งจะเป็นการพัฒนาต่อยอดอุตสาหกรรมโทรคมนาคมและอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการยกระดับคุณภาพชีวิตกลุ่มที่ 2.อุตสาหกรรมดิจิทัลที่มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นอุตสาหกรรมใหม่ได้ คืออุตสาหกรรมสื่อสร้างสรรค์และแอนิเมชั่น โดยต่อยอดจากศักยภาพด้านการออกแบบ เพื่อยกระดับสู่การเป็นเจ้าของเนื้อหาและร่วมลงทุนกับบริษัทสตูดิโอแอนิเมชั่นระดับโลกศูนย์นวัตกรรม วิจัย และออกแบบสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์อนาคตโดยพัฒนาศักยภาพเพื่อโอกาสในการจำหน่ายนวัตกรรมสู่ประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ ในภูมิภาคใกล้เคียง Cr: หนังสือ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย กลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
28 ม.ค. 2561
อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ (BIOFUELS AND BIOCHEMICALS)
อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ (BIOFUELS AND BIOCHEMICALS) อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการคาดการณ์ว่าจะเติบโตเร็วในอนาคต และเป็นอุตสาหกรรมที่ประเทศไทยมีศักยภาพสูง เนื่องจากมีความพร้อมทางด้านวัตถุดิบ เช่น การที่ประเทศไทย เป็นผู้ส่งออกมันสำปะหลังรายใหญ่ที่สุดของโลก มีอุตสาหกรรมเคมีและอุตสาหกรรมเชื้อเพลิง เอทานอลที่พัฒนาแล้ว ประเทศไทยควรจะสร้างอุตสาหกรรมชีวภาพ ที่ต่อยอดจากอุตสาหกรรมผลิตเอทานอลและเคมีในปัจจุบัน ดังนี้สร้างอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพครบวงจร โดยการพัฒนาอุตสาหกรรมกลางน้ำ เช่น การผลิตกรดแลคติกและกรดซักซินิกจากเอทานอล เป็นสะพานเชื่อมระหว่างอุตสาหกรรมต้นน้ำ (ผลิตเอทานอล) และปลายน้ำ (อุตสาหกรรมเคมี) ที่มีอยู่แล้วรวมถึงผลิตภัณฑ์เคมีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและผลิตภัณฑ์พอลิเมอร์ชนิดพิเศษยกระดับอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพที่มีอยู่แล้วในปัจจุบัน โดยขยายการใช้เทคโนโลยีผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพรุ่นที่สอง (ซึ่งหมายถึงเชื้อเพลิงชีวภาพที่ผลิตจากวัตถุดิบที่ไม่เป็นอาหาร เช่น ซังข้าวโพดและชานอ้อย) และเพิ่มการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพรุ่นที่สาม (ซึ่งหมายถึงเชื้อเพลิงชีวภาพที่ผลิตจากสาหร่ายที่สามารถเพาะเลี้ยงได้) Cr : หนังสือ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย กลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
27 ม.ค. 2561
อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ (Aviation and Logistics)
อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ (Aviation and Logistics)อุตสาหกรรมการขนส่งเป็นอุตสาหกรรมที่ประเทศไทยมีข้อได้เปรียบทางด้านภูมิศาสตร์ เพราะนอกจากจะเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคอาเซียนแล้ว ประเทศไทยยังเป็นจุดเชื่อมต่อกับอินเดียและจีนอีกด้วย นอกจากนี้ยังถือเป็นอุตสาหกรรมสำคัญเพื่อเอื้ออำนวยแก่อุตสาหกรรมอื่นๆ ส่วนในด้านอุตสาหกรรมการบินเป็นอุตสาหกรรมที่คาดว่าจะโตเร็วที่สุดในกลุ่มอุตสาหกรรมใหม่ที่มีขนาดใหญ่ในประเทศ มีรายได้สูง แต่ยังไม่มีในประเทศไทย โดยมีอัตราการขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 3.4 สำหรับด้านการผลิตและซ่อมบำรุง และร้อยละ 2.8 ในด้านการขนส่งทางอากาศ ทั้งนี้ ประเทศไทยมีศักยภาพสูงในการพัฒนาอุตสาหกรรมการขนส่งและการบินแบบครบวงจรซึ่งครอบคลุม 5 ชนิดธุรกิจ ได้แก่กิจการสาธารณูปโภคและบริการเพื่อการขนส่ง เช่น กิจการขนถ่ายสินค้าสำหรับเรือบรรทุกสินค้า กิจการขนส่งทางรางและสนามบินพาณิชย์ศูนย์รวมกิจการโลจิสติกส์ทันสมัย เช่น การขนส่งทางอากาศ ศูนย์กระจายสินค้าระหว่างประเทศด้วยระบบที่ทันสมัย การขนส่งแบบ Cold Chain และการขนส่งที่ใช้ Big Data and Analytics ทั้งนี้ เพื่อพัฒนาเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางอากาศของอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงได้การบริการซ่อมบำรุงอากาศยาน มุ่งเน้นการซ่อมบำรุงโครงสร้างเครื่องบินลำตัว ซึ่งจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมากในแถบภาคพื้นเอเชีย การซ่อมบำรุงชิ้นส่วน และการซ่อมบำรุงเครื่องยนต์ โดยการร่วมทุนกับสายการบิน ผู้ให้บริการซ่อมบำรุง หรือผู้ผลิตชิ้นส่วน นอกจากนี้ ยังควรพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนอากาศยาน โดยการชักชวนผู้ผลิตระดับที่ 1 และ 2 เข้ามาลงทุนในไทย และสนับสนุนให้ผู้ผลิตที่มีฐานผลิตในไทยอยู่แล้ว แต่ยังไม่มีการผลิตชิ้นส่วนอากาศยานริเริ่มธุรกิจดังกล่าว ส่วนผู้ผลิตระดับ 3 ควรสนับสนุนผู้ผลิตในไทยให้เริ่มผลิตชิ้นส่วนอากาศยาน โดยเริ่มจากชิ้นส่วนที่ไม่เกี่ยวเนื่องกับความปลอดภัยก่อนการพัฒนาพื้นที่โดยรอบท่าอากาศยาน ให้เป็นเขตอุตสาหกรรมสำหรับธุรกิจที่มีมูลค่าสูง อาทิ อิเล็กทรอนิกส์ระดับสูงและเวชภัณฑ์ ธุรกิจที่ต้องการความเร็วจากการขนส่งทางอากาศ เช่น ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร และแฟชั่น ควบคู่กับเพื่อการอยู่อาศัยและอำนวยความสะดวกด้วยการให้บริการฝึกอบรมนักบินและลูกเรือ และบุคลากรด้านเทคนิค รวมถึงด้านซ่อมบำรุงและพนักงานภาคพื้น ซึ่งสามารถตั้งขึ้นได้โดยร่วมทุนกับสายการบิน ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องบินผู้ผลิตอุปกรณ์เพื่อการอบรม หรือจัดตั้งโดยรัฐบาล เพื่อตอบสนองต่อความต้องการบุคลากรด้านการบินที่คาดการณ์ว่าจะเพิ่มสูงถึง 460,000 คน ในปี 2577 ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก #กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม#อุตสาหกรรมเป้าหมาย #อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ #การขนส่งCr: หนังสือ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย กลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
26 ม.ค. 2561
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ลงพื้นที่พบผู้ประกอบการเพื่อให้บริการข้อมูล ประชาสัมพันธ์โครงการ/กิจกรรม ศูนย์ฯ และให้คำปรึกษาแนะนำเบื้องต้น กับผู้ประกอบการ บริษัท โฟร์จีอินเตอร์ จำกัด
วันศุกร์ที่ 26 มกราคม 2561 นายพันธุ์เทพ ทิพยเนตร นักวิชาการอุตสาหกรรม เจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ลงพื้นที่พบผู้ประกอบการเพื่อให้บริการข้อมูล ประชาสัมพันธ์โครงการ/กิจกรรม ศูนย์ฯ และให้คำปรึกษาแนะนำเบื้องต้น กับผู้ประกอบการ บริษัท โฟร์จีอินเตอร์ จำกัด ณ สถานประกอบการ จังหวัดลพบุรี
26 ม.ค. 2561
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ลงพื้นที่พบผู้ประกอบการเพื่อให้บริการข้อมูล ประชาสัมพันธ์โครงการ/กิจกรรม ศูนย์ฯ และให้คำปรึกษาแนะนำเบื้องต้น กับผู้ประกอบการ ลพบุรีหล่อยาง
วันศุกร์ที่ 26 มกราคม 2561 นายพันธุ์เทพ ทิพยเนตร นักวิชาการอุตสาหกรรม เจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ลงพื้นที่พบผู้ประกอบการเพื่อให้บริการข้อมูล ประชาสัมพันธ์โครงการ/กิจกรรม ศูนย์ฯ และให้คำปรึกษาแนะนำเบื้องต้น กับผู้ประกอบการ ลพบุรีหล่อยาง ณ สถานประกอบการ จังหวัดลพบุรี
26 ม.ค. 2561
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ลงพื้นที่พบผู้ประกอบการเพื่อให้บริการข้อมูล ประชาสัมพันธ์โครงการ/กิจกรรม ศูนย์ฯ และให้คำปรึกษาแนะนำเบื้องต้น กับผู้ประกอบการ ชมรมช่างหล่อทองเหลือง
วันศุกร์ที่ 26 มกราคม 2561 นายพันธุ์เทพ ทิพยเนตร นักวิชาการอุตสาหกรรม เจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ลงพื้นที่พบผู้ประกอบการเพื่อให้บริการข้อมูล ประชาสัมพันธ์โครงการ/กิจกรรม ศูนย์ฯ และให้คำปรึกษาแนะนำเบื้องต้น กับผู้ประกอบการ ชมรมช่างหล่อทองเหลือง ณ สถานประกอบการ จังหวัดลพบุรี
26 ม.ค. 2561
กสอ. จับมือจุฬา เปิดตัว “DIP SME Academy” และ E-Learning แหล่งเรียนออนไลน์ของนักธุรกิจรุ่นใหม่
กสอ. จับมือจุฬา เปิดตัว “DIP SME Academy” และ E-Learning แหล่งเรียนออนไลน์ของนักธุรกิจรุ่นใหม่ กรุงเทพฯ 25 มกราคม 2561 - กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ร่วมกับ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแถลงข่าวเปิดตัวโครงการ “DIP SME Academy” และระบบการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งได้รับเกียรติจาก นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และ รศ.ดร.ศิริเดช สุชีวะ คณบดีคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมเป็นประธานในงานแถลงข่าว ณ ห้องบอลรูม โรงแรมพูลแมน บางกอก คิงเพาเวอร์ รางน้ำ เพื่อมุ่งเน้นเสริมสร้างความรู้และพัฒนาศักยภาพให้ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ สามารถนำความรู้ที่ได้จากหลักสูตรมาประยุกต์และใช้เป็นแนวทางในการกำหนดแผนและเป้าหมายทางธุรกิจ รวมถึงต่อยอดสู่การเป็นธุรกิจใหม่ (Startup) ในยุคเศรษฐกิจ 4.0 ผ่านแพลตฟอร์มการเรียนรู้เริ่มต้นธุรกิจที่สามารถเรียนได้ทุกที่ ทุกเวลาผ่านระบบ E-Learning ทาง www.DIP-SME-academy.com นอกจากนี้ เว็บไซต์ดังกล่าว ยังเป็นศูนย์รวมองค์ความรู้ทางธุรกิจที่เหมาะสำหรับผู้ประกอบการรุ่นใหม่ และวิสาหกิจที่ต้องการเริ่มต้นธุรกิจใหม่อีกด้วย ### PR.DIP (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สล.กสอ.) : รายงาน/ภาพข่าว
25 ม.ค. 2561