โทรศัพท์ 1358
อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ (Robotics)
อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ (Robotics) เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าการขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมในปัจจุบันนั้น ‘หุ่นยนต์’ ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดโดยคาดว่าอีก 2-3 ปีข้างหน้า ความต้องการใช้หุ่นยนต์ทั่วโลก มีโอกาสจะเพิ่มสูงขึ้นเกือบ 2 เท่า ซึ่งเป็นผลมาจากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป ประกอบกับภาวะการขาดแคลนแรงงานของภาคอุตสาหกรรมยังคงเป็นปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน ขณะเดียวกัน ภาวะการแข่งขันทางธุรกิจที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น ทำให้ต้องพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันผ่านการเพิ่มผลิตภาพอย่างต่อเนื่อง ยิ่งตอกย้ำให้การใช้งานหุ่นยนต์ในภาคอุตสาหกรรม มีแนวโน้มการเติบโตอย่างมีนัยสำคัญในอนาคต โดยทั่วไปฐานการผลิตหุ่นยนต์มักจะตั้งอยู่ในภูมิภาคเดียวกันกับแหล่งอุตสาหกรรมที่มีความต้องการหุ่นยนต์ประเภทนั้นๆ ดังนั้น ประเทศไทยควรวางแผนสร้างฐานการผลิตหุ่นยนต์เพื่อตอบสนองความต้องการในประเทศและภูมิภาคอาเซียนโดยตรง ได้แก่หุ่นยนต์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ โดยเฉพาะหุ่นยนต์ที่ใช้ในการเชื่อมโลหะ ซึ่งมีจำนวนมากเป็นอันดับหนึ่งของจำนวนหุ่นยนต์ที่นำเข้ามาสู่ภูมิภาคอาเซียนในปัจจุบัน หรือนับเป็นร้อยละ 38 ของจำนวนหุ่นยนต์ที่นำเข้าทั้งหมด โดยหุ่นยนต์เหล่านี้มักจะมาในรูปแบบแขนหุ่นยนต์ที่มีแกนเคลื่อนที่แบบหมุน หุ่นยนต์ที่ใช้ในกระบวนการผลิตอัดฉีดพลาสติกซึ่งมีจำนวนมากเป็นอันดับสองของจำนวนหุ่นยนต์ที่นำเข้ามาสู่ภูมิภาคอาเซียนในปัจจุบัน หรือนับเป็นร้อยละ 19 ของจำนวนหุ่นยนต์ที่นำเข้าทั้งหมด โดยหุ่นยนต์เหล่านี้เป็นแขนหุ่นยนต์ที่มีทั้งรูปแบบแกนเคลื่อนแบบหมุน และรูปแบบแกนเคลื่อนที่แบบเชิงเส้น หุ่นยนต์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เช่น หุ่นยนต์ดำน้ำ และหุ่นยนต์ที่ใช้ในปฏิบัติการทางการแพทย์มุ่งเน้นรูปแบบที่ผลิตมาเพื่อสรีระของผู้ป่วยชาวเอเชีย โดยอุตสาหกรรมการผลิตหุ่นยนต์ประเภทหลังนี้ ควรจะได้รับการพัฒนาหลังจากที่ประเทศไทยมีประสบการณ์จากการผลิตหุ่นยนต์สองประเภทข้างต้นมาพอสมควรแล้วเนื่องด้วยอุตสาหกรรมเหล่านี้ นอกจากจะเพิ่มความต้องการระบบหุ่นยนต์ในประเทศแล้ว ยังมีวิทยาการ องค์ความรู้ และบุคลากรที่สามารถได้รับการต่อยอดได้อีกด้วย ซึ่งจะช่วยเพิ่มศักยภาพของประเทศไทยในการสร้างอุตสาหกรรมการผลิตหุ่นยนต์เป็นอุตสาหกรรมใหม่ New S-curve ได้อย่างเข้มแข็ง และยั่งยืน#กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม #อุตสาหกรรมเป้าหมาย #อุตสาหกรรมห่นยนต์ Cr: หนังสือ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย กลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
25 ม.ค. 2561
เจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ลงพื้นที่พบผู้ประกอบการเพื่อให้บริการข้อมูล ประชาสัมพันธ์โครงการ/กิจกรรม ศูนย์ฯ และให้คำปรึกษาแนะนำเบื้องต้น กับผู้ประกอบการ หจก.แก้วเซอร์วิส
วันพฤหัสบดีที่ 25 มกราคม 2561 นายพันธุ์เทพ ทิพยเนตร นักวิชาการอุตสาหกรรม เจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ลงพื้นที่พบผู้ประกอบการเพื่อให้บริการข้อมูล ประชาสัมพันธ์โครงการ/กิจกรรม ศูนย์ฯ และให้คำปรึกษาแนะนำเบื้องต้น กับผู้ประกอบการ หจก.แก้วเซอร์วิส ติดตั้งและซ่อมบำรุงเครื่องจักร ณ สถานประกอบการ จังหวัดลพบุรี
25 ม.ค. 2561
เจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ลงพื้นที่พบผู้ประกอบการเพื่อให้บริการข้อมูล ประชาสัมพันธ์โครงการ/กิจกรรม ศูนย์ฯ และให้คำปรึกษาแนะนำเบื้องต้น กับผู้ประกอบการ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแม่บ้านเกษตรกรท่าศาลา
วันพฤหัสบดีที่ 25 มกราคม 2561 นายพันธุ์เทพ ทิพยเนตร นักวิชาการอุตสาหกรรม เจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ลงพื้นที่พบผู้ประกอบการเพื่อให้บริการข้อมูล ประชาสัมพันธ์โครงการ/กิจกรรม ศูนย์ฯ และให้คำปรึกษาแนะนำเบื้องต้น กับผู้ประกอบการ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแม่บ้านเกษตรกรท่าศาลา ผลิตเครื่องดื่มนมข้าวโพด น้ำกระเจี๊ยบ เก๊กฮวย และสวรส ณ สถานประกอบการ จังหวัดลพบุรี
25 ม.ค. 2561
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ลงพื้นที่พบผู้ประกอบการเพื่อให้บริการข้อมูล ประชาสัมพันธ์โครงการ/กิจกรรม ศูนย์ฯ และให้คำปรึกษาแนะนำเบื้องต้น กับผู้ประกอบการ หจก.ศรีโสภณ นวกิจ
วันพฤหัสบดีที่ 25 มกราคม 2561 นายพันธุ์เทพ ทิพยเนตร นักวิชาการอุตสาหกรรม เจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ลงพื้นที่พบผู้ประกอบการเพื่อให้บริการข้อมูล ประชาสัมพันธ์โครงการ/กิจกรรม ศูนย์ฯ และให้คำปรึกษาแนะนำเบื้องต้น กับผู้ประกอบการ หจก.ศรีโสภณ นวกิจ ผลิตไข่เค็ม ณ สถานประกอบการ จังหวัดลพบุรี
25 ม.ค. 2561
อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร
อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหารอุตสาหกรรมการแปรรูปอาหารเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญระดับสูงต่อประเทศไทย เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้จำนวนแรงงานมากที่สุด มีมูลค่าการลงทุนสูงที่สุด มีมูลค่าเพิ่มสูงที่สุด และมีการลงทุนด้านวิจัยและพัฒนาสูง ที่สุดในบรรดาสาขาต่าง ๆ ของภาคอุตสาหกรรมการผลิตไทย ในปัจจุบันมีแนวโน้ม การเปลี่ยนแปลงในตลาดอาหารทั่วโลกอยู่ 3 แขนง ซึ่งมีโอกาสส่งผลกระทบต่อ อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร แนวโน้มดังกล่าว ได้แก่ 1) ความต้องการมาตรฐานความปลอดภัยและความสามารถในการตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) ที่สูงขึ้นจากผู้บริโภคอาหาร 2) การเพิ่มขึ้นของความต้องการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพและผลิตภัณฑ์อาหารเสริม และ 3) การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากแหล่งโปรตีนทางเลือกซึ่งใช้พลังงาน ทรัพยากร และต้นทุนในการผลิตน้อยกว่าแหล่งโปรตีนจากสัตว์ ในปัจจุบันเป้าหมายการเพิ่มมาตรฐานการตรวจสอบย้อนกลับด้านความปลอดภัยของอาหาร การวิจัยและผลิตโภชนาเพื่อสุขภาพ ผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปที่ใช้โปรตีนทางเลือก เช่น โปรตีนเกษตรCr : http://www.oie.go.th/,http://www.eeco.or.th/
24 ม.ค. 2561
อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ
อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพการเกษตรเป็นสาขาอุตสาหกรรมที่มีผลิตภัณฑ์มวลรวมมากที่สุดในประเทศไทย นอกจากนี้ สัดส่วนแรงงานไทยที่ทำงานในภาคการเกษตรยังสูงถึงร้อยละ 40 ส่งผลให้การเกษตรเป็นอุตสาหกรรม ที่มีความสำคัญยิ่งต่อเศรษฐกิจของประเทศและความเป็นอยู่ของประชาชน อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันภาคเกษตรกรรมในไทยยังมีผลิตภาพแรงงานอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ จึงมีศักยภาพที่จะสามารถยกระดับจากการนำเทคโนโลยีทางการเกษตรใหม่ ๆ มาใช้ เป้าหมายพัฒนาเทคโนโลยีการเกษตรขั้นสูง ที่มีการใช้เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลแบบอัตโนมัติ การวิจัยและการลงทุนทางเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อปรับปรุงพันธุ์พืชและสัตว์Cr : http://www.oie.go.th/,http://www.eeco.or.th/
23 ม.ค. 2561
อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม​ เป็นประธานเปิดการสัมมนาชี้แจงการติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน​ ประจำปีงบประมาณ​ 2561
กรุงเทพฯ 22 ม.ค.2561 : นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นประธานเปิดการสัมมนาชี้แจงการติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2561 ของ กสอ. เพื่อสร้างความเข้าใจในแนวทางการติดตามและประเมินผลการดำเนินการโครงการต่างๆ ของ กสอ. โดยมีนายอดิทัต วะสีนนท์ ผอ.กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กล่าวรายงาน มี นส.นิรามัย ศิริศรีสุดากุล ผอ.ศภ.3 กสอ.และเจ้าหน้าที่เข้าร่วมสัมมนาฯ /จัดโดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ณ โรงแรมฮอลิเดย์ อินน์ กรุงเทพฯ
22 ม.ค. 2561
กระทรวงอุตสาหกรรม เร่งมาตรการเสริมแกร่งปิดจุดอ่อน SMEs ดัน 9 มาตรการช่วยเหลือเต็มสูบ!
ก.อุตฯ เร่งมาตรการเสริมแกร่งปิดจุดอ่อน SMEs ดัน 9 มาตรการช่วยเหลือเต็มสูบ! กรุงเทพฯ 22 มกราคม 2561 - นายสมชาย หาญหิรัญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายพสุ โลหารชุน ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายกอบชัย สิทธิสวัสดิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายมงคล ลีลาธรรม กรรมการผู้จัดการ SME Development Bank นายสุวรรณชัย โลหะวัฒนะกุล ผอ.สสว. และนายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรแห่งชาติ ร่วมแถลงข่าว “มาตรการ เสริมแกร่ง ครอบคลุมทุกกลุ่ม SMEs และ SME Development Bank ออกจากแผนฟื้นฟูแจ้งเกิดจุล SMEs ปี 2561” เพื่อยกระดับ SMEs ให้มีศักยภาพไปสู่ยุค 4.0 โดยแบ่งออกเป็น 1.) มาตรการด้านการเงิน ประกอบด้วย สินเชื่อเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน (Local Economy Loan) วงเงิน 50,000 ล้านบาท สินเชื่อเพื่อปรับเปลี่ยนเครื่องจักรระยะที่ 2 (Transformation Loan) วงเงิน 20,000 ล้านบาท และโครงการฟื้นฟูและเสริมสร้างศักยภาพเอสเอ็มอีคนตัวเล็ก (Micro SMEs) วงเงิน 8,000 ล้านบาท และ 2.) มาตรการส่งเสริมที่ไม่ใช่ด้านการเงิน 9 มาตรการ ได้แก่ 1.การขยายศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม (ITC) ทั่วประเทศ 23 แห่ง 2.ศูนย์สนับสนุนและช่วยเหลือเอสเอ็มอี (SME Support & Rescue Center: SSRC) โดยบูรณาการศูนย์ให้ได้ 270 แห่งทั่วประเทศ 3.Train The Coach หรือการสร้างโค้ช เพื่อส่งไปช่วยเหลือเอสเอ็มอี 4.SME Big Data โดยจัดทำข้อมูลประชากรเอสเอ็มอีของประเทศ 5.โครงการ Big Brothers หรือพี่ช่วยน้อง เพื่อเชื่อมต่อเอสเอ็มอีสู่ห่วงโซ่การผลิตระดับโลก 6.Digital Value Chain ผลักดันเอสเอ็มอีสู่ห่วงโซ่การผลิตโลกผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์ม B2B โดยพัฒนาระบบเว็บ T-Good Tech ที่เชื่อมต่อ J-Good Tech 7. โครงการเสริมแกร่งเอสเอ็มอีรอบรู้การเงิน 8.SME Standard Up ยกระดับเอสเอ็มอีสู่มาตรฐานที่เหมาะสม และ 9.การยกระดับเศรษฐกิจฐานชุมชน ผ่านโครงการยกระดับอุตสาหกรรมชุมชนเชื่อมโยงการท่องเที่ยว (CIV 4.0) ทั้งนี้ ในส่วนของ กสอ. มีความพร้อมสำหรับเป็นหน่วยงานหลักเพื่อขับเคลื่อนทั้ง 9 มาตรการ โดยวางกลยุทธ์ส่งเสริม SMEs ในยุค 4.0 ภายใต้แนวคิด 4 TOOLs กับ 1 Strategy ประกอบด้วย 1. IT ให้บริการด้านการพัฒนาระบบข้อมูลและสารสนเทศ 2. Automation การพัฒนาระบบการผลิต เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางธุรกิจ 3. Robot เพื่อลดการใช้แรงงานในกระบวนการผลิต และ 4. Innovation ส่งเสริมและพัฒนาด้านนวัตกรรม เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม อีกทั้งยังเผย 1 Strategy มุ่งพัฒนาการรวมกลุ่มทางอุตสาหกรรม (Cluster) เพื่อต่อยอด SMEs ไทยให้เข้มแข็ง ทั้งนี้ งานแถลงข่าวดังกล่าวจัดขึ้น ณ อาคารสำนักงานใหญ่ SME Bank Tower ### PR.DIP (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สล.กสอ.) : รายงาน/ภาพข่าว https://www.dip.go.th/th/category/news/2018-01-22-06-38-47
22 ม.ค. 2561
5 Business Trends ปี 2018
5 Business Trends ปี 2018เกาะติด 5 Trends เศรษฐกิจอุตสาหกรรม ปี 2018 กับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม Trend 1 อุตสาหกรรมการลงทุนในส่วนของภาครัฐ (Infrastructure Poject) ที่ยังคงมาแรงแซงทางโค้งในทุกกลุ่มอุตสาหกรรม โดยคาดว่าจะมีเม็ดเงินก่อสร้างกว่า 7.7 แสนล้านบาท จากโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่ส่วนใหญ่อยู่ในระยะก่อสร้าง โครงการลงทุนและจัดซื้อตามงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2561Trend 2 อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย (Thailand Tourism) ปีจอยังคงมีกระแสดีอย่างต่อเนื่องโดยคาดการณ์ว่าไทยจะมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ 37.0 ล้านคนในปี 61 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 สามารถสร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในพื้นที่จังหวัดท่องเที่ยวสำคัญ เช่น กรุงเทพฯ ภูเก็ต ชลบุรี สุราษฎร์ธานี ฯลฯ และธุรกิจที่ได้อานิสงค์จากเทรนด์นี้ คือ ธุรกิจที่พัก ร้านอาหาร และธุรกิจขนส่งTrend 3 อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ (Healthcare) เนื่องจากในปีนี้ประเทศไทยเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุที่คาดว่าจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น โดยคาดว่าจะเพิ่มเป็น 12.3 ล้านคน ในอีก 5 ปีข้างหน้า ดังนั้น การใช้จ่ายเพื่อการรักษาพยาบาลและดูแลสุขภาพจะทำให้การใช้จ่ายในด้านเหล่านี้เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ธุรกิจดูแลผู้สูงวัย ยาและเวชภัณฑ์อาหารเสริมขยายตัวต่อเนื่องTrend 4 อุตสาหกรรมส่งออกอาหารแปรรูปเกษตร (Food Processing) และอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ (Automative& Auto Parts) โดยหลังการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก(Global Economy Recovery) ทำให้คาดว่ายอดส่งออกของไทยในช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้จะขยายตัวได้สูงถึงร้อยละ 9.7 Trend 5 อุตสาหกรรมดิจิทัล (Digital Economy) ที่จะเปลี่ยนรูปแบบการค้า-การขาย จากระบบค้าปลีกเดิม ไปสู่การค้าผ่านระบบออนไลน์ (E-Commerce)มากขึ้น เป็นผลจากพฤติกรรมการจับจ่ายของคนไทยที่เปลี่ยนไป ส่งผลให้อุตสาหกรรมการขนส่งและอุตสาหกรรมเกี่ยวกับไอทีได้รับอานิสงค์แรงในเทรนด์นี้#กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม #กระทรวงอุตสาหกรรม#เอสเอ็มอี Cr : TMB Analytics
22 ม.ค. 2561
อุตสาหกรรมยานยนต์เป็นหนึ่งใน “อุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve) ที่มีศักยภาพเพียงพอต่อการเป็นฐานการผลิตและส่งออกยานยนต์ที่สำคัญของโลก
อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ อุตสาหกรรมยานยนต์เป็นหนึ่งใน “อุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve) ที่มีศักยภาพเพียงพอต่อการเป็นฐานการผลิตและส่งออกยานยนต์ที่สำคัญของโลก รวมถึงการเป็นที่ตั้งสำคัญของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ชั้นนำของโลก เป้าหมายสนับสนุนการพัฒนาเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า ขยายธุรกิจในห่วงโซ่คุณค่าของอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยเฉพาะการออกแบบและจัดทำต้นแบบ ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีการผลิตที่มีประสิทธิภาพและความแม่นยำสูง Cr : http://www.oie.go.th, http://www.eeco.or.th/
20 ม.ค. 2561