โทรศัพท์ 1358
Advanced Search

Category
“ทำธุรกิจให้เป็นเรื่อง “ง่าย” ด้วยการจัดการ “โลจิสติกส์”"
“ทำธุรกิจให้เป็นเรื่อง “ง่าย” ด้วยการจัดการ “โลจิสติกส์”"
“ทำธุรกิจให้เป็นเรื่อง “ง่าย” ด้วยการจัดการ “โลจิสติกส์”"การเปลี่ยนแปลงภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์ การเปิดเสรีทางการค้าระหว่างประเทศ ภาวะเศรษฐกิจและการแข่งขันธุรกิจที่รุนแรงขึ้น ฯลฯ สถานการณ์เหล่านี้ล้วนเป็นตัวผลักดันให้ SMEs จำเป็นต้องเร่งพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน จึงต้องอาศัยที่ปรึกษาด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทานในการให้คำปรึกษาแนะนำ ซึ่งปัจจุบันที่ปรึกษาด้านดังกล่าวยังคงขาดคลานทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ ดังนั้นเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนที่ปรึกษาดังกล่าว จึงเกิดโครงการสร้างที่ปรึกษาด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทานสำหรับภาคอุตสาหกรรม โดยผลจากโครงการนี้ส่งผลให้มีการวินิจฉัยและให้คำปรึกษาปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดการด้านโลจิสติกส์ให้แก่สถานประกอบการได้ไม่น้อยกว่า 100 ราย หากที่ปรึกษาด้านโลจิสติกส์ท่านใดสนใจกิจกรรมดังกล่าวสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ กองโลจิสติกส์ อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ถนนพระรามที่ 6 เขตราชเทวี กรุงเทพฯ โทร. 0 2202 3817
01 ก.พ. 2018
ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 - 11 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าร่วมในหลักสูตรผู้บริหารระดับสูงรุ่นที่ 2
ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 - 11 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าร่วมในหลักสูตรผู้บริหารระดับสูงรุ่นที่ 2
วันพฤหัสบดีที่ 1 กุมภาพันธ์ 2561 ดร.ณพพงศ์ ธีระวร ประธานสมาพันธ์ SME ไทย เป็นประธานเปิดงานฝึกอบรมหลักสูตรผู้บริหารระดับสูงรุ่นที่ 2 โดยมีนางสาวนิรามัย ศิริศรีสุดากุล ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 และผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 - 11 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าร่วมในหลักสูตรดังกล่าว ณ ห้องธาราเทพ ชั้น 2 โรงแรมเจ้าพระยาปาร์ค
01 ก.พ. 2018
การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร เทคนิคสร้างยอดขายด้วย Line และ Facebook ไม่ใช่แค่ยอด Like หรือเพิ่มเพื่อน ณ โรงแรมชากังราว ริเวอร์วิว อ.เมือง จ.กำแพงเพชร
การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร เทคนิคสร้างยอดขายด้วย Line และ Facebook ไม่ใช่แค่ยอด Like หรือเพิ่มเพื่อน ณ โรงแรมชากังราว ริเวอร์วิว อ.เมือง จ.กำแพงเพชร
วันพฤหัสบดีที่ 1 กุมภาพันธ์ 2561 นางสาวณัฏฐนันท์ ศรีประเสริฐ ผู้แทนผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 เป็นประธานเปิดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร เทคนิคสร้างยอดขายด้วย Line และ Facebook ไม่ใช่แค่ยอด Like หรือเพิ่มเพื่อน กล่าวรายงานโดย นายอำพล สุบรรณ์พิจิตร นักวิชาการอุคสาหกรรมปฏิบัติการ การฝึกอบรมฯครั้งนี้จัดระหว่างวันที่ 1-2 กุมภาพันธ์ 2561 ณ โรงแรมชากังราว ริเวอร์วิว อ.เมือง จ.กำแพงเพชร มีผู้เข้าร่วมสัมมนา จำนวน 47 ราย วัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนความรู้ ทักษะความสามารถในด้านเทคโนโลยีดิจิทัล พร้อมทั้งพัฒนาวิสัยทัศน์และแนวคิดของผู้ประกอบการเพื่อเข้าสู่ SMEs 4.0 วิทยากรได้แก่ อ.อลงกรณ์ สุวรรณเวช และ อ.ศศิมาภรณ์ ล้อมทอง
01 ก.พ. 2018
“Maker space พื้นที่ของคนสร้างสรรค์ ปั้นฝันสู่ความจริง”
“Maker space พื้นที่ของคนสร้างสรรค์ ปั้นฝันสู่ความจริง”
“Maker space พื้นที่ของคนสร้างสรรค์ ปั้นฝันสู่ความจริง”อยากมีชิ้นงานสักชิ้นแต่เป็นเรื่องยาก ทั้งต้องสรรหาอุปกรณ์ราคาแพง ขาดนวัตกรรมสนับสนุน ขาดผู้เชี่ยวชาญคอยชี้แนะ เรื่องเหล่านี้จะไม่ใช่เรื่องใหญ่ เพียงแค่ก้าวออกจากบ้าน เดินหน้าสู่ Maker space ชุมชนของคนสร้างสรรค์ ที่ไม่เพียงจะมีเครื่องไม้เครื่องมือ อุปกรณ์ และผู้เชี่ยวชาญ แต่จะยังมีเพื่อนที่สนใจในเรื่องเดียวกัน เพื่อคอยช่วยให้คุณสามารถปั้นฝันด้วยมือของคุณเองให้เป็นจริงได้!กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมเห็นความสำคัญของเหล่า Makers จึงมีโครงการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการเชิงนวัตกรรมและการออกแบบ โดยมุ่งเน้นให้ผู้ประกอบการตระหนักถึงความสำคัญของกระบวนการคิดเชิงสร้างสรรค์ (Creative Thinking) และสามารถเชื่อมโยงกับภาคส่วนต่างๆ ได้ ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ จากโครงการดังกล่าวจะสามารถสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้ตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคยุคปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งยังพัฒนาศักยภาพของเหล่า Makers ในการรองรับการให้บริการแก่ผู้ประกอบการได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมไปถึงการพัฒนาและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์บนพื้นฐานของการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ เทคโนโลยี และภูมิปัญญาท้องถิ่นอีกด้วยหากท่านใดสนใจกิจกรรมดังกล่าวสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 ถนนทุ่งโฮเต็ล อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โทร. 084 096 5657
31 ม.ค. 2018
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 กำกับการทำงานและร่วมกับที่ปรึกษาจากมหาวิทยาลัยนเรศวร เข้าวิเคราะห์สถานประกอบการที่สมัครเข้ากิจกรรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป โดยใช้เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และนวัตกรรม
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 กำกับการทำงานและร่วมกับที่ปรึกษาจากมหาวิทยาลัยนเรศวร เข้าวิเคราะห์สถานประกอบการที่สมัครเข้ากิจกรรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป โดยใช้เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และนวัตกรรม
วันพุธที่ 31 มกราคม 2561 นางสาวจันทร์แรม แดงโสภาพ นักวิชาการอุตสาหกรรมปฏิบัติการ และนายศุภวุฒิ กุลวิศว นักวิชาการอุตสาหกรรม เจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 กำกับการทำงานและร่วมกับที่ปรึกษาจากมหาวิทยาลัยนเรศวร เข้าวิเคราะห์สถานประกอบการที่สมัครเข้ากิจกรรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป โดยใช้เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และนวัตกรรม เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการคัดเลือกสถานประกอบการเข้าร่วมกิจกรรมฯ และวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของธุรกิจ สู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่อไป โดยเข้าร่วมวิเคราะห์สถานประกอบการในจังหวัดพิจิตรจำนวน 4 กิจการ ดังนี้ 1.บจก.รักษิวรรณ อ.บางมูลนาก จ.พิจิตร 2. วาเบลล์ล่าซ์ อ.ตะพานหิน จ.พิจิตร 3.คุณเจนจิรา มั่นคงขันติวงศ์ อ.เมือง จ.พิจิตร 4. ธีรนันท์ เฮร์ป อ.สามง่าม จ.พิจิตร
31 ม.ค. 2018
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 นำคณะผู้ประกอบการ OTOP ที่ผ่านการอบรม หลักสูตร พัฒนาผู้ประกอบการ OTOP รุ่นใหม่ เข้าศึกษาดูงาน ศูนย์ ITC (ศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม) และ ศูนย์ BSC (ศูนย์บริการธุรกิจอุตสาหกรรม)
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 นำคณะผู้ประกอบการ OTOP ที่ผ่านการอบรม หลักสูตร พัฒนาผู้ประกอบการ OTOP รุ่นใหม่ เข้าศึกษาดูงาน ศูนย์ ITC (ศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม) และ ศูนย์ BSC (ศูนย์บริการธุรกิจอุตสาหกรรม)
วันพุธที่ 31 มกราคม 2561 นางสาวรัตนาวดี มณีกูล นางสาวจันทร์ธิมา วรรณลึก และนายทักษิน ยังเพ็ง เจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 นำคณะผู้ประกอบการ OTOP ที่ผ่านการอบรม หลักสูตร พัฒนาผู้ประกอบการ OTOP รุ่นใหม่ เข้าศึกษาดูงาน ศูนย์ ITC (ศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม) และ ศูนย์ BSC (ศูนย์บริการธุรกิจอุตสาหกรรม) ณ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 จ.เชียงใหม่ โดยได้รับเกียรติจาก นายภาสกร ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 ให้การต้อนรับ และแนะนำศูนย์ ITC
31 ม.ค. 2018
วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดประชุมนำเสนอผลการดำเนินงานและรับฟังขอเสนอแนะ
วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดประชุมนำเสนอผลการดำเนินงานและรับฟังขอเสนอแนะ
วันพุธที่ 31 มกราคม 2561 วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่นจัดประชุมนำเสนอผลการดำเนินงานและรับฟังขอเสนอแนะ เพื่อพิจารณานโยบายการใช้เครื่องเกี่ยวนวดข้าวภายใต้โครงการ “การประเมินความสูญเสียจากเครื่องเกี่ยวนวดข้าว เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ในการบริหารจัดการและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต” ซึ่งได้ดำเนินการทดสอบเครื่องเกี่ยวนวดข้าวภาคสนามในพื้นที่เก็บเกี่ยวข้าวนาปรัง ณ จังหวัดพิจิตร และพื้นที่เก็บเกี่ยวข้าวนาปี ณ จังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งที่มาและความสำคัญของการศึกษาในโครงการมาจาก ข้าวเป็นพืชที่มีความสำคัญมากทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ประเทศไทยมีปริมาณการเพาะปลูกข้าวประเทศประมาณปีละ 62 – 80 ล้านไร่ ผลผลิตรวมประมาณ 22 – 30 ล้านตันข้าวเปลือกต่อปี และพบว่า นิยมใช้เครื่องเกี่ยวนวดข้าวในการเก็บเกี่ยว และคำนึงถึงความสูญเสียในเชิงปริมาณและคุณภาพไม่มากเท่าที่ควร ซึ่งมีเปอร์เซ็นต์ความสูญเสียเชิงปริมาณ คิดเป็น 0.26 ล้านตันข้าวเปลือก การดำเนินการศึกษา การเก็บเกี่ยวที่คำนึงถึงความสูญเสียเปรียบเทียบกับการเก็บเกี่ยวแบบเดิมที่ปฏิบัติ โดยใช้เครื่องเกี่ยวนวดข้าวรุ่นเดียวกันทั้ง 2 พื้นที่ (เก็บเกี่ยวข้าวนาปรัง ณ จังหวัดพิจิตร และพื้นที่เก็บเกี่ยวข้าวนาปี ณ จังหวัดร้อยเอ็ด) แล้วพบว่า เปอร์เซ็นต์ความสูญเสีย ความสะอาด และเมล็ดแตกหัก มีเปอร์เซ็นต์ที่ลดลงทั้ง 2 พื้นที่ มูลค่าผลต่างของระบบที่คำนึงถึงความสูญเสีย (เชิงปริมาณและคุณภาพ) นาปรังประมาณ 200 บาทต่อไร่ และนาปีประมาณ 500 บาทต่อไร่ เมื่อคิดพื้นที่เพาะปลูกเฉลี่ยปีละ 71 ล้านไร่ มูลค่าความสูญเสียคิดเป็นเงินมากกว่าปีละ 30,000 ล้านบาท ข้อเสนอแนะ เช่น การเก็บเกี่ยวที่ใกล้เคียงกับอายุการเก็บเกี่ยว การปลูกเหลื่อมเวลาการเก็บเกี่ยว ให้มีการสีข้าวเพื่อการจำหน่าย ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการผลิตเครื่องเกี่ยวนวดข้าวพัฒนามาตรฐานการผลิตให้ดียิ่งขึ้น การกำหนดเกณฑ์ความสูญเสียต่อการรับซื้อ และรณรงค์ 3 ฝ่าย (ชาวนา รถเกี่ยวนวดข้าว ผู้ผลิตรถเกี่ยวนวดข้าว) คำนึงถึงวามสูญเสีย โดยมี รศ.ดร.วินิต ชินสุวรรณ คณะบดีวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่นและหัวหน้าโครงการวิจัย เป็นผู้นำเสนอและรับฟังข้อเสนอแนะ และนายติณห์ เจริญใจ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 5 นายวุฒิชัย ประชาพร ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 นายสิทธิรงณ์ เร่งเงียบ ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการส่งเสริมธุรกิจอุตสาหกรรม แทนผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 นายสิริชัย สุขสะอาด นายวุฒิพงษ์ ดวงพลพรม ผู้แทนศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตร จ.ร้อยเอ็ด ผู้แทนสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.) ประธานบริษัทเกษตรพัฒนาอุตสาหกรรมจำกัด จ.ฉะเชิงเทรา และผู้แทนชมรมรถเกี่ยวนวดข้าวชาละวัน จ.พิจิตร รวมประมาณ 25 ท่านณ ห้องประชุม วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
31 ม.ค. 2018
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วยนายสมชาย หาญหิรัญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และนางยุพรัตน์ ศตวิริยะ ผู้อำนวยการกองพัฒนาขีดความสามารถธุรกิจอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าร่วมประ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วยนายสมชาย หาญหิรัญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และนางยุพรัตน์ ศตวิริยะ ผู้อำนวยการกองพัฒนาขีดความสามารถธุรกิจอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าร่วมประ
31 มกราคม 2561 - นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วยนายสมชาย หาญหิรัญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และนางยุพรัตน์ ศตวิริยะ ผู้อำนวยการกองพัฒนาขีดความสามารถธุรกิจอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าร่วมประชุมรับฟังการนำเสนอแผนปฏิบัติการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารแห่งชาติ โดยมีนายยงวุฒิ เสาวพฤกษ์ ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ให้การต้อนรับ พร้อมนำเสนอแผนปฏิบัติการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารแห่งชาติ เพื่อการพัฒนายุทธศาสตร์อุตสาหกรรมอาหาร และนำชมห้องปฏิบัติการด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร ณ อาคารศูนย์การเรียนรู้อาหารไทย สถาบันอาหาร ### PR.DIP (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สล.กสอ.) : รายงาน/ภาพข่าว
31 ม.ค. 2018
การเปิดกิจกรรมพัฒนาการรวมกลุ่มและเชื่อมโยงอุตสาหกรรม กลุ่มข้าวอินทรีย์จังหวัดพิจิตร(ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2)
การเปิดกิจกรรมพัฒนาการรวมกลุ่มและเชื่อมโยงอุตสาหกรรม กลุ่มข้าวอินทรีย์จังหวัดพิจิตร(ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2)
วันอังคารที่ 30 มกราคม 2561 นางสาวนิรามัย ศิริศรีสุดากุล ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าร่วมและให้เกียติกล่าวรายงานการเปิดกิจกรรมพัฒนาการรวมกลุ่มและเชื่อมโยงอุตสาหกรรม กลุ่มข้าวอินทรีย์จังหวัดพิจิตร(ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2) โดยมี นายวีระศักดิ์ วิจิตร์แสงศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร เป็นประธาน ภายในกิจกรรมมีหน่วยงานราชการ สมาชิกคลัสเตอร์ข้าวฅนอินทรีย์ และผู้ประกอบการที่เกี่ยวของในอุตสาหกรรมข้าวอินทรีย์ทั้งตั้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ จากจังหวัดพิจิตร อุทัยธานี นครสวรรค์ ชัยนาท และกำแพงเพชร จำนวนกว่า 100 คน ณ CK Convention Hall ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้า จังหวัดพิจิตร
30 ม.ค. 2018
กสอ. ผนึกกำลังสถาบันอาหาร ผุดหลักสูตรอบรมติวเข้ม ยกระดับ SMEs สู่ตลาดโลก
กสอ. ผนึกกำลังสถาบันอาหาร ผุดหลักสูตรอบรมติวเข้ม ยกระดับ SMEs สู่ตลาดโลก
กสอ. ผนึกกำลังสถาบันอาหาร ผุดหลักสูตรอบรมติวเข้ม ยกระดับ SMEs สู่ตลาดโลก กรุงเทพฯ 30 มกราคม 2561 - นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และนายยงวุฒิ เสาวพฤกษ์ ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร แถลงข่าวเปิดตัวกิจกรรมพัฒนาผู้ประกอบการด้วยเครื่องมือการบริหารจัดการสมัยใหม่ (Advance SME Program) ซึ่งเป็นหลักสูตรอบรม SMEs แบบครบเครื่อง ทั้งด้านทักษะการผลิต การบริหารจัดการ เทคโนโลยี และนวัตกรรม โดยปีแรกมุ่งเน้นพัฒนา SMEs อุตสาหกรรมอาหารแห่งอนาคตและอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 60 ราย เพื่อยกระดับเป็น Smart SMEs และ Global SMEs ซึ่งตั้งเป้าให้เกิดนวัตกรรมใหม่ 1 เรื่อง และเพิ่มมูลค่ายอดขายหรือลดต้นทุนให้ผู้ประกอบการได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 3 - 5 นอกจากนี้ยังคาดว่าแนวโน้มโครงสร้างอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มของไทย ทั้งรูปแบบสินค้า และตลาดส่งออกจะเปลี่ยนแปลงไปสู่การผลิตอาหารอนาคตหรือ Future Food มีศักยภาพสูง ตามความต้องการของตลาดมากขึ้น ขณะที่ไทยจะสามารถลดการพึ่งพาตลาดเดิมนอกภูมิภาค และหันมากระจายสินค้าสู่ตลาดอาเซียน ญี่ปุ่น และจีนมากขึ้น ### PR.DIP (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สล.กสอ.) : รายงาน/ภาพข่าว
30 ม.ค. 2018