"การเปิดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ "แนวทางการดำเนินงานศูนย์สนับสนุนและช่วยเหลือเอสเอ็มอี"
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ขอเชิญรับชมการถ่ายทอดสด facebook Live www.facebook.com/dipindustry"การเปิดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ "แนวทางการดำเนินงานศูนย์สนับสนุนและช่วยเหลือเอสเอ็มอี" โดย นายสมชาย หาญหิรัญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในวันพฤหัสบดีที่ 22 กุมภาพันธ์ 2561 เวลาประมาณ 08.45-09.15 น.
22 ก.พ. 2018
ก.อุตฯ จับมือภาคีรีมิกซ์ SSRC ใช้แพลตฟอร์มเดียว ประกาศเดินหน้าเต็มสูบ!! ติดปีก SMEs
ก.อุตฯ จับมือภาคีรีมิกซ์ SSRC ใช้แพลตฟอร์มเดียว ประกาศเดินหน้าเต็มสูบ!! ติดปีก SMEs กรุงเทพฯ 22 ก.พ. 2561- นายสมชาย หาญหิรัญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมให้เกียรติเป็นประธานเปิดงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “แนวทางการดำเนินงานศูนย์สนับสนุนและช่วยเหลือเอสเอ็มอี” ณ ห้องจตุรทิศ ชั้น 3 โรงแรมโกลเด้น ทิวลิป ซอฟเฟอริน ถนนพระราม 9 โดยมีนายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวรายงานและมอบนโยบายการดำเนินงานของศูนย์ SSRC สำหรับศูนย์สนับสนุนและช่วยเหลือเอสเอ็มอี (SME Support & Rescue Center : SSRC) เป็น 1 ใน 9 มาตรการพิเศษเพื่อการขับเคลื่อน SMEs 4.0 โดยให้บริการแก่ SMEs ที่ประสบปัญหาทางธุรกิจในทุกพื้นที่ให้สามารถเข้าถึงบริการทั้งในด้านการเงินและด้านอื่น ๆ ที่ไม่ใช่การเงิน โดยมีสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดทั้ง 76 จังหวัด กระทรวงอุตสาหกรรม ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1-11 ศูนย์พัฒนาอุตสาหกรรมเซรามิก จังหวัดลำปาง ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ศูนย์ให้บริการ OSS (SME One-Stop Service Center) ของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว./SME Bank) การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) และหน่วยงานเครือข่าย รวมทั้งสิ้น 270 แห่งทั่วประเทศ ผ่านแพลตฟอร์มการทำงานเดียวกัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเข้าถึงการบริการทั่วประเทศ เชื่อมโยงกลไกและบริการทั้งหมด ผ่านระบบดิจิทัล เพื่อให้สามารถส่งเสริมและสนับสนุน SMEs ได้อย่างคล่องตัว รวดเร็ว และตรงตามความต้องการของ SMEs ทั่วประเทศมากที่สุด ### PR. DIP (กส.สล.กสอ.) รายงาน/ภาพข่าว
22 ก.พ. 2018
จากกระแสการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทั่วโลกส่งผลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคและภาคธุรกิจอย่างหลีกหนีไม่พ้น โดยเฉพาะเทรนด์ต่างๆที่มักจะเปลี่ยนแปลงไปตามค่านิยมของประชาชนในประเทศ อย่างเช่นปีนี้ถือเป็นโอกาสทองของ 9 อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่สามารถสร้างมูลค่า
จากกระแสการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทั่วโลกส่งผลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคและภาคธุรกิจอย่างหลีกหนีไม่พ้น โดยเฉพาะเทรนด์ต่างๆที่มักจะเปลี่ยนแปลงไปตามค่านิยมของประชาชนในประเทศ อย่างเช่นปีนี้ถือเป็นโอกาสทองของ 9 อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่สามารถสร้างมูลค่าได้อย่างมหาศาลและคาดว่าจะได้รับความนิยมอย่างสูง 1. อุตสาหกรรมด้านศิลปะและหัตถกรรม (Art & Craft) อุตสาหกรรมศิลปะและหัตถกรรมเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่มีความโดดเด่น โดยต้องเน้นสร้างมูลค่าเพิ่มผ่านการใช้ประโยชน์จากจุดเด่นของแต่ละภูมิภาค ซึ่งสินค้าเหล่านี้สามารถตอบโจทย์กระแสโลกที่หันมาให้ความนิยมกับสินค้า DIY ได้อย่างดีเยี่ยม 2. อุตสาหกรรมความงามและแฟชั่น (Beauty & Fashion)อุตสาหกรรมความงามและแฟชั่นต้องปรับเปลี่ยนตามกระแสโลก โดยอินเทอร์เน็ตและโลกไซเบอร์ถือเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผกระทบกับทั้งสองอุตสาหกรรม เช่น การรีวิวสอนแต่งหน้า ที่มีผลต่อการเลือกซื้อเครื่องสำอาง หรือคำพูดหรือแนวคิดของบุคคลที่มีชื่อเสียงจะเป็นคอนเซปต์ในการออกแบบเพื่อสะท้อนถึงตัวตนของแบรนด์ 3. อุตสาหกรรมเกี่ยวกับสุขภาพและความเป็นอยู่ (Health & Wellbeing)ถือเป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่น่าจับตามองซึ่งไทยมีความได้เปรียบในการเป็นผู้นำด้านการบริการสุขภาพ โดยมีสถานพยาบาลที่ได้รับรองด้านคุณภาพและบริการมาตรฐานสากลเป็นจำนวนมาก จึงเชื่อว่าอุตสาหกรรมด้านสุขภาพและความเป็นอยู่จะตอบโจทย์กระแสโลกที่มีผู้คนทุกข์ทรมานจากความเครียดและวิตกกังวลเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว4. อุตสาหกรรมการการขนส่งและวิวัฒนาการของเทคโนโลยีท่องอวกาศ (Transport & Space) จุดเปลี่ยนด้านเทคโนโลยีและสถานการณ์น้ำมันดิบที่ไม่สอดคล้องกับความต้องการที่เพิ่มขึ้น ทำให้รถยนต์พลังงานทางเลือกหรือรถยนต์พลังงานสะอาดได้รับความสนใจมากขึ้น ซึ่งหน่วยวิจัยอีไอซี (Economic Intelligence Center) คาดว่าต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 10 ปีที่รถยนต์ไฟฟ้าจะสามารถเริ่มทำตลาดในไทย 5. อุตสาหกรรมค้าปลีก (Retail) พฤติกรรมและทัศนคติของผู้บริโภคที่เปลี่ยนมาซื้อสินค้าผ่านระบบอีคอมเมิร์ซ ทำให้มูลค่าการซื้อขายออนไลน์เติบโตมากกว่า 100 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ยอดซื้อสินค้าจากร้านค้าที่มีหน้าร้านเติบโตเพียง 10 เปอรเซ็นต์ ดังนั้น ธุรกิจค้าปลีกต้องเร่งปรับตัว โดยการสร้างประสบการณ์ร่วมระหว่างลูกค้ากับแบรนด์ รวมทั้งประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเข้ามาอำนวยความสะดวกผู้บริโภคมากขึ้น6.อุตสาหกรรมท่องเที่ยว (Travel) เป็นอุตสาหกรรมที่ถือได้ว่าสร้างรายได้เข้าประเทศได้อย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2561 มีการคาดการณ์ว่าจะมีรายได้จากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวถึง 3.1 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 2.7 ล้านล้านบาทในปี 2560 ที่ผ่านมา โดยเฉพาะการท่องเที่ยวแบบสั่งตัด (Tailor-made Travel) ที่ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมต้องให้ความสนใจ และพร้อมให้บริการเพื่อตอบโจทย์ความต้องการเฉพาะกลุ่มของนักท่องเที่ยวให้ได้มากที่สุด 7. อุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมและการตกแต่ง (Architecture & Decoration) กระแสโลกทางด้านอุตสาหกรรมสถาปัตยกรรมและการตกแต่งที่กำลังได้รับความสนใจ คือ เมืองสีเขียว (Green Urban) เพื่อการเป็นเมืองแห่งอนาคตและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สร้างคุณค่าในระยะยาวที่ยั่งยืน และอีกหนึ่งกระแสสำคัญคือ การออกแบบแบบมัลติฟังก์ชั่น (Multifunction) เพื่อรองรับการใช้งานอย่างหลากหลายรูปแบบ และตอบโจทย์ผู้ใช้ในทุกเพศ ทุกวัย ทุกเชื้อชาติ วัฒนธรรม 8. อุตสาหกรรมสื่อและความบันเทิง (Media & Entertainment) ในยุคของโซเชียลมีเดียอุตสาหกรรมสื่อและความบันเทิงมีการเปลี่ยนแปลงอย่างตลอดเวลา โดยในปี 2560 มีผู้ใช้งานเฟซบุ๊กถึง 76 เปอร์เซ็นต์ของผู้ใช้สื่อทั้งหมด รองลงมาคือ อินสตาแกรม 51 เปอร์เซ็นต์ และทวิตเตอร์ 42 เปอร์เซ็นต์ โดยผู้บริโภคให้ความสนใจกับไลฟ์ทีวีและเสพข้อมูลบนหน้าจอมากขึ้น ทำให้เกิดสื่อรูปแบบใหม่คือโฆษณาที่ถูกปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ทางการตลาดตามสื่อดิจิทัลที่ครองโลกแห่งภาพและวิดีโอ 9. อุตสาหกรรมอาหาร (Food) กระแสฟาร์มถึงโต๊ะอาหาร (Farm to Table) อาหารออร์แกนิก (Organic) และบรรจุภัณฑ์รักษ์โลก (Sustainable Packaging) ทำให้ธุรกิจอาหารที่จะเกิดในปี 2561 ต้องเป็นอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายและจิตใจควบคู่กัน นอกจากนี้ กระแสฟู้ดเน็ทเวิร์ค (Food Network) หรือการแชร์เมนูและประสบการณ์ทำอาหารบนโลกออนไลน์ ทำให้ผู้บริโภคหันมาทำอาหารเพื่อบริโภคเองมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง -----------------------------------ที่มา : ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี
21 ก.พ. 2018
งานแถลงข่าวการประกวดบรรจุภัณฑ์ไทย ประจำปี 2561
งานแถลงข่าวการประกวดบรรจุภัณฑ์ไทย ประจำปี 2561
21 ก.พ. 2018
ผู้ตรวจราชการเข้าตรวจราชการจังหวัดกำแพงเพชร
วันที่อังคาร 20 กุมภาพันธ์ 2561 นายจุลพงษ์ ทวีศรี ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม เข้าตรวจราชการสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดกำแพงเพชร และลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ชุมชนบ้านลานดอกไม้ตก ตำบลลานดอกไม้ตก อำเภอโกสัมพีนคร จังหวัดกำแพงเพชร โดยมีนางสาวนิรามัย ศิริศรีสุดากุล ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 ร่วมลงพื้นที่ด้วย
20 ก.พ. 2018
งานนิทรรศการวิชาการ "อุตสาหกรรมเซรามิก 4.0" อุตสาหกรรมเชื่อมโยงและศูนย์แสดงและจำหน่ายสินค้าเซรามิก
วันจันทร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2561 นายสมชาย หาญหิรัญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วยนางสาวนิสากร จึงเจริญธรรม รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายพรเทพ การศัพท์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และนายทรงพล สวาสดิ์ธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง ให้เกียรติร่วมเปิดงานนิทรรศการวิชาการ "อุตสาหกรรมเซรามิก 4.0" อุตสาหกรรมเชื่อมโยงและศูนย์แสดงและจำหน่ายสินค้าเซรามิก นางสาวนิรามัย ศิริศรีสุดากุล ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 นายภาสกร ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 นายสุรพล ปลื้มใจ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 2 นายทานทัด ยมเกิด ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาอุตสาหกรรมเซรามิก พร้อมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมพิธีเปิดงาน ณ ศูนย์แสดงและจำหน่ายสินค้าเซรามิกและหัตถกรรม จ.ลำปาง
19 ก.พ. 2018
พิธีเปิดงานศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม (Industry Transformation center : ITC)
วันจันทร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2561 นางสาวนิสากร จึงเจริญธรรม รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายพรเทพ การศัพท์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวนิรามัย ศิริศรีสุดากุล ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 นายภาสกร ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 นายสุรพล ปลื้มใจ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 2 นายทานทัด ยมเกิด ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาอุตสาหกรรมเซรามิก พร้อมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมพิธีเปิดงานศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม (Industry Transformation center : ITC) กล่าวต้อนรับโดยนายทรงพล สวาสดิ์ธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง กล่าวรายงานโดยนายกอบชัย สังสิทธิ์สวัสดิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดงานโดย ดร.สมชาย หาญหิรัญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ณ ศูนย์พัฒนาอุตสาหกรรมเซรามิก จ.ลำปาง
19 ก.พ. 2018
กระทรวงอุตฯ รุกเสริมแกร่งผู้ประกอบการหุ่นยนต์แขนกล เตรียมพร้อมเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 เต็มสูบ
กระทรวงอุตฯ รุกเสริมแกร่งผู้ประกอบการหุ่นยนต์แขนกล เตรียมพร้อมเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 เต็มสูบ จ.อุบลราชธานี 16 กุมภาพันธ์ 2561- นายสมชาย หาญหิรัญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่เยี่ยมชมความก้าวหน้าของผู้ประกอบการโรงงาน RST Robotics อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ผู้ผลิตหุ่นยนต์แขนกลอุตสาหกรรมสัญชาติไทย เพื่อจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ โดยทางบริษัทได้รับแรงสนับสนุนจากภาครัฐสานต่อไอเดียภาคเอกชน ซึ่งมุ่งเพิ่มทักษะแรงงานขั้นสูงตอบโจทย์ไทยแลนด์ 4.0 โดยใช้เทคโนโลยี Articulated Arm สร้างขึ้นเลียนแบบแขนของมนุษย์ ซึ่งสามารถผลิตและจำหน่ายได้ในราคาต้นทุนที่ต่ำกว่าการนำเข้าจากต่างประเทศประมาณ 20-30% และมีการออกแบบโปรแกรมการใช้งานที่ง่ายเป็นมิตรกับผู้ใช้งาน รองรับเทคโนโลยี Lot Internet of Thing โดยที่โรบอตนั้นสามารถทำงานแทนคนได้ 3-5 คนต่อหุ่นยนต์ 1 ตัว ซึ่งปัจจุบันมีกำลังการผลิต 20-30 ชุดต่อเดือน นอกจากนี้ยังมีการวางแผนขยายการตลาดไปสู่ประเทศแถบ CLMV ในอนาคต โดยที่ผ่านมาบริษัทฯ ได้เข้าร่วมโครงการระบบอัตโนมัติไฮโดรลิคนิวเมติกส์และการให้คำปรึกษาแนะนำด้านการตลาดหุ่นยนต์ด้านเชื่อมจากศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 จ.อุบลราชธานี กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ทั้งนี้ ทางคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรมได้ให้คำปรึกษาแนะนำการให้บริการด้านต่างๆ จากภาครัฐ เพื่อยกระดับเทคโนโลยีการผลิตและศักยภาพการแข่งขันสู่ตลาดสากลในอนาคต ### PR.DIP (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สล.กสอ.) : รายงาน/ภาพข่าว
17 ก.พ. 2018
รมช.อุตฯ บุกเมืองอุบล เปิดศูนย์ ITC พร้อมเดินหน้ายกระดับ SMEs สู่ SMART SME 4.0
รมช.อุตฯ บุกเมืองอุบล เปิดศูนย์ ITC พร้อมเดินหน้ายกระดับ SMEs สู่ SMART SME 4.0 15 กุมภาพันธ์ 2561 นายสมชาย หาญหิรัญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วยนายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นางเบญจมาพร เอกฉัตร์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม และผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม ให้เกียรติเปิดศูนย์ ITC และเยี่ยมชมงาน SMART SME ด้วยเทคโนโลยี 4.0 ภายในศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 จังหวัดอุบลราชธานี การลงพื้นที่ในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก นายเฉลิมพล มั่งคั่ง รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานีให้การต้อนรับ โดยศูนย์ ITC ดังกล่าว ทำหน้าที่ให้บริการด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจร เพื่อตอบสนองความต้องการด้านการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ด้วยอุปกรณ์และเครื่องจักรที่ทันสมัย รวมถึงการจัดแสดงตัวอย่างบรรจุภัณฑ์ที่โดดเด่นเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ผู้ประกอบการ หรือนิสิต/นักศึกษาที่ต้องการเข้ามาเรียนรู้ นอกจากนี้ ภายในศูนย์ยังมีพื้นที่ Co-working Space และพื้นที่สำหรับการให้คำปรึกษาแนะนำ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งบริการให้ SMEs เพิ่มศักยภาพสามารถก้าวสู่การเป็น SMART SME ทั้งนี้ ในอนาคตยังมีการเชื่องโยงบริการไปยังอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป และอุตสาหกรรมอื่นๆ ต่อไปอีกด้วย โอกาสนี้ รมช.อุตฯ ยังได้เยี่ยมชมงาน SMART SME ด้วยเทคโนโลยี 4.0 ที่จัดแสดงกิจกรรมต่างๆ มากมาย เช่น การฝึกอบรมและทดลองใช้เครื่อง 3D Printing เครื่องบรรจุของเหลว Filling/เครื่องพิมพ์ฉลากสินค้า เป็นต้น รวมถึงการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ อาทิ หลักสูตร ปั้นแบรนด์ด้วย YouTube ให้ดัง ตังค์มาเอง (วิธีโปรโมทวีดีโอผ่าน YouTube Facebook) ตลอดจนเยี่ยมชมนิทรรศการอุปกรณ์เครื่องจักรกลทางการเกษตรและนวัตกรรมหุ่นยนต์แขนกล และบูธการแสดงเทคโนโลยีนวัตกรรม/ผลงานวิจัยของสถาบันการศึกษา เครือข่ายหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการเงิน มากกว่า 10 หน่วยงาน### PR.DIP (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สบก.กสอ.) : รายงาน/ภาพข่าว
16 ก.พ. 2018
รัฐมนตรีช่วย ก.อุตฯ ลงพื้นที่เยี่ยมชมการดำเนินงานผู้ประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมเกษตรครบวงจร ณ บริษัท อุบล ไบโอ เอทานอล จำกัด ต.นาดี อ.นาเยีย จ.อุบลราชธานี
รัฐมนตรีช่วย ก.อุตฯ ลงพื้นที่เยี่ยมชมการดำเนินงานผู้ประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมเกษตรครบวงจร ณ บริษัท อุบล ไบโอ เอทานอล จำกัด ต.นาดี อ.นาเยีย จ.อุบลราชธานี จ.อุบลราชธานี 15 กุมภาพันธ์ 2561- นายสมชาย หาญหิรัญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วยนายสฤษดิ์ วิฑูรย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี นางเบญจมาพร เอกฉัตร์ ผู้ตวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นายรังสรร บุญสะอาด อุตสาหกรรมจังหวัดอุบลราชธานี และคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่เยี่ยมชมการดำเนินงานของบริษัท อุบล ไบโอ เอทานอล จำกัด ต.นาดี อ.นาเยีย จ.อุบลราชธานี ผู้ประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมทางการเกษตร ที่มุ่งสร้างมูลค่าเพิ่มจากวัตถุดิบทางการเกษตรอย่างครบวงจร ด้วยกระบวนการชีวภาพ โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและคำนึงถึงความปลอดภัย พร้อมส่งเสริมวิถีการเกษตรอินทรีย์และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งกระบวนการผลิตทั้งหมดใช้มันสำปะหลังเป็นวัตถุดิบหลัก ประกอบด้วย กลุ่มที่ 1 ธุรกิจผลิตเอทานอล (เกรดเชื้อเพลิง 99.8%) กลุ่มที่ 2 ธุรกิจผลิตแป้งมันสำปะหลัง (เกรดอาหาร และเกรดอุตสาหกรรม) กลุ่มที่ 3 ธุรกิจผลิตก๊าซชีวภาพ และผลิตกระแสไฟฟ้า โดยมีคุณเดชพนต์ เลิศสุวรรณโรจน์ ผู้จัดการใหญ่กลุ่มบริษัทอุบลไบโอเอทานอล จำกัด ให้เกียรติต้อนรับและนำเสนอกระบวนการทำงานของบริษัท ทั้งนี้บริษัทดังกล่าว ได้เข้าร่วมโครงการ Big Brothers ของกรมส่งเเสริมอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นโครงการที่มีวัตถุประสงค์ในการดึง Global Player เป็นพี่เลี้ยง SMEs เพื่อบ่มเพาะแนวคิดธุรกิจและเทคโนโลยี ผลักดัน SMEs สู่เวทีโลกตามแนวทางประชารัฐ ### PR. DIP (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม)
15 ก.พ. 2018