การชี้แจงประเด็นข้อคิดเห็นจากฝ่ายต่างๆ กรณีที่รัฐบาลไทยได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) 4 ฉบับ ร่วมกับกลุ่ม บริษัท อาลีบาบา


23 เม.ย. 2561    adminipc3    3

 

การชี้แจงประเด็นข้อคิดเห็นจากฝ่ายต่างๆ กรณีที่รัฐบาลไทยได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) 4 ฉบับ ร่วมกับกลุ่ม บริษัท อาลีบาบา

ข้าพเจ้า นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ขอรายงานผลการชี้แจงประเด็นข้อคิดเห็นจากฝ่ายต่างๆ กรณีที่รัฐบาลไทยได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) 4 ฉบับ ร่วมกับกลุ่ม บริษัท อาลีบาบา ประเด็นประจำวันเสาร์ที่ 21 เมษายน 2561 ในประเด็นที่1โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้

1) ประเด็นที่กังวลว่าความร่วมมือกับอาลีบาบาอาจส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการไทยในตลาดการค้าออนไลน์ ทำให้ต้องขายกิจการให้ต่างชาติ เนื่องจากอาลีบาบาเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ มีงบประมาณด้านการตลาดมาก รวมทั้งรัฐบาลจีนให้การอุดหนุนด้านการขนส่ง ทำให้มีต้นทุนถูกกว่าไทย ซึ่งรัฐบาลไทยควรมีแนวทางสนับสนุนเรื่องการลดต้นทุนค่าขนส่งให้กับผู้ประกอบการไทยในตลาดการค้าออนไลน์ เพื่อให้แข่งขันกับผู้ประกอบการรายใหญ่ได้อย่างเหมาะสมนั้น กระทรวงอุตสาหกรรมขอชี้แจงว่า
ความร่วมมือที่รัฐบาลไทยทำกับอาลีบาบา มุ่งเน้นการพัฒนาให้ SMEs ทุกระดับ รวมถึงกลุ่มวิสาหกิจชุมชนและกลุ่มธุรกิจเกษตรทั่วประเทศมีความรู้และทักษะทางด้านดิจิทัลและอีคอมเมริซ์ สามารถเข้าถึงตลาดออนไลน์สู่ประเทศจีนและตลาดสากล โดยอาลีบาบาจะมาช่วยอบรมให้ ผู้ประกอบการมีความรู้เรื่องการตลาดออนไลน์ เพื่อให้สามารถเลือกใช้ผู้บริการ (Service Provider) ที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับตนเองมากที่สุด
การปรับปรุงระบบด้านโลจิสติกส์โดยอาศัยเทคโนโลยีของอาลีบาบาจะช่วยให้สามารถส่งสินค้าของ SMEs ไทยไปยังตลาดจีนและตลาดสากลได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เป็นการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันให้กับ SMEs ไทย
นอกจากนี้กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับระบบ e-Commerce และโลจิสติกส์ จะใช้กรณีของ Alibaba เป็น Best Pratice เพื่อร่วมกันปรับปรุงและพัฒนาขีดความสามารถของผู้ประกอบการ e-Commerce และโลจิสติกส์ไทยอย่างต่อเนื่องให้มีมาตรฐานและคุณภาพที่เหนือกว่า Alibaba อีกด้วย

2) ประเด็นที่มีความกังวลว่าอาลีบาบา จะได้ฐานข้อมูล (ดาต้าเบส) ของไทย ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อผู้บริโภค ซึ่งประเด็นนี้ภาครัฐต้องพิจารณาให้เกิดความรัดกุม กระทรวงอุตสาหกรรมขอชี้แจงว่า
ความร่วมมือที่รัฐบาลไทยทำกับอาลีบาบาทั้ง 4 ฉบับ ไม่มีประเด็นใดที่จะนำออกซึ่งข้อมูลในระบบของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะข้อมูลของผู้ประกอบการไทย โดยหน่วยงานต่างๆ ต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการปี พ.ศ.2540 อย่างเคร่งครัด
อย่างไรก็ตาม หาก SMEs รายใดเลือกที่จะทำตลาดออนไลน์กับอาลีบาบา จะได้ประโยชน์จากข้อมูลการวิเคราะห์ตลาดเป้าหมายผ่านการวิเคราะห์ Data Analitic / Big data ของอาลีบาบาด้วย ทั้งนี้หน่วยงานต่างๆ จะได้นำข้อสังเกตเหล่านี้ไปพิจารณากำกับดูแลข้อมูลของหน่วยงานให้รัดกุมยิ่งขึ้น

3) ประเด็นที่กล่าวว่า การเข้ามาของนายแจ็ค หม่า ทำให้อาลีบาบาได้เปรียบสูง เพราะรัฐบาลต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจ จึงสามารถต่อรองกับรัฐบาลไทยเป็นอย่างได้ดี ส่งผลให้สินค้าจีนอาจเข้ามารุกรานสินค้าไทย อัตราการจ้างงานแรงงานในอุตสาหกรรมที่เป็นตัวกลางจะหายไป และโรงงานผู้ผลิตสินค้าในเมืองไทยจะไม่สามารถแข่งขันได้ เนื่องจากจีนมีต้นทุนถูกกว่า นอกจากนี้อาจส่งผลกระทบต่อระบบธนาคาร และอุตสาหกรรม ซึ่งธุรกิจค้าปลีกจะเข้าสู่ตลาดออนไลน์และตกอยู่ในมือชาวต่างชาตินั้น กระทรวงอุตสาหกรรมขอชี้แจงว่า
ตลาดการค้าออนไลน์เป็นตลาดการค้าเสรี แม้ในปัจจุบันผู้บริโภคคนไทยก็สามารถซื้อสินค้าจากประเทศจีนผ่านทางเว็บไซต์ออนไลน์ได้ในหลากหลายช่องทางอยู่แล้ว ความร่วมมือที่เกิดขึ้นจะช่วยให้ผู้ประกอบการ SMEs ไทยสามารถขายสินค้าได้มากขึ้น ช่วยให้ตลาดจีนและผู้บริโภคชาวจีนที่อยู่ในระบบออนไลน์ซึ่งมีจำนวนกว่า 500 ล้านคนและตลาดของจีนได้รับรู้ถึงศักยภาพของสินค้าและบริการของไทย
อีกเหตุผลหนึ่งคือ ยุทธศาสตร์ของรัฐบาลจีนได้เปลี่ยนไปจากเดิมที่เน้นการส่งออก ไปเป็นเน้นการนำเข้าสินค้าและบริการจากต่างประเทศมากขึ้น โดยความร่วมมือของรัฐบาลไทยกับอาลีบาบานั้น ไม่ได้เน้นการนำเข้าสินค้าจากจีนมาบริโภคในประเทศไทย แต่เป็นการสร้างเครื่องมือเพื่อเพิ่มโอกาสให้สินค้าที่มีคุณภาพของไทยสามารถเข้าไปขายในประเทศจีน และประเทศเพื่อนบ้านของไทยในกลุ่ม CLMV มากขึ้น