
นายสิทธิรงณ์ เร่งเงียบ นักวิชาการอุตสาหกรรมชำนาญการพิเศษ
ผู้แทนผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 เข้าร่วมการประชุมวิชาการ สศอ. (OIE Forum)
ประจำปี 2561 : Gear up SIAM Industry : เร่งเครื่องอุตสาหกรรมไทย ทะยานไกลสู่อนาคต
มีนายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและผู้บริหารของกระทรวงอุตสาหกรรม
จัดขึ้น ณ ห้องแกรนด์ บอลรูม อาคารอิมแพค ฟอรั่ม เมืองทองธานี จัดโดย สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
(สศอ.) โมเดล "สยาม" มาจาก "SIAM" (สรรสร้างอุตสาหกรรมเป้าหมาย S-Curve & Innovation,
การใช้ประโยชน์จากข้อมูลขนาดใหญ่ Innovative Big data, การยกระดับผลิตภาพด้วย Automations and
Robotic และพัฒนากำลังคน Manpower Management) เพื่อให้สามารถปรับตัวให้ทันต่อสถานการณ์ที่
เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น และเพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายการปฏิรูปอุตสาหกรรม
ไทย 4.0 ยกระดับการเติบโตไม่น้อยกว่า 4.5% โดยผู้ที่ไม่เคยหยุดนิ่งและพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา คือ ผู้ที่มีที่
ยืนอยู่บนโลกที่มีการแข่งขันอย่างรุนแรง" ยกตัวอย่างเช่น บริษัทสัญชาติไทยที่คว้ารางวัลนวัตกรรมระดับโลก เช่น
บมจ. ซีพี ออล์ (CPALL) มีโมเดลธุรกิจสนับสนุน SMEs ทั่วไปในการเพิ่มช่องทางการขายสินค้าใหม่ รวมทั้งเป็น
กระบวนการทดสอบผลการพัฒนาสินค้าที่เป็นนวัตกรรมของผู้ประกอบการว่าสิ่งใหม่ที่ผลิตสามารถเป็นที่ยอมรับ
และแพร่กระจายไปสู่ลูกค้าได้ในวงกว้าง บมจ.เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (DELTA) ทำด้านเพาเวอร์ซัพพลาย พลังงาน
แสงอาทิตย์ และยานยนต์ไฟฟ้า และเป็นศูนย์เรียนรู้ที่สำคัญทางด้านเพาเวอร์ซัพพลายและเทคโนโลยีระบบอัตโน
มัติด้านอุตสาหกรรม พัฒนานวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง และมุ่งเน้นการพัฒนา Supply chain ให้เติบโตไปด้วยกัน
ไม่เพียงแต่ผู้ประกอบการที่เป็นรายใหญ่ ๆ เท่านั้น ที่ประสบความสำเร็จโดยใช้ "SIAM" สำหรับกลุ่ม SMEs ก็มีเช่น
กัน โดยยกตัวอย่าง SMEs ที่ใช้เอกลักษณ์ขนมไทยแบบดั้งเดิม แต่ก็สามารถส่งต่อองค์ความรู้ขนมไทยจากรุ่นสู่รุ่น
เช่น ปั้น คำ หอม ได้ขยายแฟรนไชส์ไปสู่ความเป็นแบรนด์พรีเมี่ยม ซึ่ง SMEs อาจจะต้องพึ่งอีคอมเมิร์ซและ
เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง ขอยกตัวอย่าง IBM ที่มีผลิตภัณฑ์ในการวิเคราะห์และนำเสนอสินค้าที่ลูกค้าสนใจจาก
ประวัติการซื้อ มีโซลูชันที่สามารถตรวจจับอารมณ์และความรู้สึกของลูกค้า รวมทั้งเก็บข้อมูลลักษณะทางกาย
ภาพ เพื่อประเมินประสบการณ์การชมสินค้าของลูกค้าแต่ละคนในแบบเรียลไทม์ ร้านค้าสามารถนำไปปรับปรุง
บริการและแผนการตลาดให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย จะเป็นการปฏิวัติที่ใช้ข้อมูลจากลูกค้าในยุคใหม่ ซึ่งภาคการผลิตและ
ภาคอุตสาหกรรมต้องมีความยืดหยุ่นมากขึ้น S-Curve & Innovation: จัดทัพนวัตกรรมอาหารยุคใหม่
สู่อนาคต เป็นเรื่องสำคัญที่กระทรวง อุตสาหกรรมให้ความสนใจในด้านบุคลากร แบบจำลองอุตสาหกรรม และ
ข้อมูล นำไปสู่การให้บริการ ประเด็นที่น่าสนใจ คือ SMEs 4.0 เพิ่มทักษะการบริหารธุรกิจสมัยใหม่ เพิ่มทักษะ
แรงงานรองรับเทคโนโลยี 4.0 อุตสาหกรรมอาหาร ทำรายได้ให้ประเทศสูงสุด ถ้าคนไทยอยู่เฉย คนชาติอื่นคงเข้ามา
ประกอบการเองเป็นแน่แท้