ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ลงพื้นที่พบผู้ประกอบการเพื่อให้บริการข้อมูล ประชาสัมพันธ์โครงการ/กิจกรรม ศูนย์ฯ และให้คำปรึกษาแนะนำเบื้องต้น กับผู้ประกอบการ ลพบุรีหล่อยาง
วันศุกร์ที่ 26 มกราคม 2561 นายพันธุ์เทพ ทิพยเนตร นักวิชาการอุตสาหกรรม เจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ลงพื้นที่พบผู้ประกอบการเพื่อให้บริการข้อมูล ประชาสัมพันธ์โครงการ/กิจกรรม ศูนย์ฯ และให้คำปรึกษาแนะนำเบื้องต้น กับผู้ประกอบการ ลพบุรีหล่อยาง ณ สถานประกอบการ จังหวัดลพบุรี
26 ม.ค. 2561
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ลงพื้นที่พบผู้ประกอบการเพื่อให้บริการข้อมูล ประชาสัมพันธ์โครงการ/กิจกรรม ศูนย์ฯ และให้คำปรึกษาแนะนำเบื้องต้น กับผู้ประกอบการ ชมรมช่างหล่อทองเหลือง
วันศุกร์ที่ 26 มกราคม 2561 นายพันธุ์เทพ ทิพยเนตร นักวิชาการอุตสาหกรรม เจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ลงพื้นที่พบผู้ประกอบการเพื่อให้บริการข้อมูล ประชาสัมพันธ์โครงการ/กิจกรรม ศูนย์ฯ และให้คำปรึกษาแนะนำเบื้องต้น กับผู้ประกอบการ ชมรมช่างหล่อทองเหลือง ณ สถานประกอบการ จังหวัดลพบุรี
26 ม.ค. 2561
อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ (Robotics)
อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ (Robotics) เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าการขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมในปัจจุบันนั้น ‘หุ่นยนต์’ ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดโดยคาดว่าอีก 2-3 ปีข้างหน้า ความต้องการใช้หุ่นยนต์ทั่วโลก มีโอกาสจะเพิ่มสูงขึ้นเกือบ 2 เท่า ซึ่งเป็นผลมาจากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป ประกอบกับภาวะการขาดแคลนแรงงานของภาคอุตสาหกรรมยังคงเป็นปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน ขณะเดียวกัน ภาวะการแข่งขันทางธุรกิจที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น ทำให้ต้องพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันผ่านการเพิ่มผลิตภาพอย่างต่อเนื่อง ยิ่งตอกย้ำให้การใช้งานหุ่นยนต์ในภาคอุตสาหกรรม มีแนวโน้มการเติบโตอย่างมีนัยสำคัญในอนาคต โดยทั่วไปฐานการผลิตหุ่นยนต์มักจะตั้งอยู่ในภูมิภาคเดียวกันกับแหล่งอุตสาหกรรมที่มีความต้องการหุ่นยนต์ประเภทนั้นๆ ดังนั้น ประเทศไทยควรวางแผนสร้างฐานการผลิตหุ่นยนต์เพื่อตอบสนองความต้องการในประเทศและภูมิภาคอาเซียนโดยตรง ได้แก่หุ่นยนต์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ โดยเฉพาะหุ่นยนต์ที่ใช้ในการเชื่อมโลหะ ซึ่งมีจำนวนมากเป็นอันดับหนึ่งของจำนวนหุ่นยนต์ที่นำเข้ามาสู่ภูมิภาคอาเซียนในปัจจุบัน หรือนับเป็นร้อยละ 38 ของจำนวนหุ่นยนต์ที่นำเข้าทั้งหมด โดยหุ่นยนต์เหล่านี้มักจะมาในรูปแบบแขนหุ่นยนต์ที่มีแกนเคลื่อนที่แบบหมุน หุ่นยนต์ที่ใช้ในกระบวนการผลิตอัดฉีดพลาสติกซึ่งมีจำนวนมากเป็นอันดับสองของจำนวนหุ่นยนต์ที่นำเข้ามาสู่ภูมิภาคอาเซียนในปัจจุบัน หรือนับเป็นร้อยละ 19 ของจำนวนหุ่นยนต์ที่นำเข้าทั้งหมด โดยหุ่นยนต์เหล่านี้เป็นแขนหุ่นยนต์ที่มีทั้งรูปแบบแกนเคลื่อนแบบหมุน และรูปแบบแกนเคลื่อนที่แบบเชิงเส้น หุ่นยนต์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เช่น หุ่นยนต์ดำน้ำ และหุ่นยนต์ที่ใช้ในปฏิบัติการทางการแพทย์มุ่งเน้นรูปแบบที่ผลิตมาเพื่อสรีระของผู้ป่วยชาวเอเชีย โดยอุตสาหกรรมการผลิตหุ่นยนต์ประเภทหลังนี้ ควรจะได้รับการพัฒนาหลังจากที่ประเทศไทยมีประสบการณ์จากการผลิตหุ่นยนต์สองประเภทข้างต้นมาพอสมควรแล้วเนื่องด้วยอุตสาหกรรมเหล่านี้ นอกจากจะเพิ่มความต้องการระบบหุ่นยนต์ในประเทศแล้ว ยังมีวิทยาการ องค์ความรู้ และบุคลากรที่สามารถได้รับการต่อยอดได้อีกด้วย ซึ่งจะช่วยเพิ่มศักยภาพของประเทศไทยในการสร้างอุตสาหกรรมการผลิตหุ่นยนต์เป็นอุตสาหกรรมใหม่ New S-curve ได้อย่างเข้มแข็ง และยั่งยืน#กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม #อุตสาหกรรมเป้าหมาย #อุตสาหกรรมห่นยนต์ Cr: หนังสือ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย กลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
25 ม.ค. 2561
เจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ลงพื้นที่พบผู้ประกอบการเพื่อให้บริการข้อมูล ประชาสัมพันธ์โครงการ/กิจกรรม ศูนย์ฯ และให้คำปรึกษาแนะนำเบื้องต้น กับผู้ประกอบการ หจก.แก้วเซอร์วิส
วันพฤหัสบดีที่ 25 มกราคม 2561 นายพันธุ์เทพ ทิพยเนตร นักวิชาการอุตสาหกรรม เจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ลงพื้นที่พบผู้ประกอบการเพื่อให้บริการข้อมูล ประชาสัมพันธ์โครงการ/กิจกรรม ศูนย์ฯ และให้คำปรึกษาแนะนำเบื้องต้น กับผู้ประกอบการ หจก.แก้วเซอร์วิส ติดตั้งและซ่อมบำรุงเครื่องจักร ณ สถานประกอบการ จังหวัดลพบุรี
25 ม.ค. 2561
เจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ลงพื้นที่พบผู้ประกอบการเพื่อให้บริการข้อมูล ประชาสัมพันธ์โครงการ/กิจกรรม ศูนย์ฯ และให้คำปรึกษาแนะนำเบื้องต้น กับผู้ประกอบการ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแม่บ้านเกษตรกรท่าศาลา
วันพฤหัสบดีที่ 25 มกราคม 2561 นายพันธุ์เทพ ทิพยเนตร นักวิชาการอุตสาหกรรม เจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ลงพื้นที่พบผู้ประกอบการเพื่อให้บริการข้อมูล ประชาสัมพันธ์โครงการ/กิจกรรม ศูนย์ฯ และให้คำปรึกษาแนะนำเบื้องต้น กับผู้ประกอบการ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแม่บ้านเกษตรกรท่าศาลา ผลิตเครื่องดื่มนมข้าวโพด น้ำกระเจี๊ยบ เก๊กฮวย และสวรส ณ สถานประกอบการ จังหวัดลพบุรี
25 ม.ค. 2561
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ลงพื้นที่พบผู้ประกอบการเพื่อให้บริการข้อมูล ประชาสัมพันธ์โครงการ/กิจกรรม ศูนย์ฯ และให้คำปรึกษาแนะนำเบื้องต้น กับผู้ประกอบการ หจก.ศรีโสภณ นวกิจ
วันพฤหัสบดีที่ 25 มกราคม 2561 นายพันธุ์เทพ ทิพยเนตร นักวิชาการอุตสาหกรรม เจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ลงพื้นที่พบผู้ประกอบการเพื่อให้บริการข้อมูล ประชาสัมพันธ์โครงการ/กิจกรรม ศูนย์ฯ และให้คำปรึกษาแนะนำเบื้องต้น กับผู้ประกอบการ หจก.ศรีโสภณ นวกิจ ผลิตไข่เค็ม ณ สถานประกอบการ จังหวัดลพบุรี
25 ม.ค. 2561
กสอ. จับมือจุฬา เปิดตัว “DIP SME Academy” และ E-Learning แหล่งเรียนออนไลน์ของนักธุรกิจรุ่นใหม่
กสอ. จับมือจุฬา เปิดตัว “DIP SME Academy” และ E-Learning แหล่งเรียนออนไลน์ของนักธุรกิจรุ่นใหม่ กรุงเทพฯ 25 มกราคม 2561 - กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ร่วมกับ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแถลงข่าวเปิดตัวโครงการ “DIP SME Academy” และระบบการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งได้รับเกียรติจาก นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และ รศ.ดร.ศิริเดช สุชีวะ คณบดีคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมเป็นประธานในงานแถลงข่าว ณ ห้องบอลรูม โรงแรมพูลแมน บางกอก คิงเพาเวอร์ รางน้ำ เพื่อมุ่งเน้นเสริมสร้างความรู้และพัฒนาศักยภาพให้ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ สามารถนำความรู้ที่ได้จากหลักสูตรมาประยุกต์และใช้เป็นแนวทางในการกำหนดแผนและเป้าหมายทางธุรกิจ รวมถึงต่อยอดสู่การเป็นธุรกิจใหม่ (Startup) ในยุคเศรษฐกิจ 4.0 ผ่านแพลตฟอร์มการเรียนรู้เริ่มต้นธุรกิจที่สามารถเรียนได้ทุกที่ ทุกเวลาผ่านระบบ E-Learning ทาง www.DIP-SME-academy.com นอกจากนี้ เว็บไซต์ดังกล่าว ยังเป็นศูนย์รวมองค์ความรู้ทางธุรกิจที่เหมาะสำหรับผู้ประกอบการรุ่นใหม่ และวิสาหกิจที่ต้องการเริ่มต้นธุรกิจใหม่อีกด้วย ### PR.DIP (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สล.กสอ.) : รายงาน/ภาพข่าว
25 ม.ค. 2561
อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร
อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหารอุตสาหกรรมการแปรรูปอาหารเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญระดับสูงต่อประเทศไทย เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้จำนวนแรงงานมากที่สุด มีมูลค่าการลงทุนสูงที่สุด มีมูลค่าเพิ่มสูงที่สุด และมีการลงทุนด้านวิจัยและพัฒนาสูง ที่สุดในบรรดาสาขาต่าง ๆ ของภาคอุตสาหกรรมการผลิตไทย ในปัจจุบันมีแนวโน้ม การเปลี่ยนแปลงในตลาดอาหารทั่วโลกอยู่ 3 แขนง ซึ่งมีโอกาสส่งผลกระทบต่อ อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร แนวโน้มดังกล่าว ได้แก่ 1) ความต้องการมาตรฐานความปลอดภัยและความสามารถในการตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) ที่สูงขึ้นจากผู้บริโภคอาหาร 2) การเพิ่มขึ้นของความต้องการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพและผลิตภัณฑ์อาหารเสริม และ 3) การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากแหล่งโปรตีนทางเลือกซึ่งใช้พลังงาน ทรัพยากร และต้นทุนในการผลิตน้อยกว่าแหล่งโปรตีนจากสัตว์ ในปัจจุบันเป้าหมายการเพิ่มมาตรฐานการตรวจสอบย้อนกลับด้านความปลอดภัยของอาหาร การวิจัยและผลิตโภชนาเพื่อสุขภาพ ผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปที่ใช้โปรตีนทางเลือก เช่น โปรตีนเกษตรCr : http://www.oie.go.th/,http://www.eeco.or.th/
24 ม.ค. 2561
อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ
อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพการเกษตรเป็นสาขาอุตสาหกรรมที่มีผลิตภัณฑ์มวลรวมมากที่สุดในประเทศไทย นอกจากนี้ สัดส่วนแรงงานไทยที่ทำงานในภาคการเกษตรยังสูงถึงร้อยละ 40 ส่งผลให้การเกษตรเป็นอุตสาหกรรม ที่มีความสำคัญยิ่งต่อเศรษฐกิจของประเทศและความเป็นอยู่ของประชาชน อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันภาคเกษตรกรรมในไทยยังมีผลิตภาพแรงงานอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ จึงมีศักยภาพที่จะสามารถยกระดับจากการนำเทคโนโลยีทางการเกษตรใหม่ ๆ มาใช้ เป้าหมายพัฒนาเทคโนโลยีการเกษตรขั้นสูง ที่มีการใช้เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลแบบอัตโนมัติ การวิจัยและการลงทุนทางเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อปรับปรุงพันธุ์พืชและสัตว์Cr : http://www.oie.go.th/,http://www.eeco.or.th/
23 ม.ค. 2561
5 Business Trends ปี 2018
5 Business Trends ปี 2018เกาะติด 5 Trends เศรษฐกิจอุตสาหกรรม ปี 2018 กับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม Trend 1 อุตสาหกรรมการลงทุนในส่วนของภาครัฐ (Infrastructure Poject) ที่ยังคงมาแรงแซงทางโค้งในทุกกลุ่มอุตสาหกรรม โดยคาดว่าจะมีเม็ดเงินก่อสร้างกว่า 7.7 แสนล้านบาท จากโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่ส่วนใหญ่อยู่ในระยะก่อสร้าง โครงการลงทุนและจัดซื้อตามงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2561Trend 2 อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย (Thailand Tourism) ปีจอยังคงมีกระแสดีอย่างต่อเนื่องโดยคาดการณ์ว่าไทยจะมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ 37.0 ล้านคนในปี 61 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 สามารถสร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในพื้นที่จังหวัดท่องเที่ยวสำคัญ เช่น กรุงเทพฯ ภูเก็ต ชลบุรี สุราษฎร์ธานี ฯลฯ และธุรกิจที่ได้อานิสงค์จากเทรนด์นี้ คือ ธุรกิจที่พัก ร้านอาหาร และธุรกิจขนส่งTrend 3 อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ (Healthcare) เนื่องจากในปีนี้ประเทศไทยเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุที่คาดว่าจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น โดยคาดว่าจะเพิ่มเป็น 12.3 ล้านคน ในอีก 5 ปีข้างหน้า ดังนั้น การใช้จ่ายเพื่อการรักษาพยาบาลและดูแลสุขภาพจะทำให้การใช้จ่ายในด้านเหล่านี้เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ธุรกิจดูแลผู้สูงวัย ยาและเวชภัณฑ์อาหารเสริมขยายตัวต่อเนื่องTrend 4 อุตสาหกรรมส่งออกอาหารแปรรูปเกษตร (Food Processing) และอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ (Automative& Auto Parts) โดยหลังการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก(Global Economy Recovery) ทำให้คาดว่ายอดส่งออกของไทยในช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้จะขยายตัวได้สูงถึงร้อยละ 9.7 Trend 5 อุตสาหกรรมดิจิทัล (Digital Economy) ที่จะเปลี่ยนรูปแบบการค้า-การขาย จากระบบค้าปลีกเดิม ไปสู่การค้าผ่านระบบออนไลน์ (E-Commerce)มากขึ้น เป็นผลจากพฤติกรรมการจับจ่ายของคนไทยที่เปลี่ยนไป ส่งผลให้อุตสาหกรรมการขนส่งและอุตสาหกรรมเกี่ยวกับไอทีได้รับอานิสงค์แรงในเทรนด์นี้#กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม #กระทรวงอุตสาหกรรม#เอสเอ็มอี Cr : TMB Analytics
22 ม.ค. 2561