คณะกรรมการตรวจรับพัสดุในงานจ้างที่ปรึกษา กิจกรรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปให้สอดคล้องกับตลาด โดยใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ร่วมรับฟังการนำเสนอผลการเข้าประเมินศักยภาพสถานประกอบการที่สนใจสมัครเข้าร่วมกิจกรรมฯ จำนวน 20 สถานประกอบการ
วันพุธที่ 7 กุมภาพันธ์ 2561 นายสิทธิรงณ์ เร่งเงียบ นักวิชาการอุตสาหกรรมชำนาญการพิเศษ นางสาวจันทร์แรม แดงโสภาพ นักวิชาการอุตสาหกรรมปฏิบัติการ นางสาวจันทร์ธิมา วรรณลึก นักวิชาการอุตสาหกรรม นายศุภวุฒิ กุลวิศว นักวิชาการอุตสาหกรรม คณะกรรมการตรวจรับพัสดุในงานจ้างที่ปรึกษา กิจกรรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปให้สอดคล้องกับตลาด โดยใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ร่วมรับฟังการนำเสนอผลการเข้าประเมินศักยภาพสถานประกอบการที่สนใจสมัครเข้าร่วมกิจกรรมฯ จำนวน 20 สถานประกอบการ จากที่ปรึกษา สถานบ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยนเรศวร และคณะกรรมการฯ พร้อมที่ปรึกษาฯ ร่วมกันพิจารณาคัดเลือกสถานประกอบการเข้าร่วมกิจกรรมฯ จำนวน 10 กิจการ ณ ห้องประชุม ชั้น 2 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3
07 ก.พ. 2018
กิจกรรม "การสร้างเครือข่ายอุตสาหกรรมเป้าหมาย (อาหารแปรรูป)"
วันอังคารที่ 6 กุมภาพันธ์ 2561 นายสิทธิรงณ์ เร่งเงียบ นักวิชาการอุตสาหกรรมชำนาญการพิเศษ กำกับติดตามการดำเนินงานของที่ปรึกษา กิจกรรม "การสร้างเครือข่ายอุตสาหกรรมเป้าหมาย (อาหารแปรรูป)" โดยมอบหมายให้บริษัท โปรเฟสชั่นแนล โค้ช จำกัด เป็นผู้ดำเนินงาน ณ โรงแรม 42 C The chic hotel อ.เมือง จ.นครสวรรค์ ในส่วนของการดำเนินกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ของเครือข่าย จากผู้ประกอบการด้านอาหารจำนวน 14 กิจการ ในพื้นที่รับผิดชอบของ ศภ. 3 กสอ.
06 ก.พ. 2018
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 ร่วมกับที่ปรึกษาจากห้างหุ้นส่วนจำกัด บี.พี.โซลูชั่น โดยอ.ธิติ ศรีวรรณยศ เข้าดำเนินงานสำรวจสถานประกอบการที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมการเตรียมความพร้อมการขอรับรองมาตรฐานฮาลาล ภายใต้โครงการเพิ่มศักยภาพและยกระดับเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเป
วันจันทร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2561 นางสาวจันทร์แรม แดงโสภาพ นักวิชาการอุตสาหกรรมปฏิบัติการ และนายสิริชัย สุขสะอาด ช่างเหล็ก ช.3 เจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 ร่วมกับที่ปรึกษาจากห้างหุ้นส่วนจำกัด บี.พี.โซลูชั่น โดยอ.ธิติ ศรีวรรณยศ เข้าดำเนินงานสำรวจสถานประกอบการที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมการเตรียมความพร้อมการขอรับรองมาตรฐานฮาลาล ภายใต้โครงการเพิ่มศักยภาพและยกระดับเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเป้าหมาย ในพื้นที่จังหวัดสิงห์บุรี จำนวน 3 กิจการ ดังนี้ 1.วิภารัศมิ์สมุนไพร (ผลิตนำ้มันหอมระเหย) อ.บางระจัน จ.สิงห์บุรี 2.สมุนไพรครูขนิษฐา (ผลิต สบู่,แชมพู สมุนไพร) อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี 3.บจก.ครีมเมอรี่พลัส (ผลิตเครื่องสำอางค์) อ.เมือง จ.สิงห์บุรี
05 ก.พ. 2018
การจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร เทคนิคสร้างยอดขายด้วย Line และ Facebook ไม่ใช่แค่ยอด Like หรือเพิ่มเพื่อน การฝึกอบรมฯครั้งนี้จัดระหว่างวันที่ 1-2 กุมภาพันธ์ 2561 ณ โรงแรมชากังราว ริเวอร์วิว อ.เมือง จ.กำแพงเพชร
วันศุกร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ 2561 นายอำพล สุบรรณ์พิจิตร นวอ.ปก. ดำเนินการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร เทคนิคสร้างยอดขายด้วย Line และ Facebook ไม่ใช่แค่ยอด Like หรือเพิ่มเพื่อน การฝึกอบรมฯครั้งนี้จัดระหว่างวันที่ 1-2 กุมภาพันธ์ 2561 ณ โรงแรมชากังราว ริเวอร์วิว อ.เมือง จ.กำแพงเพชร โดยในวันนี้มีเนื้อหาเรื่องการลง content บน facebook การตั้งค่าซื้อโฆษณาแบบคุ้มค่าเลือกกลุ่มเป้าหมายที่เหมาะสม การวิเคราะห์ข้อมูลผู้เข้าชมเพจ และการใช้งาน LINE@เบื้องต้น วิทยากรได้แก่ อ.อลงกรณ์ สุวรรณเวช และ อ.ศศิมาภรณ์ ล้อมทอง
02 ก.พ. 2018
ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 - 11 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าร่วมในหลักสูตรผู้บริหารระดับสูงรุ่นที่ 2
วันพฤหัสบดีที่ 1 กุมภาพันธ์ 2561 ดร.ณพพงศ์ ธีระวร ประธานสมาพันธ์ SME ไทย เป็นประธานเปิดงานฝึกอบรมหลักสูตรผู้บริหารระดับสูงรุ่นที่ 2 โดยมีนางสาวนิรามัย ศิริศรีสุดากุล ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 และผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 - 11 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าร่วมในหลักสูตรดังกล่าว ณ ห้องธาราเทพ ชั้น 2 โรงแรมเจ้าพระยาปาร์ค
01 ก.พ. 2018
การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร เทคนิคสร้างยอดขายด้วย Line และ Facebook ไม่ใช่แค่ยอด Like หรือเพิ่มเพื่อน ณ โรงแรมชากังราว ริเวอร์วิว อ.เมือง จ.กำแพงเพชร
วันพฤหัสบดีที่ 1 กุมภาพันธ์ 2561 นางสาวณัฏฐนันท์ ศรีประเสริฐ ผู้แทนผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 เป็นประธานเปิดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร เทคนิคสร้างยอดขายด้วย Line และ Facebook ไม่ใช่แค่ยอด Like หรือเพิ่มเพื่อน กล่าวรายงานโดย นายอำพล สุบรรณ์พิจิตร นักวิชาการอุคสาหกรรมปฏิบัติการ การฝึกอบรมฯครั้งนี้จัดระหว่างวันที่ 1-2 กุมภาพันธ์ 2561 ณ โรงแรมชากังราว ริเวอร์วิว อ.เมือง จ.กำแพงเพชร มีผู้เข้าร่วมสัมมนา จำนวน 47 ราย วัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนความรู้ ทักษะความสามารถในด้านเทคโนโลยีดิจิทัล พร้อมทั้งพัฒนาวิสัยทัศน์และแนวคิดของผู้ประกอบการเพื่อเข้าสู่ SMEs 4.0 วิทยากรได้แก่ อ.อลงกรณ์ สุวรรณเวช และ อ.ศศิมาภรณ์ ล้อมทอง
01 ก.พ. 2018
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 กำกับการทำงานและร่วมกับที่ปรึกษาจากมหาวิทยาลัยนเรศวร เข้าวิเคราะห์สถานประกอบการที่สมัครเข้ากิจกรรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป โดยใช้เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และนวัตกรรม
วันพุธที่ 31 มกราคม 2561 นางสาวจันทร์แรม แดงโสภาพ นักวิชาการอุตสาหกรรมปฏิบัติการ และนายศุภวุฒิ กุลวิศว นักวิชาการอุตสาหกรรม เจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 กำกับการทำงานและร่วมกับที่ปรึกษาจากมหาวิทยาลัยนเรศวร เข้าวิเคราะห์สถานประกอบการที่สมัครเข้ากิจกรรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป โดยใช้เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และนวัตกรรม เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการคัดเลือกสถานประกอบการเข้าร่วมกิจกรรมฯ และวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของธุรกิจ สู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่อไป โดยเข้าร่วมวิเคราะห์สถานประกอบการในจังหวัดพิจิตรจำนวน 4 กิจการ ดังนี้ 1.บจก.รักษิวรรณ อ.บางมูลนาก จ.พิจิตร 2. วาเบลล์ล่าซ์ อ.ตะพานหิน จ.พิจิตร 3.คุณเจนจิรา มั่นคงขันติวงศ์ อ.เมือง จ.พิจิตร 4. ธีรนันท์ เฮร์ป อ.สามง่าม จ.พิจิตร
31 ม.ค. 2018
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 นำคณะผู้ประกอบการ OTOP ที่ผ่านการอบรม หลักสูตร พัฒนาผู้ประกอบการ OTOP รุ่นใหม่ เข้าศึกษาดูงาน ศูนย์ ITC (ศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม) และ ศูนย์ BSC (ศูนย์บริการธุรกิจอุตสาหกรรม)
วันพุธที่ 31 มกราคม 2561 นางสาวรัตนาวดี มณีกูล นางสาวจันทร์ธิมา วรรณลึก และนายทักษิน ยังเพ็ง เจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 นำคณะผู้ประกอบการ OTOP ที่ผ่านการอบรม หลักสูตร พัฒนาผู้ประกอบการ OTOP รุ่นใหม่ เข้าศึกษาดูงาน ศูนย์ ITC (ศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม) และ ศูนย์ BSC (ศูนย์บริการธุรกิจอุตสาหกรรม) ณ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 จ.เชียงใหม่ โดยได้รับเกียรติจาก นายภาสกร ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 ให้การต้อนรับ และแนะนำศูนย์ ITC
31 ม.ค. 2018
วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดประชุมนำเสนอผลการดำเนินงานและรับฟังขอเสนอแนะ
วันพุธที่ 31 มกราคม 2561 วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่นจัดประชุมนำเสนอผลการดำเนินงานและรับฟังขอเสนอแนะ เพื่อพิจารณานโยบายการใช้เครื่องเกี่ยวนวดข้าวภายใต้โครงการ “การประเมินความสูญเสียจากเครื่องเกี่ยวนวดข้าว เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ในการบริหารจัดการและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต” ซึ่งได้ดำเนินการทดสอบเครื่องเกี่ยวนวดข้าวภาคสนามในพื้นที่เก็บเกี่ยวข้าวนาปรัง ณ จังหวัดพิจิตร และพื้นที่เก็บเกี่ยวข้าวนาปี ณ จังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งที่มาและความสำคัญของการศึกษาในโครงการมาจาก ข้าวเป็นพืชที่มีความสำคัญมากทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ประเทศไทยมีปริมาณการเพาะปลูกข้าวประเทศประมาณปีละ 62 – 80 ล้านไร่ ผลผลิตรวมประมาณ 22 – 30 ล้านตันข้าวเปลือกต่อปี และพบว่า นิยมใช้เครื่องเกี่ยวนวดข้าวในการเก็บเกี่ยว และคำนึงถึงความสูญเสียในเชิงปริมาณและคุณภาพไม่มากเท่าที่ควร ซึ่งมีเปอร์เซ็นต์ความสูญเสียเชิงปริมาณ คิดเป็น 0.26 ล้านตันข้าวเปลือก การดำเนินการศึกษา การเก็บเกี่ยวที่คำนึงถึงความสูญเสียเปรียบเทียบกับการเก็บเกี่ยวแบบเดิมที่ปฏิบัติ โดยใช้เครื่องเกี่ยวนวดข้าวรุ่นเดียวกันทั้ง 2 พื้นที่ (เก็บเกี่ยวข้าวนาปรัง ณ จังหวัดพิจิตร และพื้นที่เก็บเกี่ยวข้าวนาปี ณ จังหวัดร้อยเอ็ด) แล้วพบว่า เปอร์เซ็นต์ความสูญเสีย ความสะอาด และเมล็ดแตกหัก มีเปอร์เซ็นต์ที่ลดลงทั้ง 2 พื้นที่ มูลค่าผลต่างของระบบที่คำนึงถึงความสูญเสีย (เชิงปริมาณและคุณภาพ) นาปรังประมาณ 200 บาทต่อไร่ และนาปีประมาณ 500 บาทต่อไร่ เมื่อคิดพื้นที่เพาะปลูกเฉลี่ยปีละ 71 ล้านไร่ มูลค่าความสูญเสียคิดเป็นเงินมากกว่าปีละ 30,000 ล้านบาท ข้อเสนอแนะ เช่น การเก็บเกี่ยวที่ใกล้เคียงกับอายุการเก็บเกี่ยว การปลูกเหลื่อมเวลาการเก็บเกี่ยว ให้มีการสีข้าวเพื่อการจำหน่าย ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการผลิตเครื่องเกี่ยวนวดข้าวพัฒนามาตรฐานการผลิตให้ดียิ่งขึ้น การกำหนดเกณฑ์ความสูญเสียต่อการรับซื้อ และรณรงค์ 3 ฝ่าย (ชาวนา รถเกี่ยวนวดข้าว ผู้ผลิตรถเกี่ยวนวดข้าว) คำนึงถึงวามสูญเสีย โดยมี รศ.ดร.วินิต ชินสุวรรณ คณะบดีวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่นและหัวหน้าโครงการวิจัย เป็นผู้นำเสนอและรับฟังข้อเสนอแนะ และนายติณห์ เจริญใจ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 5 นายวุฒิชัย ประชาพร ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 นายสิทธิรงณ์ เร่งเงียบ ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการส่งเสริมธุรกิจอุตสาหกรรม แทนผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 นายสิริชัย สุขสะอาด นายวุฒิพงษ์ ดวงพลพรม ผู้แทนศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตร จ.ร้อยเอ็ด ผู้แทนสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.) ประธานบริษัทเกษตรพัฒนาอุตสาหกรรมจำกัด จ.ฉะเชิงเทรา และผู้แทนชมรมรถเกี่ยวนวดข้าวชาละวัน จ.พิจิตร รวมประมาณ 25 ท่านณ ห้องประชุม วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
31 ม.ค. 2018
การประชุมคณะทำงานเครือข่าย RISMEP จังหวัดพิจิตร ครั้งที่ 2/2561 เพื่อหารือแนวทางขับเคลื่อนและพัฒนาเครือข่ายร่วมกัน ในการให้บริการผู้ประกอบการ ในพื้นที่จังหวัดพิจิตร
วันอังคารที่ 30 มกราคม 2561 นายดุสิต จันทรการต์ อุตสาหกรรมจังหวัดพิจิตรเป็นประธานในการประชุมคณะทำงานเครือข่าย RISMEP จังหวัดพิจิตร ครั้งที่ 2/2561 เพื่อหารือแนวทางขับเคลื่อนและพัฒนาเครือข่ายร่วมกัน ในการให้บริการผู้ประกอบการ ในพื้นที่จังหวัดพิจิตร โดยมีหน่วยงานเครือข่ายผู้ให้บริการ (BDSP) เข้าร่วมจำนวน 11 หน่วยงาน ณ ห้องประชุมชั้น 3 สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดพิจิตร
30 ม.ค. 2018