เพราะสงครามการค้า “กัมพูชา” คือฐานการผลิตเสื้อผ้าแห่งใหม่แทนจีน
เพราะสงครามการค้า “กัมพูชา” คือฐานการผลิตเสื้อผ้าแห่งใหม่แทนจีน เมื่อบริษัทเสื้อผ้าและเครื่องประดับแฟชั่นชื่อดังเตรียมย้ายฐานการผลิตจากประเทศจีนมายังประเทศกัมพูชา เนื่องจากปัญหาของสงครามการค้า แต่อย่างไรก็ดีการย้ายฐานการผลิตมากัมพูชาอาจต้องแลกกับอะไรบางอย่าง ไม่ว่าจะเป็นแรงงานที่คุณภาพยังไม่ได้คุณภาพ ถึงแม้ว่าจะมีข้อดีอยู่มากเช่น แรงงานมีราคาถูก และสิทธิทางภาษีก็ตาม หลังจากการประกาศขึ้นภาษีสินค้านำเข้าของสหรัฐ ทำให้สินค้าที่ผลิตจากประเทศจีนไม่ว่าจะเป็น กระเป๋า เสื้อผ้า หรือแม้แต่รองเท้า จากยี่ห้อดังๆ ได้รับผลกระทบจากภาษีนำเข้าที่เพิ่มขึ้น ซึ่งทำให้อาจต้องย้ายฐานการผลิตจากจีนไปยังประเทศในอาเซียน โดยเฉพาะประเทศกัมพูชา ในช่วงที่ผ่านมาอาเซียนเป็นเป้าหมายหนึ่งของบริษัทต่างชาติที่ได้รับผลกระทบจากสงครามการค้า ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ หรือแม้แต่บริษัทผลิตของเล่น Steve Lamar ประธานบริหารของ American Apparel & Footwear Association กล่าวถึงการย้ายฐานการผลิตกำลังเกิดขึ้นในอุตสาหกรรมนี้ เนื่องจากปัญหาของสงครามการค้า ซึ่งสร้างผลกระทบให้กับอุตสาหกรรมนี้เป็นอย่างมาก ขณะที่ผลการสำรวจของ U.S. Fashion Industry Association ได้แสดงว่าบริษัทต่างๆ ในอุตสาหกรรมนี้มากถึง 2 ใน 3 กำลังทยอยลดกำลังการผลิตในประเทศจีนลงภายใน 2 ปีนี้ ซึ่งเป็นความท้าทายใหม่ๆ ของบริษัทเหล่านี้ กัมพูชาคือฐานการผลิตใหม่ Edward Rosenfeld ซึ่งเป็น CEO ของแบรนด์รองเท้าชื่อดังอย่าง Steven Madden กล่าวว่าบริษัทกำลังย้ายฐานการผลิตมาที่ประเทศกัมพูชา โดยยอดการผลิต 15% จะอยู่ที่กัมพูชาภายในปีนี้ และจะเพิ่มขึ้นเป็นอีกเท่าตัวภายในปีหน้า ส่วนทางด้าน Tapestry ซึ่งเป็นเจ้าของแบรนด์ดังอย่าง Coach และ Kate Spade ก็เตรียมย้ายฐานการผลิตจากจีนมาประเทศกัมพูชา หรือไม่ก็เวียดนาม โดยจะเหลือกำลังการผลิตในประเทศจีนไม่เกิน 5% ประเทศกัมพูชานั้นได้ให้สิทธิประโยชน์แก่โรงงานที่มาตั้งฐานการผลิตที่นี่ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสิทธิทางด้านภาษี นอกจากนั้นยังมีเรื่องของค่าแรงที่ถูกกว่าในจีนด้วย ในปีที่ผ่านมากัมพูชานั้นมียอดส่งออกรองเท้าเติบโตมากถึง 25% แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับการย้ายฐานการผลิต อย่างไรก็ดีผลการสำรวจจาก Hong Kong Development Council พบว่า การย้ายฐานการผลิตออกมาจากจีนอาจเป็นความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากแรงงานกัมพูชาที่มีราคาถูกกว่าจีนนั้นในแง่ประสิทธิภาพการทำงานของแรงงานกัมพูชา 1 คนอาจได้เพียงแค่ 50-60% เมื่อเทียบกับแรงงานจีน 1 คนด้วยซ้ำ นอกจากนี้ยังมีปัญหาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศกัมพูชาที่ไม่ค่อยถือว่าดีเท่าไหร่นัก ซึ่งอาจเป็นอุปสรรคในการย้ายฐานการผลิตมาที่นี่ ที่มา : brandinside.asia
21 ก.ย. 2018
ทำความรู้จัก Silver Age ‘วัยแซ่บในกลุ่มสูงวัย’ พร้อมวิธีสื่อสารให้โดนใจ และการทำคอนเทนต์เพื่อให้คนกลุ่มนี้แชร์
ทำความรู้จัก Silver Age ‘วัยแซ่บในกลุ่มสูงวัย’ พร้อมวิธีสื่อสารให้โดนใจ และการทำคอนเทนต์เพื่อให้คนกลุ่มนี้แชร์ การก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัย หรือการมีประชากรที่อายุมากกว่า 60 ปี ขึ้นไป ไม่ต่ำกว่า 1 ใน 5 ของจำนวนประชากรทั้งหมด เป็นสิ่งที่หลายๆ ประเทศทั่วโลกกำลังเผชิญ โดยเฉพาะประเทศไทยเองก็กำลังก้าวเข้าสู่ภาวะ Aging Society ใน State ของการเป็นสังคมสูงวัยโดยสมบูรณ์ หรือ Aged Society เมื่อเทียบอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรสูงวัยที่ปีละประมาณ 5 แสนคน กับจำนวนผู้สูงวัยที่มีสัดส่วน 14.5% ในขณะนี้ หรือเกือบ 10 ล้านคน จากจำนวนประชากร 64.5 ล้านคน ทำให้ภายในปี 2568 ประเทศไทยจะมีผู้สูงอายุเกือบ 15 ล้านคน หรือมากกว่า 20% เมื่อเทียบกับจำนวนคนทั้งประเทศ โดยที่แนวโน้มในอนาคตข้างหน้า การขยายจำนวนของประชากรสูงวัยก็ยิ่งจะเพิ่มมากขึ้น จนทำให้คนกลุ่มนี้กลายเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศไปในที่สุด สิ่งที่เกิดขึ้นทำให้เรามักจะได้เห็นการตื่นตัวในเชิง Marketing เมื่อนักการตลาดต่างพยายามทำความเข้าใจความต้องการ พฤติกรรม ความรู้สึกนึกคิด มุมมองต่างๆ และการใช้ชีวิตของคนกลุ่มนี้เพิ่มมากขึ้น เพื่อให้สามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆ ที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตของคนกลุ่มนี้ให้ได้มากที่สุด โดยเฉพาะในช่วงอายุตั้งแต่ 55 -70 ปี ที่เป็นช่วงเริ่มเข้าสู่วัยเกษียณไปจนถึงผู้สูงอายุในช่วงเริ่มต้น ที่ร่างกายยังมีความแข็งแรง ยังมีความสามารถและชื่นชอบที่จะทำกิจกรรมต่างๆ อยู่ ไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยวหรือเข้าสังคม พบปะเพื่อนฝูง และเริ่มมีลักษณะทางกายภาพเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะสีผมที่เปลี่ยนเป็นสีขาวหรือสีเงิน ทำให้มีผู้ให้นิยมเรียกกลุ่มเป้าหมายกลุ่มนี้ว่า Silver Age นั่นเอง Silver Age วัยแซ่บในกลุ่มสูงวัย กลุ่ม Silver Age นับเป็นกลุ่มสูงวัยที่มีศักยภาพมากที่สุดในบรรดากลุ่มเป้าหมายที่เป็น Aging ในทุกเซ็กเม้นต์ เพราะเป็นกลุ่มที่มีครบทั้งเวลา กำลังซื้อ และร่างกายที่ยังแข็งแรงอยู่ หรือจะเรียกว่าเป็น “วัยแซ่บ” ของกลุ่มสูงวัยก็ว่าได้ (Silver-Age-People) ทำให้เป็นที่หมายปองของบรรดาแบรนด์และนักการตลาดในการทำความรู้จักเพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆ ให้แก่วัยแซ่บเหล่านี้ แต่ในอีกมิติหนึ่งที่สำคัญที่จะทำให้สินค้าหรือบริการต่างๆ สามารถเข้าถึงคนกลุ่มนี้ได้ ก็คือต้องมีวิธีในการสื่อสารที่เหมาะสม ทั้งการเลือกช่องทาง รูปแบบ และแนวทางในการสื่อสาร จะสามารถใช้ Mass Media หรือใช้หลักการเดียวกับกลุ่มเป้าหมายอื่นๆ ได้หรือไม่ หรือต้องทำอย่างไรเพื่อให้สามารถเข้าถึงคนกลุ่ม Silver Age ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในยุคที่มีสื่อหลากหลายแพลตฟอร์มเช่นนี้ แบรนด์หรือนักการตลาดจะหาคนกลุ่มนี้พบได้จากที่ไหน จะมีวิธีพูดอย่างไรเพื่อให้คนกลุ่มนี้ได้ยิน จึงเป็นที่มาของ CMMU Insight ในหัวข้อ “Silver Age Content Marketing…สื่อสารโดนใจ รุ่นใหญ่วัยสีเงิน” โดยวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) เพื่อให้สามารถเข้าใจวิธีในการสื่อสารการตลาดกับคนกลุ่มนี้ ทั้งการเลือกแพลตฟอร์ม การเลือกคอนเทนต์ที่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นลักษณะเนื้อหาหรือความยาว รวมทั้งจะทำอย่างไรให้สามารถสร้าง Social Engagement กับคนกลุ่มนี้ได้เพิ่มมากขึ้น ในยุคที่การทำ Content Marketing เป็นหนึ่งเครื่องมือจำเป็นที่นักการตลาดและแบรนด์ต่างๆ นิยมใช้ จะทำอย่างไรให้วัยแซ่บสีเงินกลุ่มนี้ทำการแชร์คอนเทนต์จากฝั่งของแบรนด์เพิ่มมากขึ้นได้ ไม่พลิกโผ Line แพลตฟอร์มยอดนิยมกลุ่มสูงวัย เริ่มกันที่แพลตฟอร์มยอดนิยมที่กลุ่ม Silver Age นิยมใช้ ซึ่งทำการสำรวจรวมกันทั้งสื่อดั้งเดิมและสื่อดิจิทัล โดย 3 อันดับแรก ที่ครองใจกลุ่มสูงวัย คือ Line 52% สื่อโทรทัศน์ 24% และ Facebook 16% ตามลำดับ โดยเหตุผลที่แพลตฟอร์มไลน์เป็นที่ชื่นชอบ มาจากการใช้งานได้ง่ายโดยเฉพาะสามารถส่งสติ๊กเกอร์แทนความรู้สึกได้ เพราะผู้สูงวัยไม่ถนัดในการพิมพ์มากนัก รวมทั้งการแชร์ข้อมูลต่างๆ ให้กับคนอื่นๆ ก็ทำได้ง่ายกว่าแพลตฟอร์มอื่นๆ โดยเฉพาะในช่วงเช้าที่จะมีปริมาณการใช้งานสูง เพราะนิยมเช็คข้อมูลข่าวสาร และจะดูว่ามีใครติดต่อมาบ้าง ส่วนอันดับ 2 เป็นสื่อดั้งเดิมอย่างโทรทัศน์ ที่ในกลุ่มคนวัยอื่นๆ อาจจะลดเวลาในการรับชมคอนเทนต์ต่างๆ ผ่านสื่อประเภทนี้ลง แต่ยังถือว่าเป็นสื่อที่ค่อนข้างมีอิทธิพลสูงในกลุ่มผู้สูงอายุ โดยมากกว่า 61% ของผู้สูงอายุจะนิยมเปิดโทรทัศน์ทิ้งไว้โดยไม่เปลี่ยนช่อง เพื่อใช้เป็นเพื่อคลายเหงา โดยเฉพาะในช่วงเวลาเช้ากับเย็น ที่จะมีทั้งรายการข่าว ละคร และวาไรตี้ต่างๆ จำนวนมาก สำหรับเฟสบุ๊ก แม้จะติด Top 3 แต่ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มองว่าเฟสบุ๊กเป็นแพลตฟอร์มที่ใช้งานได้ค่อนข้างยาก ทั้งการโพสต์หรือแชร์ที่จะมีหลายขั้นตอน มีปุ่มต่างๆ ค่อนข้างมาก ทำให้งง ต้องพึ่งพาลูกหลานให้ช่วยสอนหลายครั้ง ส่งผลให้ผู้สูงอายุบางส่วนไม่อยากใช้เฟสบุ๊กมากนัก เพราะไม่อยากเป็นภาระให้คนอื่นต้องมาสอนบ่อยๆ ที่สำคัญผู้สูงอายุหลายคนยังไม่เข้าใจว่าเฟสบุ๊กเป็นแพลตฟอร์มสาธารณะ ไม่ใช่การพูดคุยแบบส่วนตัว ส่วนปริมาณการใช้งานจะสูงในช่วงเวลากลางวัน เพื่อเช็คข้อมูลข่าวสาร หรือติดต่อสื่อสารต่างๆ ส่วนประเภทสื่อที่ผู้สูงอายุไม่นิยมใช้มากนัก อันดับ 1 คือ หนังสือพิมพ์ โดยมีปริมาณการเสพสื่อเหลืออยู่เพียง 2% เนื่องจาก ผู้สูงอายุส่วนใหญ่เริ่มเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีทำให้เริ่มหันมาอ่านข้อมูล ข่าวสารต่างๆ ผ่านสื่อดิจิทัลมากขึ้น รวมทั้งมีบางคนที่ไม่ชอบที่หนังสือพิมพ์มีการใช้หมึกที่มีทั้งกลิ่นหรือบางครั้งทำให้เลอะเทอะมือด้วย ตามมาด้วยวิทยุ ที่มีการใช้งาน 1% เพราะปัจจุบันฟังเพลงผ่านดิจิทัล จะยังใช้วิทยุเฉพาะเมื่ออยู่บนรถเท่านั้น รวมทั้งสื่อในกลุ่มบิลบอร์ด ที่มีปริมาณการบริโภคสื่อ 1% เท่ากับวิทยุ เนื่องจากที่ไม่ค่อยได้ออกไปไหนมากนัก หรือถ้าออกไปก็จะเห็นได้เพียงแค่ลักษณะของการผ่านๆ ตาเท่านั้น ถ้าจะทำโฆษณาให้สูงวัยดู ทีวียังทรงพลังที่สุด ในส่วนของการรับคอนเทนต์ทางการตลาดต่างๆ แม้จะยังอยู่ในแพลตฟอร์มกลุ่มเดียวกับแพลตฟอร์มที่มีการใช้งานในระดับสูง แต่มีความแตกต่างกันที่เห็นได้อย่างชัด โดยเฉพาะสื่อโฆษณาที่เข้าถึงคนกลุ่มนี้ได้ดีที่สุดคือ สื่อโทรทัศน์ ด้วยสัดส่วนสูงถึง 52% เนื่องจากเข้าใจง่ายและได้อรรถรสจากการมองเห็นทั้งภาพและเสียง รวมทั้งพฤติกรรมที่ชอบเปิดทีวีทิ้งไว้เป็นเพื่อน ทำให้มีโอกาสที่จะเห็นโฆษณาต่างๆ ได้มากกว่า ตามมาด้วย Line และ Facebook ในปริมาณที่ใกล้เคียงกัน คือ 19% และ 18% ตามลำดับ ซึ่งกลุ่มผู้สูงอายุมักจะเข้าไปอ่านคอนเทนต์ต่างๆ ที่คิดว่ามีความเกี่ยวข้องกับตัวเอง โดยที่ส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าเป็นบทความโฆษณา รวมทั้งการเข้าไปโหลดรับสติ๊เกอร์ไลน์ และบล็อกไม่เป็น ทำให้มักจะได้รับข้อความโฆษณาที่ทาง Brand ต่างๆ ส่งมา ขณะที่ 3 แพลตฟอร์มโฆษณาที่มีโอกาสเข้าถึงกลุ่มผู้สูงวัยได้น้อย ได้แก่ หนังสือพิมพ์ เพราะขนาดตัวหนังสือที่ค่อนข้างเล็ก ทำให้อ่านไม่สะดวกและเลือกที่จะไม่อ่าน ตามมาด้วยยูทูป ที่มักมีโฆษณาขั้นในระหว่างคลิปทำให้ผู้สูงอายุเลิกดู แต่ส่วนใหญ่เลือกที่จะดูในช่วงต้นคลิปก่อนที่คอนเทนต์ที่ต้องการจะมา เพราะกด Skip ไม่ได้ ดังนั้น หากจะแทรกโฆษณาที่เกี่ยวกับผู้สูงอายุในแพลตฟอร์มยูทูปควรวางไว้ในช่วงเริ่มต้น ส่วนแพลตฟอร์มโฆษณาที่อยู่บนหน้าเว็บไซต์ เป็นอีกหนึ่งรูปแบบที่เข้าถึงผู้สูงวัยได้ยาก เพราะความเข้าใจผิดและกลัวว่าการคลิกดูโฆษณาเสี่ยงต่อการติดไวรัส 9 ข้อคิด เมื่ออยากให้ผู้สูงวัยช่วยแชร์คอนเทนต์ สำหรับนักคอนเทนต์มารเก็ตติ้งที่ต้องการเจาะกลุ่มเป้าหมาย Silver Age ต้องพยายามทำความเข้าใจว่าคนกลุ่มนี้ชื่นชอบคอนเทนต์ประเภทใด เนื้อหาเป็นแบบไหน รวมทั้งพฤติกรรมเกี่ยวกับการใช้งานโซเชียลมีเดีย เพื่อให้คอนเทนต์ต่างๆ ที่ครีเอทขึ้นสามารถสร้าง Engagement กับกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยเฉพาะการช่วยแชร์คอนเทนต์ไปสู่กลุ่มเพื่อนและคนรู้จักได้ โดยมี Insight ต่างๆ ที่น่าสนใจ ดังต่อไปนี้คือ 1. การเลือกรูปแบบโฆษณาที่ตรงกับความชื่นชอบของคนวัยสีเงินมากที่สุด โดย Top 5 เรียงตามลำดับ เริ่มจากโฆษณาทีวี (TVC) ซึ่งสอดคล้องกับสื่อโฆษณาที่สามารถเข้าถึงคนกลุ่มนี้ได้มากที่สุด ตามมาด้วยวิดีโอคลิป รูปภาพ บทความ และ Infographic 2. เนื้อหาที่โดนใจกลุ่ม Silver Age จะอยู่ใน 4 กลุ่มหลัก ได้แก่ 61% ชื่นชอบเนื้อหาที่มีประโยชน์ (Useful) ทั้งเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพ หรือข้อมูลที่สามารถทำให้คุณภาพชีวิตทั้งของตัวเองและคนที่เกี่ยวข้องดีขึ้น, 22% ชื่นชอบเนื้อหาในกลุ่มที่ให้ความบันเทิง (Entertain), 9% ชื่นชอบเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการเตือนให้ระวังความปลอดภัยต่างๆ (Careful) และ 8% ชอบเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการสร้างแรงบันดาลใจ (Inspiring) 3. วัยสีเงินที่นิยมแชร์คอนเทนต์ต่างๆ ในโซเชียลมีเดีย มีสัดส่วนประมาณ 65% โดยเหตุผลในการเลือกที่จะแชร์คอนเทนต์แต่ละชิ้นมาจากการมองเห็นว่าเป็นคอนเทนต์ที่มีประโยชน์เป็นสำคัญ รวมทั้งอยากจะสานความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง และต้องการที่จะแสดงความเห็นต่อเรื่องราวในคอนเทนต์นั้นๆ 4. ส่วนสาเหตุสำคัญที่ทำให้อีก 35% เลือกที่จะไม่แชร์คอนเทนต์ ส่วนใหญ่ยังต้องการความเป็นส่วนตัว ไม่อยากให้ใครรู้ว่ารู้สึกหรือชื่นชอบอะไร ตามมาด้วยไม่มีความสนใจคอนเทนต์นั้นๆ และกังวลว่าจะสร้างความรบกวนให้กับผู้อื่น 5. กลุ่มผู้สูงอายุถึงครึ่งหนึ่งที่เปิดกว้างและยอมรับที่จะมีปฎิสัมพันธ์กับแบรนด์ในระหว่างการชมคอนเทนต์ต่างๆ โดยมองว่าเป็นการรับข้อมูลใหม่ๆ ทำให้ดูได้เพลินๆ และอยากดูวิธีการเล่าเรื่องและการนำเสนอเพื่อให้เข้าใจว่าสินค้าคืออะไร ส่วนคนที่ไม่ชอบโฆษณาที่มากับคอนเทนต์เพราะมองว่าไม่มีความเกี่ยวข้องกับตัวเอง ทำให้รู้สึกรำคาญ 6.ข่าวดีสำหรับแบรนด์คือกลุ่มผู้สูงอายุถึง 66% ที่สามารถจดจำแบรนด์ได้เมื่อดูโฆษณาสินค้าต่างๆ โดยองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้สามารถจดจำแบรนด์ได้มาจากเรื่องราวหรือคอนเทนต์ที่ดึงดูดใจ ด้วยสัดส่วนถึง 64% ขณะที่ความน่าเชื่อถือและมีชื่อเสียงของแบรนด์เป็นองค์ประกอบ 21% ตามมาด้วยการใช้พรีเซ็นเตอร์มาเป็นผู้ช่วยในการสื่อสาร 15% 7. เมื่อพรีเซ็นเตอร์มีผลต่อการทำให้กลุ่มผู้สูงอายุจดจำแบรนด์ได้ การสื่อสารตลาดกับกลุ่มนี้จำเป็นต้องเลือกพรีเซ็นเตอร์ที่มีองค์ประกอบต่างๆ ตามที่คนในกลุ่มนี้ชื่นชอบ คือ เป็นผู้ที่มีความเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการนั้น 52.32% เป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง 27.81% และมีอายุน้อยกว่า 15.56% 8. ประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจคือ ผู้สูงอายุถึง 93% รู้จักว่า Search Engine คืออะไรและใช้งานอย่างไร โดย Google เป็นเครื่องมือสำหรับการสืบค้นข้อมูลที่ผู้สูงอายุรู้จัก และจะใช้เมื่อต้องการค้นหามากที่สุด ดังนั้น แบรนด์ต้องให้ความสำคัญกับการทำให้ผู้สูงอายุสามารถพบเจอได้จากการทำ SEO ต่างๆ ด้วยเช่นกัน 9. เลือกใช้กลยุทธ์เพื่อให้คอนเทนต์สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่แท้จริงได้ ซึ่งต้องมีความสอดคล้องกับพฤติกรรมรวมทั้งไลฟ์สไตล์ของคนกลุ่มนี้ พร้อมเสนอแนะกลยุทธ์ในชื่อเดียวกับกลุ่มเป้าหมาย คือ Silver Strategy ซึ่งประกอบไปด้วย S = Social เนื่องจากเป็นกลุ่มที่ชื่นชอบการใช้สื่อโซเชียลมีเดีย เพื่อใช้ในการติดต่อกับกลุ่มเพื่อนฝูง และสังคม เพื่อนำมาสู่การแลกเปลี่ยนและการแชร์สิ่งดีๆ ต่างๆ ให้แก่กัน ไม่ว่าจะเป็นการบอกต่อแบบ Face to Face หรือแบบ Screen to Screen I = Interest ต้องพยายามเข้าใจความชื่นชอบ และความสนใจของคนกลุ่มนี้อย่างลึกซึ้ง เพราะแม้ว่าจะเป็นกลุ่มคนวัยเดียวกัน แต่มีความแตกต่างกันในเรื่องของความชอบ ไลฟสไตล์ และวิถีชีวิต มุมมองแนวคิดต่างๆ ก็ไม่เหมือนกัน โดยเฉพาะคนทำคอนเทนต์ เพื่อให้คนกลุ่มนี้สนใจ ควรจะหลีกเลี่ยงคอนเทนต์ที่เป็นการเข้ามาตอกย้ำให้คนกลุ่มนี้รู้สึกว่าตัวเองเป็นคนมีอายุ หรือเป็นคนแก่นั่นเอง L = Less & More การพยายามลดคอนเทนต์ต่างๆ ให้น้อยลงและมีความกระชับ ไม่เน้นคอนเทนต์ที่ยาวหรือยืดเยื้อเกินไป เพื่อให้กลุ่มคนวัยสีเงินนี้สามารถดูโฆษณาได้จนจบคลิป โดยไม่กด Skip ส่วนคำว่า More คือ การเพิ่มขนาดของตัวอักษรให้มีขนาดใหญ่มากขึ้น เพื่อให้ง่ายต่อการอ่านและการใช้งาน V = Value ควรทำคอนเทนต์ที่สร้างคุณค่าหรือความรู้สึกเชิงบวกให้คนอ่าน ทำให้อ่านแล้วรู้สึกดี ให้ความรู้ที่เป็นประโยชน์จากข้อมูลนั้นๆ เพื่อป้องกันไม่ให้คนที่รู้สึกไม่ดีจนกลายมาเป็นภาพลบต่อแบรนด์ และทำลาย Loyalty ที่คนกลุ่มนี้มีต่อแบรนด์มาอย่างยาวนานได้ E = Easy การทำเนื้อหาให้เรียบง่าย ง่ายต่อการอ่าน และการทำความเข้าใจ ไม่ใช้ศัพท์แสลง หรือศัพท์ที่วัยรุ่นจนเกินไป เพื่อให้กลุ่มผู้สูงวัยสามารถเข้าใจเนื้อหาต่างๆ ที่ต้องการสื่อสารได้อย่างถูกต้อง R = Relavant การหาจุดที่เชื่อมกันระหว่างสิ่งที่กลุ่มวัยสีเงินต้องการ กับสิ่งที่แบรนด์ต้องการ โดยเฉพาะการทบทวนในสิ่งที่แบรนด์ได้ทำการสื่อสารออกไปนั้น ว่าตรงกับสิ่งที่ลูกค้ากำลังมองหาอยู่หรือไม่ ที่มา : brandbuffet
19 ก.ย. 2018
เทรนด์ Micro Influencer ในไทยยังแรง เมื่อยุคนี้สินค้าทุกอย่างต้องหันมาพึ่งรีวิว ไม่เว้นแม้แต่กางเกงใน
เทรนด์ Micro Influencer ในไทยยังแรง เมื่อยุคนี้สินค้าทุกอย่างต้องหันมาพึ่งรีวิว ไม่เว้นแม้แต่กางเกงใน ยังคงเป็นกลยุทธ์ที่มาแรงที่สุดของปีนี้ที่บรรดานักการตลาดและแบรนด์ต่างๆ นิยมใช้ สำหรับ Micro Influencer เพื่อเสริมความแข็งแรงและครบถ้วนให้กับภาพใหญ่ของการทำ Content Marketing และสอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งยังมีความรู้เท่าทันในกลยุทธ์และการทำตลาดจากฝั่งแบรนด์และนักการตลาด ดังนั้น เมื่อผู้บริโภคในปัจจุบันฉลาดมากขึ้น การทำตลาดเพื่อที่จะให้ผู้บริโภคในยุคนี้เชื่อถือได้ จึงต้องอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลจริงและความจริงใจในการทำตลาดจากฟากฝั่งของแบรนด์และนักการตลาดมากขึ้นด้วย เมื่อผู้บริโภคฉลาดมากขึ้น ต้องพูดกันด้วยความจริงเท่านั้น กลยุทธ์ Content Marketing ยังคงเป็นแกนหลักที่สำคัญในการทำตลาดยุคปัจจุบัน เพราะผู้บริโภคส่วนใหญ่ใช้เวลาอยู่บนโลกออนไลน์ โดยเฉพาะพฤติกรรม Mobile First ที่ทุกคนมีมีอถืออยู่ในมือ และจะใช้เป็นช่องทางแรกในการเลือกเสิร์ชหาข้อมูลต่างๆ ที่สนใจ เมื่อแบรนด์ต้องการให้ผู้บริโภคมองเห็นหรือสามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้โดยตรง จึงต้องพยายามสร้างคอนเทนต์ที่เชื่อมโยงกับแบรนด์ให้กระจายอยู่บนโลกออนไลน์ให้มากที่สุดนั่นเอง ขณะที่พัฒนาการของการทำ Content Marketing ได้เปลี่ยนรูปแบบในการสร้าง Engagement โดยเฉพาะการทำให้คอนเทนต์ได้รับความสนใจ จนเกิดเป็นกระแสพร้อมทั้งมี Like & Share จากช่วงเริ่มต้นที่เน้นสร้าง Viral Clip ซึ่งยังเป็นเรื่องแปลกใหม่ในสังคมไทย ทำให้คนสนใจและพูดถึงในวงกว้าง ต่อมาก็จะพยายามให้คนที่มีชื่อเสียงหรือมีฐานแฟนคลับมากมาพูดถึงแบรนด์หรือเป็นผู้นำเสนอสินค้าต่างๆ ซึ่งก็ต้องยอมรับว่าสามารถส่งผลต่อคนกลุ่มหนึ่งที่ชื่นชอบและติดตาม จนทำให้โน้มน้าวมาสู่การซื้อได้ในระดับหนึ่ง แต่ในยุคปัจจุบันเมื่อคนเข้าใจเรื่องของการตลาดมากขึ้น ข้อมูลจากฟากฝั่งของแบรนด์หรือการใช้ Power Influencer ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นเหล่าเซเลบริตี้ กูรูหรือบล็อกเกอร์ต่างๆ อาจจะมีอิทธิพลแค่ในมิติของการสร้างรับรู้ แต่ไม่สามารถสร้างความเชื่อมั่นหรือยอมรับจากผู้บริโภคได้เหมือนเดิมอีกต่อไปแล้ว ปัจจุบันการใช้ Influencer ในเมืองไทย แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ Celebrity, Power Influencer, Peer Influencer และ Micro Influencer หรือกลุ่มผู้ใช้งานจริง ซึ่งทั้ง 4 กลุ่มนี้จะทำหน้าที่แตกต่างกันไป หากนักการตลาดที่ต้องการสร้างการรับรู้แบรนด์ควรเลือกใช้ Celebrity หรือคนดัง เพราะจะสามารถเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคได้กว้างที่สุด แต่หากต้องการสร้างคอนเทนต์ให้มีความน่าเชื่อถือควรทำผ่าน Micro Influencer เพื่อให้ได้คอนเทนต์จากประสบการณ์จริงในการใช้ผลิตภัณฑ์ เมื่อลองใช้แล้วดีก็จะบอกต่อผ่านช่องทางของตัวเองในลักษณะเหมือนกับการบอกแบบปากต่อปากหรือเพื่อนบอกเพื่อน โดยมีสิ่งหนึ่งที่น่าสังเกตุก็คือ จำนวน Followers ที่แม้จะเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับความสามารถในการสร้าง Awareness หรือ Reach แต่กลับสวนทางกันอย่างสิ้นเชิงกับระดับความสามารถในการสร้าง Trust จากผู้บริโภค สอดคล้องกับข้อมูลจาก theshelf.com ในหัวข้อ Influencer Marketing is the New King of Content(2015) ให้รายละเอียดเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้บริโภคจากต่างประเทศที่มีต่อการเสพสื่อเปลี่ยนไป โดยระบุว่า 20% ของผู้บริโภคผู้หญิงยังคงเชื่อการโปรโมตของ Blogger อยู่ 35% ของผู้บริโภคอ่านบทความจากบล็อคเพื่อหาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ 47% ของผู้บริโภคอ่านบทความจากบล็อกเพื่อหาเทรนด์หรือไอเดียใหม่ๆ 70% ของผู้บริโภคเลือกเชื่อบทความรีวิวออนไลน์เป็นตัวเลือกที่ 2 แต่ที่น่าสนใจที่สุด คือ ข้อมูลที่ระบุว่า 92% ของผู้บริโภคเลือกที่จะเชื่อการแนะนำของใครก็ได้ที่ไม่ได้เป็นคนของแบรนด์หรือไม่มีความเกี่ยวข้องกับแบรนด์ คุณอนุพงศ์ จันทร กรรมการผู้จัดการ แพลตฟอร์ม “เรวู” (revu) บริษัท วายดีเอ็ม (ไทยแลนด์) จำกัด คุณอนุพงศ์ จันทร กรรมการผู้จัดการ แพลตฟอร์ม “เรวู” (revu) บริษัท วายดีเอ็ม (ไทยแลนด์) จำกัด ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า สิ่งที่ผู้บริโภคมองหาเกี่ยวกับแบรนด์หรือสินค้าในปัจจุบัน คือ ข้อมูลที่ได้จากคนที่เคยใช้งานจริง มากกว่าข้อมูลจากฝั่งของแบรนด์หรือกลุ่ม Power Influencer ที่บทบาทในปัจจุบันคือการเป็น Media ที่สร้าง Awareness หรือ Reach ให้กับผลิตภัณฑ์เท่านั้น แต่ความเชื่อมั่นหรือการยอมรับจนนำมาสู่การตัดสินใจซื้อ จะเป็นหน้าที่ของกลุ่ม Micro Influencer หรือกลุ่มคนธรรมดาทั่วไปที่จะเป็นผู้บอกเล่าประสิทธิภาพ หรือ Feedback จากการทดลองใช้งานจริงด้วยตัวเอง ทำให้ปี 2018 นี้ เป็นปีทองของการใช้ Micro Influencer มาเป็นเครื่องมือสำคัญในการทำตลาดของบรรดานักการตลาดและแบรนด์ต่างๆ “การใช้ Influencer เป็นสิ่งที่นักการตลาดให้ความสำคัญเพิ่มมากขึ้น ขณะที่แบรนด์ส่วนใหญ่จัดสรรงบประมาณสำหรับการทำออนไลน์ โดยเฉพาะในส่วนของการใช้ Influencer เพื่อซัพพอร์ตการทำ Content Marketing ประมาณ 70% ขณะที่เริ่มมองเห็นแนวโน้มที่มีบางแบรนด์เลือกใช้เพียง Influencer เป็นเครื่องมือเดียวในการทำตลาดเพิ่มมากขึ้น แต่ขณะเดียวกันยังคงมีความเข้าใจผิดในกลุ่มนักการตลาดจำนวนหนึ่งเกี่ยวกับจุดประสงค์ในการใช้ Influencer โดยเฉพาะในกลุ่ม Micro Influencer ที่มีหน้าที่สำคัญในมิติของการให้ข้อมูลเพื่อสนับสนุนในช่วงเวลาระหว่างการตัดสินใจซื้อของลูกค้า แล้วมาหาข้อมูลเพิ่มเติมจากการรีวิวต่างๆ ไม่ใช่จุดประสงค์ในการสร้างการรับรู้หรือเพิ่มการเข้าถึงกลุ่มลูกค้า ที่กลุ่มเซเลบริตี้ หรือการทำตลาดในภาพของ Mass ยังให้ประสิทธิภาพที่สูงกว่า” เทรนด์ขยายตัว สินค้ารีวิวหลากหลายไปจนถึงกางเกงใน การใช้ Micro Influencer ของบรรดานักกการตลาด ยังสอดคล้องกับพฤติกรรมในการค้นหาข้อมูลของลูกค้า ที่ปัจจุบันจะทำการค้นหาข้อมูลของสินค้าที่ต้องการอย่างน้อย 3 ครั้ง โดยครั้งแรกจะเป็นการหาข้อมูลจากแบรนด์ เพื่อดูข้อมูลผลิตภัณฑ์ในเบื้องต้นที่เป็น Fact ต่างๆ ต่อมาในระดับที่ 2 จะเป็นการหาข้อมูลเชิงลึกจากกลุ่มบล็อกเกอร์หรือกูรูต่างๆ ที่จะให้รายละเอียดเพิ่มเติมที่แบรนด์อาจจะพูดไม่ได้ และสุดท้ายจะลงลึกมาหาข้อมูลผ่านคนที่เคยใช้งานจริง เพื่อดู Feedback ว่าสินค้านั้นๆ ดีหรือไม่อย่างไร ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญในการใช้ประกอบการตัดสินใจซื้อ โดยที่บทบาทของเหล่า Micro Influencer ก็จะเข้ามามีความสำคัญในส่วนนี้นั่นเอง ขณะที่การเติบโตของการใช้ Micro Influencer สะท้อนได้จากจำนวนแพลตฟอร์มในการบริหารจัดการเกี่ยวกับ Micro Influencer ที่เติบโตและมีแพลตฟอร์มใหม่ๆ เกิดขึ้นจำนวนมาก โดยเพียงรอบปีที่ผ่านมามีแพลตฟอร์มใหม่อย่างน้อย 4-5 แพลตฟอร์มที่เกิดเพิ่มขึ้น หรือแม้แต่การเติบโตของเรวูเอง ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่ดำเนินงานเกี่ยวกับ Micro Influencer โดยเฉพาะ ก็สามารถสร้างการเติบโตได้ต่อเนื่อง ทั้งจำนวนรายได้ที่เข้ามารวมทั้งจำนวนนักรีวิว โดยปัจจุบันมีจำนวนนักรีวิวบนแพลตฟอร์มากกว่า 8,500 คน เพิ่มขึ้นจาก 6,000 คนในปีที่ผ่านมา หรือจำนวนแคมเปญที่เข้ามาใช้บริการในปีที่ผ่านมามากกว่า 2,000 แคมเปญ สร้างจำนวนชิ้นงานรีวิวได้มากกว่า 12,000 รีวิว “ที่สำคัญยังเห็นความหลากหลายในหมวดสินค้าที่เข้ามาใช้บริการในการรีวิวเพิ่มมากขึ้น โดยสินค้าที่เป็นที่นิยมในการรีวิวจากภาพรวมส่วนใหญ่ 50% จะเป็นกลุ่มบิวตี้ 30% จะเป็นกลุ่มร้านอาหารต่างๆ ส่วนที่เหลือก็จะมาจากหลายๆ กลุ่ม ทั้งสินค้าไอที หรือกลุ่มอื่นๆ ส่วนสินค้าที่นิยมมาใช้บริการบนแพลตฟอร์มเรวู กลุ่มใหญ่ยังคงเป็นสินค้าบิวตี้ที่มีสัดส่วนมากกว่า 70% ขณะที่กลุ่มสินค้าไอที แก็ตเจ็ตมีสัดส่วน 10% ที่เหลือก็จะมาจากหลากหลายกลุ่มไม่ว่าจะเป็นเครื่องใช้ภายในบ้าน เครื่องครัว หรือสินค้าไลฟ์สไตล์ต่างๆ โดยเฉพาะสินค้าแปลกๆ ใหม่ๆ ที่เพิ่มเติมเข้ามาในปีนี้ และค่อนข้างสร้างความแปลกใจให้กับทีมงานเพราะไม่คิดว่าจะนำมารีวิวได้มาก่อนไม่ว่าจะเป็นน้ำยาล้างห้องน้ำ ลู่วิ่งไฟฟ้า รองเท้าแตะ ประกันภัยสำหรับนักเดินทาง รวมทั้งกางเกงชั้นในชาย ก็เป็นอีกหนึ่งสินค้าใหม่ที่หันมาใช้กลยุทธ์ในการรีวิวเพิ่มเติมในปีนี้เช่นกัน” นอกจากกลุ่มสินค้าที่มีเข้ามาอย่างหลากหลายมากขึ้น อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้การทำรีวิวขยายตัว ยังมาจากความเข้าใจในการทำรีวิวเพิ่มมากขึ้น ทั้งจากฝั่งของแบรนด์และผู้บริโภค จากการ Educated บทบาทและความสำคัญในการใช้กลยุทธ์นี้ รวมทั้งทักษะในการเขียนงานที่มีคุณภาพของนักรีวิวคนไทย ที่สามารถให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคได้อย่างครบถ้วน สังเกตได้จากจำนวนชิ้นงานที่ส่งผ่านแพลตฟอร์มเรวูที่ก่อนหน้านี้มักจะมียอดสูญเสียจากการไม่ส่งงาน ซึ่งสาเหตุหลักมาจากการที่ผู้รีวิวไม่สามารถเขียนได้อยู่ที่ประมาณ 5% แต่ในปัจจุบันลดน้อยลงไปกว่าเดิมเหลืออยู่เพียงแค่ราว 3% เท่านั้น Set Standard เพื่อรักษา Trust จากผู้บริโภค จุดเด่นของการใช้ Micro Influencer คือ การสร้าง trust กับผู้บริโภคได้ในระดับสูง แต่เพราะเป็นเครื่องมือที่นักการตลาดและแบรนด์ต้องการเพิ่มมากขึ้น ทำให้เริ่มมีเรื่องในเชิงพาณิชย์เข้ามาเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะการให้ค่าตอบแทนจากการเขียนรีวิวทำให้ต้องยอมรับว่ามีคนกลุ่มหนึ่งที่เข้ามาทำการรีวิวเพราะต้องการรายได้ โดยที่ยังไม่สามารถเขียนงานได้อย่างมีคุณภาพ และเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่จะทำลายจุดแข็งสำคัญของการรีวิวนั่นก็คือ ทำให้ Trust ที่เคยได้จากผู้บริโภคอาจถูกทำลายลงในอนาคต เพราะเป็นการเขียนภายใต้การมีค่าตอบแทนอาจทำให้ไม่สามารถเขียนได้อย่างตรงไปตรงมา ที่สำคัญการจ่ายเงินให้แก่กลุ่มนักรีวิวหน้าใหม่ แสดงถึงความไม่เข้าใจบทบาทของ Micro Influencer อย่างแท้จริง เพราะการใช้เครื่องมือนี้ไม่ได้ใช้ในฐานะมีเดีย เนื่องจากไม่สามารถสร้าง Awareness หรือ Reach ได้ แม้จะใช้เป็นจำนวนมากก็ตาม จึงจำเป็นต้องเน้นการพัฒนาทักษะในการเขียนให้ตอบโจทย์ลูกค้าที่เป็นแบรนด์หรือเอเยนซี่ต่างๆ ที่ต้องการงานเขียนที่มีคุณภาพ และมี KPI จากการวัดจำนวน Page View หรือ Unique Visitor ที่สะท้อนถึงการที่มีคนเข้ามาอ่านจริงๆ มากกว่าการวัดผลโดยดูจากยอด Social Engagement เหมือนกับการทำ Online Marketing อื่นๆ “หนึ่งสิ่งที่เรวูให้ความสำคัญคือ การพัฒนาให้คนที่อยากเป็นนักรีวิวตัวจริงค่อยๆ เติบโตอย่างมีคุณภาพ และสามารถสร้างรายได้หลังจากได้รับพิสูจน์คุณภาพจนสามารถขยับไปสู่การเป็น Power Influencer ในระดับที่ขยับสูงขึ้น ขณะที่เรวูก็จะเพิ่มนักรีวิวในกลุ่ม Micro Influencer เข้ามาเติมในระบบอย่างต่อเนื่อง ซึ่งถึงแม้จะไม่มีค่าตอบแทนจากการเขียน แต่จะมีทีมในการให้คำปรึกษาสำหรับผู้ต้องการเป็นนักรีวิวทั้งเรื่องของการเขียน การถ่ายรูป การทำบล็อกส่วนตัว เพื่อพัฒนาทั้ง Ecosystem ของ Influencer โดยภาพรวมให้พัฒนามากขึ้น และยังคงเป็นเครื่องมือที่สามารถสร้าง Trust จากผู้บริโภคได้ในระดับที่สูงอยู่เช่นเดิม” ที่สำคัญในอนาคต เมื่อคุณภาพในการทำ Content ของบรรดานักรีวิวขยับสูงมากขึ้น อาจจะทำให้มีผลต่อการสร้าง Conversion Rate หรือความสามารถในการเทิร์นจากจำนวนของผู้เข้ามาอ่านรีวิวไปสู่การสร้างยอดขายได้เพิ่มมากขึ้น จากปัจจุบันความเชื่อมโยงในจุดนี้ยังไม่มากนัก เพราะการที่ลูกค้าจะเข้ามาอ่านรีวิวได้ ต้องเสิร์ชเข้ามาในระดับที่ยังค่อนข้างลึกอยู่ โดยกลุ่มคนที่จะเข้ามาในระดับนี้ก็จะมีความสนใจหรือมีความต้องการซื้อเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว การให้ข้อมูลที่มีคุณภาพจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่ต้องคำนึงถึง ขณะที่กลุ่ม Influencer อื่นๆ ก็ยังมีความสำคัญ เพราะต่างมีบทบาทที่แตกต่างกันไป และผู้บริโภคก็ยังเข้ามาอ่านเพื่อหาข้อมูลตาม State ของการตัดสินใจหรือความต้องการข้อมูลในแต่ละระดับ โดยปัจจุบันจำนวน Influencer ในประเทศไทยในทุกระดับมีไม่ต่ำกว่า 10 ล้านคน และมีแนวโน้มที่คนทั่วไปให้ความสนใจและอยากเข้ามาเขียนรีวิวเพื่อถ่ายทอดความรู้สึกต่อผลิตภัณฑ์ต่างๆ ในฐานะมุมมองผู้บริโภคคนหนึ่งเพิ่มมากขึ้น ส่วนการเติบโตของเรวู คาดว่าจะเติบโตได้ต่อเนื่องโดยสามารถทำรายได้สิ้นปีนี้ที่ราว 30 ล้านบาท และสามารถเติบโตเพิ่มขึ้นได้อีกราว 40% ขณะที่จะมีจำนวนลูกค้าเพิ่มขึ้นอีกไม่ต่ำกว่า 200 ราย จากปัจจุบันมีอยู่ราว 300 ราย และรักษากลุ่มลูกค้าที่ใช้บริการซ้ำ (Existing) ไว้ได้ไม่ต่ำกว่า 200 รายเช่นเดียวกัน ส่วนจำนวนนักรีวิวในแพลตฟอร์มคาดว่าจะเพิ่มขึ้นได้ถึง 12,000 คน และเพิ่มเป็นไม่ต่ำกว่า 20,000 คนในปีต่อไป โดยเฉพาะกลุ่มที่เป็น Super Quality ที่สามารถเขียนได้ครบถ้วนตามโจทย์ที่กำหนด และถ่ายภาพออกมาได้สวย ก็คาดว่าจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน จากปัจจุบันมีอยู่ 1,000 คน ส่วนจำนวนแคมเปญที่จะเพิ่มขึ้นในปีนี่้คาดว่าจะมีไม่ต่ำกว่า 2,500 แคมเปญ และจะขยับเป็นไม่ต่ำกว่า 3,500 แคมเปญในปีต่อไป อีกหนึ่งมุมมองของผู้บริหารจากเรวูคือ เชื่อว่าการใช้ Micro Influencer จะยังมีแนวโน้มเติบโตได้ต่อเนื่อง เพราะกลยุทธ์นี้ไม่ใช่เทรนด์ทางการตลาดที่เป็นเพียงกระแสแบบมาเร็วไปเร็ว แต่ถือเป็นหนึ่งในพฤติกรรมของคนไทยอยู่แล้วที่นิยมบอกข้อมูลต่อในสิ่งที่ตัวเองเคยมีประสบการณ์ให้กับคนใกล้ชิดหรือเพื่อนฝูงได้รับฟัง ที่มา : brandbuffet
17 ก.ย. 2018
ลืมมันไปซะ 4 ความเชื่อผิดๆของ ‘นักการตลาด’ ยุคดิจิทัล
ลืมมันไปซะ 4 ความเชื่อผิดๆของ ‘นักการตลาด’ ยุคดิจิทัล ดันน์ฮัมบี้ ประเทศไทย (Dunnhumby Thailand) บริษัทวิจัยด้านการตลาดและสื่อโฆษณา เปิดเผยผลงานวิจัยที่วิเคราะห์บิ๊กดาต้าของการทำธุรกรรมการซื้อสินค้ามากกว่า 600 ล้านครั้งของลูกค้ากว่า 3 ล้านคนทั่วโลกใน 5 ปีที่ผ่านมา พื่อให้นักการตลาดและแบรนด์นำไปประกอบการตัดสินใจวางแผนกลยุทธ์การตลาดได้อย่างถูกต้องแม่นยำ Brand Buffet สรุป 4 ความเชื่อผิดๆ ‘นักการตลาด’ ยุคดิจิทัล 1.การเพิ่มยอดขายที่ดีที่สุด คือ การทำ Mass marketing เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายจำนวนมากๆ จากการศึกษาล่าสุดพบว่าการสร้างและเข้าใจกลุ่มลูกค้าตามเซกเมนท์เทชั่น (Segmentation) รวมถึงการสร้างคอนเทนท์ที่แตกต่างกันในแต่ละกลุ่ม สามารถกำหนดช่องทางการสื่อสารต่อลูกค้าได้มีประสิทธิภาพสูงสุด ตัวอย่างเช่น การส่งข้อความผ่าน เพอเซอร์นอล เมลลิ่ง (Personalised mailing) พร้อมกับคูปอง สามารถสร้างอัตราการใช้คูปองโดยเฉลี่ยมากกว่า 5-30% แต่ถ้าทำแคมเปญจน์ร่วมกันกับโปรแกรมเมติค (Programmatic) ผ่านช่องทางออนไลน์อัตราการใช้คูปองจะดีมากขึ้น 42% แต่ถ้ารวมถึงการทำแคมเปญ ณ จุดขายจะให้เพิ่มอัตราการเข้าถึงลูกค้าได้มากใกล้เคียงกับการทำ Mass marketing และอัตราการใช้คูปองดีมากขึ้นกว่า 50% นี่คือรูปแบบใหม่ของการสื่อสารผ่าน Targeted mass marketing ที่ผสานช่องทางสื่อสารแบบออนไลน์เข้ากับออฟไลน์ (Integration of online and offline platform) 2.การเพิ่มยอดขาย เกิดจากลูกค้ากลุ่มใหม่เท่านั้น อยากได้ยอดขายเพิ่มใหม่ต้องหาจากลูกค้ากลุ่มใหม่? จากข้อมูลพบว่า ลูกค้าเดิมประเภท Loyal Customer จำนวน 20% (Top 20%) สามารถสร้างยอดขายโดยเฉลี่ยได้ 70-80% ไม่ว่าจะเป็นสินค้ากลุ่มใดๆก็ตาม หากเป็นแบรนด์ยิ่งเล็กกลุ่มลูกค้า Top 20% ยิ่งสามารถสร้างยอดขายได้มากกว่า 70-80% เสียอีก และ 73% ยอดขายที่เพิ่มขึ้น (Incremental Sale) เกิดจากฐานลูกค้าเดิม ดังนั้นแม้ว่าจะหาลูกค้าใหม่ๆแล้วจึงต้องให้ความสำคัญกับกลุ่มลูกค้า Loyal Customer ไว้ให้อย่างมาก เพราะบางแบรนด์ที่ยอดตก เกิดจากกลุ่ม Top20% กับ กลุ่ม Retented Shopper หายไป 3.ลูกค้าซื้อของแล้วก็จบแล้ว ไม่ต้องทำการตลาดใดกับเค้าอะไรอีก หลังจากผู้บริโภคซื้อสินค้าไปแล้ว 9 สัปดาห์จะมีการย้ายแบรนด์ เพื่อจะทดลองดูแบรนด์ใหม่ๆ และจำนวนเกือบครึ่งนึงเปลี่ยนแบรนด์โดยสมบูรณ์ เพราะฉะนั้นถ้าเราไม่ทำการตลาดใดๆหรือสื่อสารใดๆเลย แบรนด์จะเสียผู้บริโภค(ลูกค้า)ไป 25% ต่อปีอย่างอัตโนมัติ 4.ไม่ต้องสนใจ brand loyalty เพราะมันไม่มีอีกแล้ว จากงานวิจัย Retention Rate อัตรายังคงอยู่ในการซื้อสินค้านั้นๆหลังจากครั้งแรกที่ซื้อ โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 50% เช่นเดียวกับกลุ่มลูกค้า Top 20% แม้ว่าจะเป็นลูกค้า Loyalty ก็มีแนวโน้มเปลี่ยนแบรนด์ถึง 50% ถ้าแบรนด์ไม่ทำอะไรเลยภายใน 1 ปี ดังนั้นต้องสร้างกิจกรรมทางการตลาด สร้าง Engagement ให้กลุ่มนี้อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ยังคงสถานะเป็นลูกค้า Loyalty ที่มา : brandbuffet
10 ก.ย. 2018
เปิดพฤติกรรมออนไลน์ 2018 คนไทยใช้เน็ตเพิ่ม 3 เท่า Baby Boomer พีคสุดวันละ 8-12 ชั่วโมง
เปิดพฤติกรรมออนไลน์ 2018 คนไทยใช้เน็ตเพิ่ม 3 เท่า Baby Boomer พีคสุดวันละ 8-12 ชั่วโมง ผลสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยปี 2561 โดย ETDA สามารถระบุได้ว่า ประเทศไทยขยับสู่สังคมดิจิทัลเต็มรูปแบบแล้ว เมื่อค่าเฉลี่ยการใช้งานอินเตอร์เน็ตคนไทยหนักหน่วงมากยิ่งขึ้น มีการเติบโตเพิ่มขึ้นมากกว่าปีที่ผ่านมาถึง 3 เท่าตัว และไม่ว่าจะอยู่ในช่วงอายุเท่าใด Generation ไหนก็มีชั่วโมงการใช้งานต่อวันไม่ต่ำกว่า 8 ชั่วโมงทั้งสิ้น รวมไปถึงรูปแบบในการใช้งานที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะการใช้งานโซเชียลมีเดีย ซื้อขายสินค้าและบริการ จองโรงแรม เรียกแท็กซี่ หรืออ่านหนังสือออนไลน์ จากที่ช่วง 2-3 ปีก่อนหน้านี้ การใช้งานจะอยู่ในกลุ่มเพื่อการ Entertain เป็นส่วนใหญ่ สะท้อนได้ว่าคนไทยกำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านไปสู่ความเป็น Digital Lifestyle อย่างสมบูรณ์ คนไทยใช้เน็ตหนักหน่วงเฉลี่ยมากกว่า 10 ชั่วโมง คุณสุรางคณา วายุภาพ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (สพธอ.) หรือ ETDA กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เปิดเผยผลสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตประเทศไทยปี 2561 ในงาน ETDA สู่ปีที่ 8 “Future Economy and Internet Governance: Big Change to Big Chance” พบว่า พฤติกรรมการใช้งานอินเทอร์เน็ตยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยคนไทยใช้อินเทอร์เน็ตเฉลี่ยนานขึ้นเป็น 10 ชั่วโมง 5 นาทีต่อวัน จากปีที่ผ่านมามีชั่วโมงการใช้งานเฉลี่ย 3 ชั่วโมง 41 นาทีต่อวัน โดยกลุ่ม Gen Y และ Z หรือกลุ่มคนที่มีอายุน้อยกว่า 18 ปี ไปจนถึง 37 ปี ครองแชมป์การใช้งานอินเทอร์เน็ตสูงที่สุดติดต่อกันเป็นปีที่ 4 แล้ว โดยมีการใช้งานสูงถึง 10 ชั่วโมง 22 นาที ในวันธรรมดา และเพิ่มเป็นเกือบ 12 ชั่วโมงในวันหยุด ซึ่งในขณะเดียวก็พบว่า แม้แต่กลุ่ม Gen X หรือ Baby Boomer ก็ใช้งานอินเตอร์เน็ตมากกว่า 8 ชั่วโมงทั้งในวันธรรมดาและวันหยุด “ปีนี้คนไทยใช้งานอินเตอร์เน็ตหนักหน่วงมากขึ้น และยังมีการใช้งานไปในรูปแบบที่หลากหลายยิ่งขึ้นด้วย โดยความนิยมในการใช้งานส่วนใหญ่ยังเป็นการใช้งานโซเชียลมีเดีย อาทิ Facebook, Instagram, Twitter และ Pantip สูงมากถึง 3 ชม. 30 นาทีต่อวัน หรือเท่ากับ 1 ใน 3 ของชั่วโมงการใช้งานอินเตอร์เน็ตในแต่ละวัน หรือมีปริมาณการใช้งานกว่า 93% ของการใช้งานอินเตอร์โดยรวมเลยทีเดียว นอกจากนี้ยังเป็นปีแรกที่การซื้อสินค้าและบริการผ่านออนไลน์ เข้ามาติดอันดับใน TOP 5 ของกิจกรรมที่คนไทยนิยมทำผ่านออนไลน์ โดยมีจำนวนการใช้งานสูงถึง 51% รวมทั้งยังมีกิจกรรมที่หลากหลายมากกว่าปีทีผ่านๆ มา ทั้งการทำธุรกรรมทางการเงิน การอ่านหนังสือออนไลน์ จองโรงแรม จองตั๋ว เรียกแท็กซี่ บริการสั่งอาหาร รวมทั้งเรียนออนไลน์ต่างๆ แสดงว่าประเทศไทยเริ่มเข้าสู่สังคมดิจิทัลอย่างสมบูรณ์ ขณะที่ไลฟ์สไตล์ในชีวิตประจำวันของผู้คนก็เริ่มเปลี่ยนผ่านไปสู่ความเป็นดิจิทัลมากยิ่งขึ้น” ทั้งนี้ หากโฟกัสการเติบโตเฉพาะการซื้อสินค้าและบริการผ่านออนไลน์ พบว่า เติบโตจากปีก่อนหน้าที่มีการใช้งานราว 50% หรือเพิ่มขึ้นจากเดิม 1% ซึ่งอาจจะดูว่าเป็นตัวเลขไม่มาก แต่หากเทียบกับฐานจากจำนวนประชากรทั้งประเทศ ก็ถือว่าเป็นตัวเลขที่น่าสนใจ และสะท้อนถึงความสำเร็จในการผลักดันการเติบโตในธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ซึ่งเป็นหนึ่งในภารกิจสำคัญของ ETDA คือ การผลักดันให้มีการขยายตัวของการซื้อสินค้าและบริการต่างๆ เพิ่มมากยิ่งขึ้น ขณะที่ในฟากของผู้ขายมีการเติบโตในปีนี้เพิ่มสูงถึง 24.48% มากกว่าปีก่อนหน้าที่เติบโต 13.7% ซึ่งเป็นกิจกรรมที่มีการเติบโตสูงเป็นอันดับ 2 รองจากการอ่านหนังสือออนไลน์ที่เติบโตได้มากถึง 48.27% 5 พฤติกรรมเสี่ยง ถูกล้วงข้อมูลส่วนตัว ผลสำรวจในครั้งนี้ ยังพบว่ามีหลากหลายกิจกรรมที่คนไทยยังมีความสุ่มเสี่ยงในการถูกละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล จากพฤติกรรมดังนี้ 1. ไม่เปลี่ยนรหัสผ่านทุก ๆ 3 เดือน 45.34% 2. การให้วันเดือนปีเกิดที่แท้จริงผ่านสื่อสังคมออนไลน์ 45.04% 3. เมื่อทำธุรกรรมทางการเงินผ่านเว็บไซต์ธนาคารก็ละเลยที่จะสังเกตว่าเป็นเว็บไซต์ที่ขึ้นต้นด้วย https:// หรือไม่ 44.48% 4. เปิดอีเมล/คลิกลิงก์ที่ไม่รู้จัก 43.36% 5. อัปโหลดรูปถ่าย/วิดีโอทันทีหลังถ่ายผ่านสื่อสังคมออนไลน์ 35.70% สำหรับกลุ่ม Baby Boomer นับเป็นกลุ่มที่น่ากังวลมากที่สุด เช่น เมื่อทำธุรกรรมทางการเงินผ่านเว็บไซต์ธนาคารก็จะละเลยที่จะสังเกตว่าเป็นเว็บไซต์ที่ขึ้นต้นด้วย https:// หรือไม่ 55.94% และเมื่อสิ้นสุดการใช้งานคอมพิวเตอร์สาธารณะ/อุปกรณ์เคลื่อนที่ของผู้อื่นก็ไม่ลบประวัติการใช้งาน 46.96% หรือไม่ลงชื่อออกจากการใช้งานจากเครื่องดังกล่าว 26.14% รวมถึงการที่ไม่ได้ล็อกหน้าจออัตโนมัติ 29.71% ขณะที่ Gen Z จะมีความสุ่มเสี่ยงในเรื่องของการให้วันเดือนปีเกิดที่แท้จริงผ่านสื่อสังคมออนไลน์ 55.97% การไม่เปลี่ยนรหัสผ่านทุกๆ 3 เดือน 53.73% หรือเปิดอีเมล/คลิกลิงก์ที่ไม่รู้จัก 51.49% รวมทั้งเมื่อใช้งานคอมพิวเตอร์สาธารณะ/อุปกรณ์เคลื่อนที่ของผู้อื่นมักตั้งค่าให้อุปกรณ์ดังกล่าวจดจำรหัสผ่าน เพื่อจะได้ไม่ต้องพิมพ์ใหม่ทุกครั้ง 28.36% และคลิกลิงก์ของธนาคารที่ได้จากแหล่งอื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของธนาคารโดยตรง 16.42% ส่วน Gen Y มักจะชอบทำกิจกรรมเสี่ยงผ่านสื่อสังคมออนไลน์ โดยตั้งค่าเป็นสาธารณะ เช่น การอัปโหลดรูปถ่าย/วิดีโอทันทีหลังถ่าย 37.90% รวมทั้งการอัพโหลดภาพตั๋วเครื่องบิน/Boarding pass ก่อนการเดินทาง 33.77% และการแชร์ตำแหน่ง (Location) แบบ Real time 13.57% ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ถือเป็นการสร้างความไม่ปลอดภัยให้กับเจ้าของข้อมูล ดังนั้นจึงควรตั้งค่าดังกล่าวเป็นส่วนตัว เปิดให้เฉพาะเพื่อน หรือญาติพี่น้อง หรือคนที่ไว้ใจได้เท่านั้น ที่มา : brandbuffet
06 ก.ย. 2018
ชำแหละ! สถานกาณ์ค้าปลีกระดับโลก แล้วสะท้อนค้าปลีกไทยได้อย่างไรบ้าง?
ชำแหละ! สถานกาณ์ค้าปลีกระดับโลก แล้วสะท้อนค้าปลีกไทยได้อย่างไรบ้าง? มาดูสถานการณ์ธุรกิจค้าปลีกระดับโลกที่ยังมีการเติบโตเฉลี่ย 3.8% ในขณะที่ค้าปลีกออนไลน์โต 23% สะท้อนกลับมาที่ประเทศไทยที่มีการเติบโตต่ำที่สุดในอาเซียน มาจากปัจจัยอะไรบ้าง? สถานการณ์ค้าปลีกระดับโลก ภาพรวมรวมธุรกิจค้าปลีกโลกจากการศึกษา Global Power of Retailing 2018 Deloitte Touche Tohmatsu พบว่าในปี 2016 มีรายได้ 19.7 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ และคาดว่าน่าจะมีรายได้ถึง 22.8 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2018 เป็นการเติบโตเฉลี่ยราว 3.8% มูลค่าค้าปลีกคิดเป็นสัดส่วนราว 31% ของมูลค่า GDP โลก และก่อให้เกิดการจ้างงานเป็นพันล้านคนทั่วโลก ค้าปลีกรูปแบบ Hypermart และ Supermarket ยังครองสัดส่วนถึง 35% ของค้าปลีกโดยรวม โดยมีประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำในฝั่งทวีปอเมริกาและยุโรป และประเทศจีนเป็นผู้นำในฝั่งเอเชียแปซิฟิค ค้าปลีกออนไลน์โดยรวมเติบโตเฉลี่ยถึง 23% ในช่วงปี 2012-2019 โดยคาดว่า ในปี 2019 ค้าปลีกออนไลน์ น่าจะมีสัดส่วนถึง 12% ค้าปลีกโดยรวม การเปลี่ยนแปลง Top 10 ค้าปลีกโลกระหว่างปี 2010 ถึง 2016 จากตารางจะเห็นว่า Wal-Mart ยังคงแข็งแกร่งครองอันดับหนึ่งมาตลอดกว่า 20 ปี แต่เมื่อพิจารณาอันดับเปรียบเทียบปี 2001 กับปี 2016 จะพบว่ามีห้างค้าปลีกเพียง 4 ห้างที่ติดอันดับ Top 10 ในปี 2001 ยังคงรักษาสถานะ Top 10 ในปี 2016 ไว้ได้ Amazon ซึ่งเป็นค้าปลีกออนไลน์เจ้าเดียวที่ทะยานจากอันดับที่ 157 ในปี 2001 มาติดอยู่อันดับ 6 ในปี 2016 ขณะเดียวกับค้าปลีกรูปแบบใหม่ที่กำลังมาแรงอย่าง Hard Discount และ Drug Store ก็ติดอันดับเข้ามาถึง 4 ห้างด้วยกัน ตารางนี้เป็นตารางแสดง Top 20 ค้าปลีกโลกในปี 2016 ซึ่งก็น่าสังเกตว่ามีห้างจากประเทศญี่ปุ่นติดอันดับ Top 20 ด้วยถึง 2 ห้างคือ ห้าง Aoen อันดับที่ 12 และห้าง Seven & I อันดับที่ 20 ค้าปลีกระดับอาเชียนเป็นอย่างไร? ขณะที่มูลค่าค้าปลีกโลกจาก Global Power of Retailing 2018 โดย Deloitte Touche Tohmatsuคาดว่าน่าจะมีรายได้ราว 22.8 ล้านล้านเหรียญสหรัฐในปี 2018 มูลค้าค้าปลีกอาเชียน 10 ประเทศรวมกันประมาณการณ์มีน่าจะมีรายได้ราว 1.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ (Economist Intelligence Unit, Figures for 2014 onwards are forecasts. Prior years are actuals or estimates.) โดยมูลค่าการบริโภคค้าปลีกไทย น่าจะราว 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อพิจารณาอัตราการเติบโตในช่วงปี 2011-2018 พบว่าอุตสาหกรรมค้าปลีกประเทศเวียดนาม มีอัตราการเติบโตสูงสุดถึง 12.7% ตามด้วยประเทศอินโดนีเซีย 9.4% ประเทศมาเลเซีย 9.2% และประเทศฟิลิปปินส์ 8.2% ตามลำดับ ส่วนที่มีการเติบโตที่ต่ำสุดก็เป็นอุตสาหกรรมค้าปลีกไทยซึ่งเติบโตเฉลี่ยเพียง 3.9% อุตสาหกรรมค้าปลีกไทยเติบโตเฉลี่ยเพียง 3.9% เพราะอะไร? ทศวรรษนี้เมื่อพูดถึงการเดินทางและการท่องเที่ยว ปัจจัยการตัดสินใจพิจารณาเลือกสถานที่เดินทางได้เปลี่ยนไปจากเดิมไปมาก การช้อปปิ้งกำลังเป็นกระแสหลักของการท่องเที่ยวและเป็นสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะมากขึ้นเรื่อยๆ จากการศึกษา พบว่าการท่องเที่ยวเชิงพาณิชย์ (Shopping Tourism) มีผลทำให้การใช้เวลาของนักท่องเที่ยวยาวนานขึ้น และการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ใช้จ่ายมากกว่า นักท่องเที่ยวเพื่อพักผ่อนหย่อนใจ (Leisure Tourists) 3-4 เท่า ทุกประเทศในอาเชียนต่างก็พยายามกระตุ้นการค้าปลีกภายในประเทศด้วยนโยบายการท่องเที่ยวเชิงการบริโภค อาทิ ประเทศมาเลเซีย “Truly Asia” ประเทศอินโดนีเซีย “Wonderful Indonesia” ประเทศฟิลิปปินส์ “It’s more fun the Philippines” และ ประเทศเวียดนาม “Vietnam Timeless Charm” ส่งผลให้การเติบโตของอุตสาหกรรมค้าปลีกเติบโต 8-12% ขณะที่ประเทศไทย “Amazing Thailand” เติบโตเพียง 3.8% หากภาครัฐต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศให้มีอัตราการเติบโตแบบยั่งยืน ควรมีมาตรการสนับสนุนการจับจ่ายของนักท่องเที่ยว และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน ด้วยการดึงดูดนักช้อปจากทั่วโลกมาเที่ยวประเทศไทยและต้องกำหนดยุทธศาสตร์ให้ประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางของการท่องเที่ยวและจับจ่ายใช้สอย เพราะหากมองในด้านศักยภาพของความพร้อมของประเทศไทย ถือเป็นประเทศที่มีความพร้อมด้านการท่องเที่ยวมากกว่าประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคอาเซียน ประเทศไทยมีแต่ฤดูการท่องเที่ยว แต่ยังไม่มีฤดูกาลช็อปปิ้ง จากข้อมูลของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ระบุว่า นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวประเทศไทยใช้จ่ายเงินวันละ 4,000 กว่าบาทต่อคน และใน 4,000 บาท ประกอบด้วยค่าโรงแรม ค่าอาหาร เป็นส่วนใหญ่ ในจำนวนนี้มีค่าช้อปปิ้ง 1,200-1,500 บาทเท่านั้น หากเราสามารถโอกาสเพิ่มโอกาสให้นักท่องเที่ยวมีทางเลือกจับจ่ายใช้สอยมากกว่าที่ควรจะเป็น อย่าคิดว่านักท่องเที่ยวเดินทางมาประเทศไทยเพื่อมาดูวัฒนธรรม หรือปูชนียสถาน หรือดูอะไรก็ตาม เพราะสิ่งเหล่านี้มาดูครั้งเดียวก็เลิก ไปดูที่ประเทศอื่นๆ ต่อ แต่สิ่งที่จะจูงใจให้นักท่องเที่ยวมาประเทศไทยมาซ้ำ คือ การช็อปปิ้ง หากนักท่องเที่ยวมีเวลาน้อยก็ “ช้อปปิ้ง” ความฝันของรัฐบาลที่จะผลักดันประเทศไทยสู่การเป็นสวรรค์แห่งการช้อปปิ้ง (Thailand Shopping Paradise) ยังห่างไกลจากความเป็นจริง แม้ว่าจำนวนนักท่องเที่ยวจะเพิ่มขึ้นมหาศาลและสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำให้กับประเทศ แต่สิ่งที่เห็นการเติบโตของอุตสาหกรรมค้าปลีกเฉลี่ยต่ำสุดเมื่อเทียบกับประเทศในอาเชียนด้วยกัน มองอุตสาหกรรมค้าปลีก-ค้าส่งในปัจจุบันและอนาคต ปัจจุบันตลาดการบริโภคค้าปลีกในไทยมีมูลค่าราว 3.6 ล้านล้านบาทในปี 2017 ซึ่งสามารถแบ่งโครงสร้างค้าปลีกค้าส่งไทยในสถานการณ์ปัจจุบันได้เป็น 3 แถว ดังนี้ แถว 1 เป็น Modern Chain Store ซึ่งการรวมศูนย์การบริหารจัดการอยู่ในกรุงเทพเป็นหลัก ซึ่งน่าจะมียอดขายเป็นสัดส่วนราว 32% ของมูลค่าการบริโภคค้าปลีกค้าส่ง ด้วยการเติบโตในช่วงหลายปีที่ผ่านมาค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านซึ่งเติบโตเป็นสองหลัก ห้างค้าปลีกค้าส่งในแถวหนึ่ง ส่วนใหญ่จึงได้กำหนดยุทธศาสตร์มุ่งเน้นการขยายสู่ประเทศเพื่อนบ้าน CMLV เป็นหลัก การขยายสาขาในประเทศคงไม่มุ่งเน้นเหมือนอย่างที่ผ่านๆ มา อาทิ กลุ่มเซ็นทรัลที่มุ่งเน้นไปลงทุ่นในเวียดนาม, โฮมโปรก็ขยายสาขาถึง 6 สาขาในประเทศมาเลเซีย, Index Living Mall ก็ไปทั้งมาเลเซีย อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์, Big C ภายใต้การบริหารโดยกลุ่ม BJC ก็เตรียมเปิดในประเทศลาวและเวียดนาม, Makro ก็ขยายไปประเทศกัมพูชาเป็นต้น แถวสอง ก็จะเป็นค้าปลีกค้าส่งที่กำลังพัฒนาในต่างจังหวัด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้นำค้าปลีกค้าส่งในจังหวัดตัวเองเป็นหลัก ที่มีการขยายสาขา และมียอดขายต่อบริษัทระหว่าง 1000 – 5000 ล้านบาทต่อปี อาทิ ตั้งหงี่สุ่น อุดร, ยงสงวน อุบล, ธนพิริยะ เชียงราย, เซนโทซ่า ขอนแก่น, สล โฮลเซล สกลนคร, ร้อยเอ็ดไฮเปอร์มาร์ท, ซุปเปอร์ชีพ ภูเก็ต, สหไทย นครศรีธรรมราช, ห้างทวีกิจ บุรีรัมย์, ห้างมาร์เธ่อร์ ที่กระบี่, ห้าง Do Home ที่มีฐานที่อุบล เป็นต้น ซึ่งมีราว 350-500 บริษัท และมีน่าจะมียอดขายเป็นสัดส่วนราว 12-15% ของมูลค่าการบริโภคค้าปลีกค้าส่ง สำหรับค้าปลีกค้าส่งในแถวสองนี้ ที่ผ่านสมรภูมิการปรับตัวต่อสู้กับแถวบนมาในช่วงสิบห้าปีที่ผ่านมา เริ่มเรียนรู้และปรับเปลี่ยนการบริหารจัดการสมัยใหม่ และพร้อมจะเติบโต ขยายสาขาออกนอกจังหวัดนอกอำเภอ และจะกลายเป็นผู้นำค้าปลีกค้าส่งในแต่ละท้องถิ่น ส่วนแถวที่สาม ซี่งมีสัดส่วนราว 53-55% ของมูลค่าการบริโภคค้าปลีกค้าส่ง ส่วนใหญ่เป็นร้านค้าอิสระขนาดเล็กถ้าจะมีสาขาก็ไม่เกิน 2-3 สาขา ที่เราเรียกกันว่า ร้านขายของชำ ร้านโชห่วย ซึ่งก็ไม่ได้ล้มหายตายจากอย่างที่ภาครัฐเข้าใจอย่างผิดๆ ประมาณการณ์จำนวนร้านค้าในแถวสามนี้น่าจะมีราว 2.5-3.0 แสนร้านค้าที่มีหน้าร้านเป็นที่เป็นทางและอีกราว 2 แสนที่เป็นลักษณะเพิงและมุมขายของ ค้าปลีกสู่แพลตฟอร์ม Omni Channel 5-6 ปีก่อน ใครๆ ก็บอกว่าธุรกิจค้าปลีกที่มีหน้าร้าน Brick and Mortar กำลังจะกลายเป็นอดีต ส่วนธุรกิจ E-Commerce คือ อนาคต แต่มาถึงวันนี้ นักธุรกิจและนักเทคโนโลยีหลายคน เริ่มมองว่า E-Commerce เองก็กำลังจะกลายเป็นอดีตเช่นกัน ส่วนอนาคตที่กำลังจะมาถึงอย่างรวดเร็ว คือ โมเดลธุรกิจใหม่ที่เรียกกันว่า E Business (รูปธรรมของ E Business ที่เรารู้จักกันดีก็คือ O2O หรือ Omni Channel) ซึ่งเป็นการเชื่อมห้างร้านในโลกออฟไลน์เข้ากับเทคโนโลยีโลกออนไลน์อย่างลงตัว ด้านหนึ่งก็สามารถใช้ประโยชน์จากความสะดวกสบายในการจับจ่ายใช้สอยสินค้าและชำระเงินออนไลน์ รวมทั้งสามารถเก็บข้อมูลผู้บริโภคมหาศาล ส่วนอีกด้านหนึ่ง ก็สามารถใช้จุดแข็งของห้างร้านที่มีสินค้าจริงให้คนได้สัมผัสและทดลอง รวมทั้งยังเป็นพื้นที่สำหรับเดินเล่นหรือนัดพบสังสรรค์กับเพื่อนได้ด้วย การขยายช่องทางจำหน่ายจากหน้าร้านหรือที่เรียกว่า Offline สู่ Online การค้าช้อปออนไลน์ จึงเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการค้าปลีกที่มีหน้าร้าน Offline ไม่สามารถอยู่นิ่งเฉยได้ การปฏิวัติการช้อปปิ้งสมัยใหม่ที่เป็นการนำการค้าการขายแบบร้านดั้งเดิม หลอมรวมให้เป็นเนื้อเดียว กับการค้าการขายแบบออนไลน์ ในรูปแบบที่ไร้รอยต่อ Seamless โดยมุ่งเน้น เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า หรือที่ศัพท์สมัยใหม่เรียกว่า Omni Channel จึงได้เริ่มต้นขึ้น ทิศทางการแข่งขันของธุรกิจค้าปลีก กำลังก้าวสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ จากเดิมที่เน้นการทำแบบ Mass Marketing หันมาโฟกัสเป็นเฉพาะกลุ่มลูกค้าตัวจริงของตัวเอง หรือเป็นการทำตลาดแบบตัวต่อตัว (one by one) ซึ่งทางแต่ละผู้ประกอบการจะต้องนำเสนอแคมเปญและโปรโมชั่นให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าเฉพาะคน แต่ปัจจัยที่จะทำให้การตลาดรูปแบบนี้ประสบความสำเร็จ สิ่งสำคัญที่สุด คือ ระบบไอทีหลังบ้าน ที่จะต้องมีความแข็งแกร่ง ซึ่งจะต้องรองรับการเก็บข้อมูลมหาศาล และต้องนำออกมาใช้ประโยชน์ได้ง่าย การลงทุนระบบ “บิ๊กดาต้า” (Big Data) และระบบ “คลาวด์ คอมพิวติ้ง” (cloud Computing) ว่ากันว่าเป็นระดับหลักพันล้านบาทเลยทีเดียว ที่มา : brandinside.asia
05 ก.ย. 2018
3 เทรนด์ ผู้บริโภคที่แบรนด์ไม่ควรมองข้าม ในยุคที่ใครๆ ก็อยากมีชีวิตที่ดีขึ้น
3 เทรนด์ ผู้บริโภคที่แบรนด์ไม่ควรมองข้าม ในยุคที่ใครๆ ก็อยากมีชีวิตที่ดีขึ้น ผลสำรวจของบริษัทวิจัยการตลาดระดับโลกอย่างมินเทล (MINTEL) ประเทศสิงคโปร์ ระบุว่า ผู้บริโภคชาวไทยกำลังมองหาวิธีที่จะปฏิวัติตนเองให้ดีขึ้นกว่าเดิม จากการสำรวจกลุ่มผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตจำนวน 1,500 ราย อายุตั้งแต่ 16 ปีขี้นไป ตามเมืองใหญ่ทั่วประเทศ ในช่วงเดือนพฤษภาคม 2018 ที่ผ่านมา พบว่า ผู้บริโภค 4 ใน 5 หรือ 79% ต้องการมีโภชนาการที่ดีขึ้นในปี 2018 ขณะที่ 3 ใน 4 หรือ 76% อยากมีชีวิตสมดุล และ 73% ตั้งใจจะหันมาออกกำลังกายให้มากขึ้น “จำนวนรายได้ที่เพิ่มมากขึ้น และการขยายตัวของเมือง ทำให้ผู้บริโภคในประเทศไทยเริ่มหันมาใส่ใจสุขภาพของตัวเองและดูแลตัวเองในมิติต่างๆ กันมากขึ้น โดยมีเป้าหมายสำคัญไปสู่การเป็นคนใหม่ที่ดียิ่งขึ้น หรือกลายเป็น Better Version ของตัวเอง ทำให้เกิดเป็นกระแสในการดูแลตัวเองในหลายๆ ด้าน รวมทั้งมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่างเพื่อทำให้เป็นผลดีต่อตัวเองมากขึ้น ทั้งในเชิงสุขภาวะร่างกาย อารมณ์และสุขภาพจิตใจ ซึ่งผู้บริโภคชาวไทยไม่เพียงแต่หันหลังให้พฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ ในอดีต แต่กลับเริ่มหันมาใส่ใจในเรื่องของการบริโภคมากขึ้น และเริ่มมีความตระหนักมากยิ่งขึ้นต่อสิ่งที่กำลังจะรับประทานเข้าไปหรือการดูแลร่างกายต่างๆ” ข้อมูลจาก มร. เดลอน หวัง Trends Manager มินเทล เอเชียแปซิฟิก พร้อมฉายภาพเพิ่มเติมว่า จากการสำรวจมีแนวโน้มว่า คนไทยเกือบครึ่งหนึ่ง หรือราว 48% ตั้งใจที่จะเริ่มปฏิวัติวิถีการบริโภคของตัวเองในอีก 12 เดือนข้างหน้า เพื่อให้มีสุขภาพที่ดีขึ้น โดยในกลุ่มผู้บริโภคเหล่านี้มีถึง 90% ที่ระบุว่า จะรับประทานผลไม้รวมถึงผักต่างๆให้มากขึ้น ขณะที่อีก 53% วางแผนที่จะลดการบริโภคเนื้อสัตว์ รวมทั้ง 45% ที่ตั้งใจจะใช้ชีวืตตามแนวทางแบบชีวจิตร หรือมังสวิรัติ 3 เทรนด์สำคัญ โอกาสของแบรนด์ เป้าหมายและความตั้งใจของผู้บริโภคคนไทยที่เห็นได้จากการสำรวจในครั้งนี้ สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกับทั่วโลก และทำให้มองเห็นโอกาสและเทรนด์สำคัญ ที่เป็น Effect จากการที่ผู้บริโภคมีความต้องการทั้งในการบริโภค หรือช่วยอำนวยความสะดวก เพื่อให้สามารถไปสู่เป้าหมายในการเป็นคนที่ดีกว่าเดิม ไม่ว่าจะเป็นการเลือกบริโภคผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่มีส่วนผสมจากวัตถุดิบที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ หรือมีส่วนผสมจากธรรมชาติ การเลือกช่องทางสื่อสารที่จะทำให้สามารถได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ตามต้องการ หรือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ช่วยลดความเสี่ยงทางด้านสุขภาพทั้งกายและใจลง ขณะที่ฟากของผู้ประกอบการหรือแบรนด์ต่างๆ สามารถนำข้อมูลจากการวิจัยครั้งนี้ เพื่อนำไปเป็นข้อมูลในการผลิตสินค้าหรือบริการต่างๆ เพื่อให้สอดคล้องกับสิ่งที่ผู้บริโภคกำลังมองหาและมีความต้องการ โดยมองเห็น 3 เทรนด์สำคัญ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อแบรนด์ต่างๆ เมื่อคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ในการนำเสนอสินค้าและบริการให้กับผู้บริโภค เพื่อมีโอกาสที่จะเป็นทางเลือกกับผู้บริโภคในปัจจุบันได้ดีมากยิ่งขึ้น โดยทั้ง 3 เทรนด์ใหญ่ ที่ทางมินเทลนำเสนอเพื่อเป็นโอกาสสำหรับแบรนด์ในการผลิตสินค้าและบริการต่างๆ เพื่อพิชิตใจผู้บริโภคคนไทยได้มากขึ้นนี้ ประกอบด้วย 1. Customization : ผู้บริโภคชาวไทยถวิลหาความพิเศษเฉพาะบุคคล ข้อมูลจากงานวิจัยครั้งนี้พบว่า การออกแบบสินค้าหรือบริการเฉพาะบุคคล จะเป็นกุญแจสำคัญในการบริโภค และยังนำมาซึ่งความรู้สึกนึกคิดเชิงบวกต่อชีวิตประจำวันเช่นเดียวกัน ขณะที่เริ่มมองเห็นรูปแบบในการออกแบบสินค้าและบริการที่เป็น Customization ในสินค้าที่อยู่ในชีวิตประจำวันเพิ่มมากขึ้น จากที่ก่อนหน้านี้จะอยู่ในกลุ่มสินค้า Luxury เป็นส่วนใหญ่ โดยปัจจัยนี้ติดอยู่ใน 1 ใน 5 ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคในยุคนี้มากที่สุดด้วย โดยพบว่า จำนวน 41% ของกลุ่มตัวอย่าง หรือ 2 ใน 5 ของผู้บริโภคคนไทยในเมืองใหญ่ พึงพอใจกับแบรนด์ที่ทำให้พวกเขามีโอกาสในการเลือกสินค้า และบริการที่เหมาะกับเขาจริงๆ ไม่ว่าจะเป็นสินค้าหรือบริการ โดยจะมองว่าสินค้าเหล่านี้ตอบโจทย์และคุ้มค่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มสินค้าประเภทอาหาร ที่ปัจจัยในเรื่องนี้มีผลต่อการตัดสินใจถึง 67% ตามมาด้วยสินค้าสุขภาพหรือฟิตเนส ที่ 63% ส่วนในกลุ่มสินค้าด้านความสวยความงาม พบว่าจำนวนถึง 51% ชอบให้สินค้าและบริการออกแบบเฉพาะเจาะจงกลุ่มผู้บริโภคที่หลากหลาย เช่นเดียวกันกับสินค้าประเภทความสวยงามรวมทั้งกลุ่ม Personal Care ด้วย ขณะที่ปัจจัยสำคัญที่ผู้บริโภคจะคำนึงถึงในการซื้อสินค้าที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวัน พบว่า 63% มุ่งเน้นการซื้อสินค้าคุณภาพ, 48% ผู้บริโภคเลือกซื้อสินค้าที่ความสะดวก, 38% เลือกซื้อที่ราคา, 37% จะดูที่ความทนทาน และมีผู้บริโภคถึง 29% ที่เลือกซื้อสินค้าที่ถูกออกแบบมาเฉพาะกลุ่มบุคคล หรือ Customization นั่นเอง 2. Technology & Digital : การบริโภคยุคดิจิทัล โลกดิจิทัลเข้ามามีบทบาทสำคัญในการวางกรอบแนวคิดในเรื่องของการบริโภคข้อมูลข่าวสาร และสร้างอิทธิพลต่อผู้บริโภคชาวไทย โดยงานวิจัยของมินเทลระบุว่า 63% ของผู้บริโภคชาวไทยเลือกซื้อสินค้าและบริการที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพจากข้อมูลออนไลน์เป็นหลัก ในขณะที่มากกว่าครึ่ง หรือ 54% เลือกซื้อตามอิทธิพลของสังคมออนไลน์ โซเชียลมีเดียหรือตามบล็อกเกอร์ นอกจากนั้น อีก 59% ระบุว่าสินค้าประเภทความสวยความงามได้รับอิทธิพลมาจากสังคมออนไลน์และบล็อกเกอร์มากที่สสุด และท้ายที่สุด 56% ระบุว่าพวกเขาค้นหาข้อมูลผ่านออนไลน์ และการ Search Engine แต่ถึงแม้ว่าโลกออนไลน์จะเป็นช่องทางสำคัญที่ผู้บริโภคจะเข้าไปหาข้อมูลต่างๆ ที่ต้องการหรือมีความสนใจได้ด้วยตัวเอง แต่จำนวนข้อมูลที่มีอยู่อย่าง Overload ทำให้ผู้บริโภคไม่สามารถเลือกข้อมูลที่ถูกต้องหรือดีที่สุดได้ จึงโอกาสของแบรนด์ที่จะเข้าไปทำหน้าที่ในการ Guide หรือให้คำปรึกษา แนะนำข้อมูลต่างๆ ที่ถูกต้องแก่ผู้บริโภค ซึ่งเป็นโอกาสที่แบรนด์จะสามารถเข้าไป Connect กับผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี “สินค้าประเภทติดตามข้อมูลสุขภาพไม่ว่าจะเป็นกลุ่ม Wearable Tech หรือ Health Tracking ต่างๆ ที่สามารถติดตามข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพของผู้สวมใส่ได้ จะกลายมาเป็น Key Player ของตลาดในอนาคต และสามารถเป็นตัวช่วยในเรื่องการออกแบบสินค้าที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคได้ดียิ่งขึ้น โดยคาดว่าอีกไม่นาน ระบบข้อมูลต่างๆ เหล่านี้จะเชื่อมโยงถึงกันและไม่เพียงแต่จะช่วยนักการตลาดเท่านั้น แต่ผู้บริโภคเองก็เก็บข้อมูลของตัวเองได้ด้วย เนื่องจากอุปกรณ์เหล่านี้เป็นเครื่องมือสำคัญ ที่ทำให้ผู้บริโภคเข้าใจคุณภาพการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย และมีส่วนในการชวยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่างๆ เพื่อทำให้สุขภาพโดยรวมเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น ซึ่งตามข้อมูลงานวิจัย พบว่า 39% ของกลุ่มผู้บริโภคในประเทศไทยที่เริ่มใช้งานอุปกรณ์เหล่านี้อยู่ในครัวเรือน และเป็นเจ้าของใช้งานเอง” 3. Natural Takeover : การรักษาสมดุลย์ตามธรรมชาติ ในภาพรวม ผู้บริโภคชาวไทยปรารถนาที่จะมีคุณภาพชีวิตและมีสุขภาพที่ดีขึ้น แต่นิยามของการมีสุขภาพดี สำหรับพวกเขาในวันนี้ นักวิจัยของมินเทล เน้นย้ำว่า 67% ของผู้บริโภคชาวไทยให้นิยามว่า คือ “อาหารที่ดี” ซึ่งประกอบด้วยวัตถุดิบที่เป็นธรรมชาติ, ขณะที่ 61% บอกว่าต้องมีไขมันต่ำ, 56% มองว่าต้องเป็นสินค้าออแกนิกส์, 55% ระบุว่าต้องมีแคลอรีต่ำ, 54% ระบุว่าต้องมีปริมาณน้ำตาลน้อย นอกจากนี้ ยังพบว่าผู้บริโภคมากกว่าครึ่ง หรือ 53% พยายามหลีกเลี่ยงไขมันอิ่มตัว และ 43% เลือกที่จะไม่บริโภคน้ำตาลขัดสี ขณะที่ 33% ระมัดระวังการบริโภคเหลือ และเนื้อแดงที่อาจมีสารเคมีปนเปื้อน เป็นต้น “มีรายงานว่าบริษัทผู้ผลิตสินค้าประเภท อาหาร เครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์ส่วนบุคคล และความงาม ต่างเริ่มตระหนักดีถึงความต้องการของผู้บริโภคในการเลือกใช้สินค้าที่มีความเป็นธรรมชาติ สอดคล้องกับข้อมูลของ Mintel Global New Products Database (GNPD) ที่พบว่า 41% ของผลิตภัณฑ์ในกลุ่มดังกล่าวข้างต้น ที่ทยอยเปิดตัวในตลาดประเทศไทยเมื่อช่วงปีที่ผ่านมา ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มที่มีส่วนผสมของธรรมชาติ และมีสัดส่วนสินค้าในกลุ่มนี้เติบโตเพิ่มขึ้นมากกว่าปี 2010 อยู่ถึง 34%” นอกจากนี้ ยังพบพฤติกรรมผู้บริโภคชาวไทยเริ่มค่อยๆปรับการบริโภคมาเป็นการเลือกรรับประทานพืชผักต่างๆ เพิ่มมากขึ้น และลดการบริโภคเนื้อสัตว์ลง 76% โดยส่วนใหญ่ระบุว่าพวกเขาเลือกรับประทานโปรตีนจากพืช อย่างเช่น ผักใบเขียว และถั่ว มากกว่าการบริโภคโปรตีนจากสัตว์ที่มาจากเนื้อสัตว์ หรือไข่ ในขณะที่มากกว่า 55% เห็นด้วยว่า โปรตีนจากพืชนั้นเยี่ยมยอดกว่าโปรตีนจากสัตว์ “พฤติกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นของผู้บริโภคคนไทย จะเป็นโอกาสสำหรับบริษัทต่างๆ ในการปรับกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ของตัวเอง ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบสินค้าประเภทใด ให้เดินหน้าสู่ความเป็นธรรมชาติ เนื่องจากดีมานด์ในตลาดที่มีอยู่ในระดับสูง นอกจากนั้นยังพบว่า ผู้บริโภคเองก็ชื่นชอบสินค้าจากธรรมชาติ ที่มีความง่าย และมีโภชนาการที่ยืดหยุ่น การหันมาบริโภคโปรตีนจากพืชจะเป็นทางเลือกใหม่ที่ผู้บริโภคยุคนี้มองหา เพราะให้คุณค่าสารอาหารต่างๆ ที่มากกว่าหรือเท่ากับคุณค่าจากเนื้อสัตว์ในผลิตภัณฑ์อื่นๆ แต่มีประโยชน์ต่อสุขภาพของผู้บริโภคมากกว่า” ที่มา : brandbuffet
03 ก.ย. 2018
ทันเกมการค้า : จับเทรนด์ธุรกิจท่องเที่ยว เมื่อคนเอเชียชอบเที่ยวกับครอบครัว
ทันเกมการค้า : จับเทรนด์ธุรกิจท่องเที่ยว เมื่อคนเอเชียชอบเที่ยวกับครอบครัว ภาคการท่องเที่ยวเป็นธุรกิจหลักของไทย แต่เมื่อโลกเปลี่ยนไปทุกวัน ใครที่ทำธุรกิจด้านนี้ต้องปรับตัวให้ทันกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปด้วย Agoda เปิดผลโพลชาวเอเชียชอบเที่ยวทั้งครอบครัว ดึงยอดจองห้องพักเพิ่ม จอห์น บราวน์ ประธานกรรมการบริหาร Agoda บอกว่า การท่องเที่ยวแบบครอบครัวโตขึ้นเรื่อยๆ และมีความต้องการที่หลากหลาย โดยผลสำรวจเทรนด์การท่องเที่ยวปี 2018 (จัดทำโดย YouGov) พบว่า 70% ของนักท่องเที่ยวทั่วโลก จะเดินทางเป็นครอบครัวเฉลี่ยปีละ 2 ทริป ซึ่งคนเอเชียชอบเที่ยวเป็นครอบครัว เฉลี่ยแล้วมากกว่าปีละ 5 ทริป และยังมากกว่าค่าเฉลี่ยชาวยุโรปที่จะเที่ยวกับครอบครัวปีละ 2 ทริป “ชาวเอเชียเดินทางท่องเที่ยวเป็นครอบครัวในแต่ละปีบ่อยที่สุด โดยนักท่องเที่ยวชาวไทย 77% และชาวฟิลิปปินส์ 62% เดินทางท่องเที่ยวเป็นครอบครัวมากกว่า 5 ครั้งต่อปี ตรงข้ามกับนักท่องเที่ยวชาวอังกฤษที่มีเพียง 7% ที่จะท่องเที่ยวเป็นครอบครัวมากกว่า 5 ครั้งต่อปี ซึ่งส่วนใหญ่กว่า 34% ท่องเที่ยวเป็นครอบครัวเพียง 1 ครั้งต่อปี” นอกจากนี้การเที่ยวเป็นครอบครัวจะทำให้มีหลายเจนเนอเรชั่นเที่ยวด้วยกันทั้ง รุ่นปู่-ย่า-พ่อ-แม่-ลูก ซึ่งความต้องการของนักท่องเที่ยวคือ การใช้เวลากับครอบครัวได้มากขึ้น ทำให้รูปแบบการท่องเที่ยวต้องมีความหากหลายตามไปด้วย เช่น การพักผ่อน การได้ลองทำสิ่งใหม่ๆ เรียนรู้วัฒนธรรม และ ผจญภัย จับพฤติกรรมลูกค้าเน้นเที่ยวสั้นแต่บ่อยขึ้น โรงแรมเฮงเพราะลูกค้าจองที่พักเพิ่ม ระยะเวลาในการท่องเที่ยวถือเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับโรงแรม ว่าเขาจะจองที่พักติดกันกี่คืน จากผลสำรวจพบว่า นักท่องเที่ยวทั่วโลกจะจัดทริปเที่ยวกับครอบครัวเฉลี่ย 4-7 คืนต่อทริป โดยคนไทยเรา 1 ใน 3 จะเที่ยวกับครอบครัวมากกว่า 14 คืนต่อทริป ในขณะที่ในส่วนของนักท่องเที่ยวชาวเวียดนาม มาเลเซีย และจีน จะเดินทางไปท่องเที่ยวเป็นครอบครัวเพียง 1-3 คืนต่อทริป นอกจากนี้มีแนวโน้มจะท่องเที่ยวบ่อยขึ้น และจากผลสำรวจใน 12 เดือนที่ผ่านมา บอกว่าโรงแรมเป็นที่พักที่ได้รับความนิยมสูงสุดเมื่อเที่ยวกับครอบครัว รองลงมาเป็นบ้านพักทั้งหลัง เบดแอนด์เบรคฟาสต์ (B&B) และรีสอร์ตที่มีบริการครบวงจร โดยปัจจัยในการวางแผนทริปเที่ยวได้แก่ ค่าใช้จ่าย ความปลอดภัย กิจกรรมที่สามารถทำได้เป็นหลัก ที่พักที่มีสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น ห้องครัว บริการห้องที่เชื่อมถึงกันได้ บริการพี่เลี้ยงเด็ก คิดส์คลับ ฯลฯ แต่ตอนเที่ยวนักท่องเที่ยวกลัวอะไรบ้าง ? นักท่องเที่ยวกังวลเรื่องอาการเจ็บป่วยที่อาจเกิดขึ้นระหว่างทริป (36%) คุณภาพที่พัก (21%) การทะเลาะกันของสมาชิกในครอบครัว (16%) ในขณะที่นักท่องเที่ยวชาวอังกฤษจะมีความกังวลน้อยที่สุดเมื่อไปเที่ยวกับครอบครัว โดยเกือบ 1 ใน 3 หรือราว 27% ตอบว่าไม่กังวลกับเรื่องใดๆเลย สรุป เมื่อพฤติกรรมนักท่องเที่ยวทั่วโลกและเอเชีย หันมาเที่ยวในรูปแบบครอบครัวมากขึ้น และเลือกใช้บริการโรงแรมมากที่สุด ดังนั้นนอกจากโรงแรมต้องสร้างตัวตน สร้างชื่อเสียงในโลกออนไลน์เพื่อดึงดูดลูกค้า ยังต้องเชื่อมต่อกับแพลทฟอร์มที่บริการจองห้องพักต่างๆ ที่สำคัญโรงแรมต้องหาจุดแข็งในการทำธุรกิจ เช่น ลูกค้าชอบสิ่งอำนวยความสะดวกแบบไหน อย่างห้องพักเชื่อมกัน บริการพี่เลี้ยงเด็ก ฯลฯ ซึ่งจะช่วยให้โรงแรมสามารถเพิ่มมูลค่า และรายได้ของตนเองด้วย ที่มา : brandinside.asia
28 ส.ค 2018
ชี้ทางรอดธุรกิจโรงแรม แบงก์ออกตัวหาพาร์ทเนอร์ทั้งรัฐ-เอกชนช่วยลูกค้า
ชี้ทางรอดธุรกิจโรงแรม แบงก์ออกตัวหาพาร์ทเนอร์ทั้งรัฐ-เอกชนช่วยลูกค้า SCB ชี้ปัญหาธุรกิจโรงแรมต้องลดเสี่ยง-เพิ่มรายได้ พิกุล ศรีมหันต์ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ผู้บริหารสูงสุด SME Segment ธนาคารไทยพาณิชย์ บอกว่า ธุรกิจโรงแรมเป็นธุรกิจอ่อนไหวต่อสถานการณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะภาวะเศรษฐกิจ และความเสี่ยงในธุรกิจ เพราะธุรกิจโรงแรมเป็นธุรกิจระยะยาว กว่าจะคืนทุนใช้เวลาเป็น 10 ปี เจ้าของกิจการต้องผ่านวงจรเศรษฐกิจและวิกฤตต่างๆอีกหลายครั้ง ดังนั้นเขาต้องบริหารให้เป็น นอกจากนี้ปัญหาใหญ่ที่ผู้ประกอบการเจอคือ ขั้นตอนการขอใบอนุญาตที่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญ เวลา และความเข้าใจอย่างมากทำให้บางคนไม่สามารถจดทะเบียนเป้นโรงแรมได้ และส่งผลกระทบต่อการประกอบกิจการ ส่วนอีกเรื่องสำคัญคือ ผู้ประกอบการต้องมีรายได้เพิ่มขึ้น เราเลยหาพันธมิตรจากหลายส่วนมาช่วยให้ธุรกิจโรงแรมมีช่องทางที่จะเพิ่มยอดขายขึ้นด้วย “ตอนนี้เรารอลูกค้าเดินมาหาไม่ได้แล้ว เราต้องเดินไปหาลูกค้าแทน ซึ่งเราก็หาพันธมิตรจากหลายส่วน อย่างกรมการปกครองที่จะมาดูเรื่องใบอนุญาตของผู้ประกอบการ Google SiteMinder ที่มีเครื่องมือช่วยเพิ่มยอดขายให้ลูกค้า ส่วน ททท. (การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย) ที่จะช่วยพัฒนาทางออกใหม่ๆ ให้เจ้าของโรงแรม” แผนต่อไปคือเราจะนำ Ecosystem สำหรับธุรกิจโรงแรมทั้งหมด มาร่วมกับธนาคารเพื่อเป็นจุดเชื่อม ให้ลูกค้าเข้าถึง Solutions ต่างๆ ได้มากขึ้น ถ้าลูกค้าประสบความสำเร็จ ธนาคารก็มีรายได้ไปด้วย กรมการปกครองปลดล็อกกฎหมายเปิดทางให้โรงแรมจดทะเบียนถูกต้อง ทัศน์พล ประทีป ณ ถลาง หัวหน้ากลุ่มมาตรฐานและระเบียบ ส่วนการรักษาความสงบเรียบร้อย 3 กรมการปกครอง บอกว่า เดิมทีการขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรมอาจจะยาก ส่งผลให้หลายบริษัทยังไม่ได้จดทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ล่าสุดเราเลยอยู่ระหว่างการแก้กฎกระทรวงเพื่อปลดล็อกให้โรงแรมที่ยังไม่ได้จดทะเบียนทั้งหลายสามารถเข้าสู่ระบบได้ง่ายขึ้น ปัจจุบันธุรกิจโรงแรมทุกประเภทมีอยู่ 11,279 ราย (นับตั้งแต่ปี 2547) ขณะนี้ยังมีโรงแรมอีกกว่า 3,000 แห่งที่ยังไม่มีใบอนุญาตถูกกฎหมาย และอีกหลักหมื่นแห่งที่มีติดเรื่องโครงสร้างอาคารไม่ใช่โรงแรมเลยไม่สามารถขอใบอนุญาตได้ “สาเหตุที่โรงแรมหลายแห่งยังจดทะเบียนไม่ได้ ก็เพราะติดกฎหมายหลายๆ ที่เช่น กฎหมายผังเมือง กฎหมายสิ่งแวดล้อม กฎหมายอาคารไม่ใช่การสร้างเพื่อเป็นโรงแรม บางที่เป็นโครงสร้างแบบคอนโดมิเนียม แต่ดัดแปลงมาทำเป็นโรงแรม ซึ่งเรากำลังจะปลดล็อกกฎหมายเหล่านี้ เช่น กฎหมายกระทรวงโยธาธิการ กฎหมายพิเศษ ฯลฯ เพื่ออำนวยความสะดวกให้การจดทะเบียนโรงแรมได้ง่ายขึ้น เร็วขึ้น” Google-Siteminder เตรียมเครื่องมือดิจิทัลเสริฟลูกค้าโรงแรม อภิชญา เตชะมหพันธ์ Head of Channel Sales, Thailand and Vietnam, Google (Thailand) Company Limited บอกว่า ปัจจุบันโลกดิจิทัลทำให้การท่องเที่ยวดูเป็นเรื่องง่ายขึ้น และยังเป็นเครื่องมือสำคัญให้ผู้ประกอบการสามารถใช้บริหารธุรกิจได้ดีขึ้นด้วย แต่ในไทยเรากลับมี SME แค่ 13% (จากจำนวน SME ในไทยที่ 2.7-2.8 ล้านราย) ที่มีเว็บไซด์ แสดงว่าคนยังใช้ดิจิทัลเป็นเครื่องมือได้ไม่เต็มที่ ซึ่งในโลกดิจิทัล ผู้ประกอบการต้องมีตัวตนบนโลกออนไลน์ ที่จะสร้างทั้งความเชื่อมั่นให้ลูกค้า เป็นช่องทางเพิ่มรายได้ให้ธุรกิจ และสามารถเก็บข้อมูลมาใช้วางแผนงานได้ด้วย โดยเรามีเครื่องมือที่ชื่อ Google My Business ให้ผู้ประกอบการใช้ได้ฟรี โดยจะสามารถใส่ข้อมูลบริษัทให้ลูกค้ารู้จักได้ สามารถสร้างเว็บไซด์ใหม่ได้ภายใน 3 คลิก แถมยังช่วยเก็บข้อมูล Insight ของลูกค้าได้ เช่น ลูกค้าชาติไหน ใช้คำว่าอะไร Search มาเจอเรา ส่วนใครที่อยากลองใช้งาน Google My Business สามารถสมัครทางออนไลน์ได้เลย ระบบจะใช้เวลาระบุตัวตนลูกค้าประมาณ 1-2 สัปดาห์ แต่ถ้าลูกค้าเลือกที่จะมาระบุตัวตนที่สาขาธนาคารไทยพาณิชย์ จะสามารถใช้งานได้ทันที อนงค์ชนก คงเทียบ Regional Sales Manager-Asia, SiteMinder บอกว่า เราจับ pain point ของลูกค้าที่เป็นผู้ประกอบการโรงแรม ว่าเมื่อเขาต้องใช้บริการ เว็บไซด์ที่ขายห้องพักบนออนไลน์หลายเว็บ บางทีก็จัดการได้ยาก SiteMinder เลยจะเป็น Software ตัวกลางที่เชื่อมทุกเว็บไซด์เข้าด้วยกันให้ลูกค้าสามารถบริหารห้องพักที่มีอยู่ได้ง่ายชึ้น ที่มา : brandinside.asia
22 ส.ค 2018
โรงพยาบาลพระรามเก้าถึงเวลาทรานส์ฟอร์มสู่ Digital Hospital
โรงพยาบาลพระรามเก้าถึงเวลาทรานส์ฟอร์มสู่ Digital Hospital จากการแข่งขันอันดุเดือดในธุรกิจโรงพยาบาล อีกทั้งการเติบโตของประชากรผู้สูงอายุ ทำให้ “โรงพยาบาลพระรามเก้า” ต้องลุกขึ้นมารีแบรนด์ครั้งใหญ่ ทรานส์ฟอร์มสู่ Digital Hospital วางภาพลักษณ์ให้คนทั่วไปเข้าถึงได้แม้ไม่ต้องเจ็บป่วย รีแบรนด์ครั้งใหญ่ และครั้งแรก ธุรกิจโรงพยาบาลเป็นหนึ่งธุรกิจที่มีการเคลื่อนไหวค่อยข้างสูงในยุคนี้ มีปัจจัยเสริมหลายอย่างทั้งจากเทรนด์การดูแลสุขภาพของคนไทยมากขึ้น การเติบโตของสังคมผู้สูงอายุที่คาดว่ามีสัดส่วน 20% ของจำนวนประชากรในอีก 3 ปีข้างหน้า ทำให้มีผู้สูงอายุเจ็บป่วยเพิ่มมากขึ้นอีกแน่นอน อีกทั้งนโยบายการผลักดันให้เมืองไทยเป็น Medical Hub ของภาครัฐ ทำให้มีชาวต่างชาติเข้ามาใช้บริการทางการแพทย์ในไทยมากขึ้น ยิ่งส่งเสริมให้ธุรกิจโตมากขึ้นไปอีก ในขณะเดียวกันก็ทำให้การแข่งขันในตลาดสูงมากขึ้นด้วย เพราะต่างคนต่างต้องงัดหมัดเด็ดของตัวเองออกมา จึงทำให้ “โรงพยาบาลพระรามเก้า” อยู่นิ่งไม่ได้ ต้องลุกขึ้นมาปรับตัวในการรีแบรนด์ปรับภาพลักษณ์แบรนด์แบบยกเครื่องครั้งใหญ่ตั้งแต่เปิดให้บริการมา 26 ปี มีการใช้โลโก้ใหม่ และใช้สีที่ดูอ่อนโยน เข้าถึงได้มากขึ้น นายแพทย์เสถียร ภู่ประเสริฐ รองประธานกรรมการบริหาร และกรรมการผู้อำนวยการ โรงพยาบาลพระรามเก้า บอกว่า “จุดอ่อนของโรงพยาบาลพระรามเก้าก็คือคนรู้จักน้อย เพราะที่ผ่านมามุ่งแต่เรื่องการรักษาพยาบาลอย่างเดียว ไม่ค่อยได้ทำการตลาด ส่วนใหญ่เป็นปากต่อปากกันว่าที่นี่เด่นเรื่องอะไร ตอนนี้ต้องการให้คนรับรู้มากขึ้น จึงต้องลุกขึ้นมาทำตลาด รอปากต่อปากอย่างเดียวไม่ได้” อีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้โรงพยาบาลพระรามเก้าต้องสร้างแบรนด์มากขึ้นก็คือ ทำเลที่ตั้งกำลังจะกลายเป็นจุดยุทธศาสตร์ เพราะย่านพระรามเก้า–รัชดา จะเป็น CBD แห่งใหม่ของกรุงเทพฯ มีศูนย์การค้า ออฟฟิศ มีประชากรหนาแน่น ทำให้ต้องสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น 5 กลยุทธ์ ปรับทัพสู้ศึกในตลาด ในการรีแบรนด์ครั้งนี้ ได้เปิดแผนการตลาดโดยมี 5 กลยุทธ์หลักได้แก่ ขยายเครือข่ายพันธมิตรด้วยความที่โรงพยาบาลพระรามเก้าเป็นรูปแบบ Stand Alone จำเป็นต้องสร้างพันธมิตร มีส่วนสำคัญในการสร้างการเติบโต ปัจจุบันมีโรงพยาบาลพันธมิตรทั้งหมด 9 แห่งในประเทศไทย ตั้งอยู่ในจังหวัดสงขลา ยะลา ปัตตานี จันทบุรี ตรัง อุบลราชธานี ชุมพร และนครสวรรค์ โดยแต่ละแห่งจะส่งต่อผู้ป่วยที่มีความซับซ้อนอย่างโรคไตมาให้โรงพยาบาล การมีพันธมิตรทำให้แข่งขันในตลาดได้ดีมากขึ้น ทุ่มงบ 2,000 ล้าน สร้างอาคารใหม่อาคารใหม่สูง 16 ชั้น พื้นที่ 40,000 ตารางเมตร มีศูนย์ดูเรื่องการเจ็บปวด หรืออาการที่เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิต ภายใต้แนวคิด Co-Healthy Space สร้างแนวคิดว่าไม่ต้องป่วยก็มาได้ เน้นดูแลสุขภาพรักษาพยาบาล และบริการด้านไลฟ์สไตล์ คาดว่าจะเปิดให้บริการในช่วงไตรมาส 4 ของปีนี้ Digital Hospital นำเทคโนโลยีมาช่วยเอาเทคโนโลยีเข้ามาสร้างบริการใหม่ๆ พัฒนาเทคโนโลยีมาสนับสนุนบริการรูปแบบใหม่ เพื่อสร้างประสบการณ์ให้ผู้ป่วย และลดภาระการทำงานของพนักงานได้ ขยายขอบเขตการให้บริการในการส่งเสริมสุขภาพจากเดิมที่หลายคนมีความคิดว่ามาโรงพยาบาลก็เพื่อมารักษาอย่างเดียวเท่านั้น แต่จะเปลี่ยนแนวคิด และเพิ่มบริการให้ครอบคลุมการส่งเสริมสุขภาพ การตรวจหาโรค ประเมินความเสี่ยงสุขภาพ รวมถึงบริการด้านสุขภาพอื่นๆ เช่น ศูนยสุขภาพเส้นผม ศูนย์ผิวหนัง และศัลยกรรมความงาม ศูนย์รักษาอาหารปวด และเวชศาสตร์ฟื้นฟู เป็นต้น การตลาดเชิงรุก ปรับภาพลักษณ์องค์กรเป็นครั้งแรกที่มีการทำการตลาดชัดเจนมากที่สุด ปรับภาพลักษณ์ให้เป็น Professtional Healthcare Community หรือศูนย์รวมเพื่อสุขภาพในการใช้ชีวิต และใช้สื่อออนไลน์ในการสื่อสารมากขึ้น เป้าหมายต้องเป็น Digital Hospital ใน 3 ปี การทรานส์ฟอร์มของโรงพยาบาลพระรามเก้าในครั้งนี้มีเป้าหมายคือต้องเป็น Digital Hospital ภายใน 3 ปีให้ได้ มีการลงทุนด้านไอทีปีละ 50 ล้านบาท มีการเตรียมอินฟราสตรัคเจอร์ต่างๆ รวมถึงวางระบบปฏิบัติการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการทำงาน ปัจจุบันกำลังทดลองใช้โปรแกรม Digital Health มีแอพพลิเคชั่นสำหรับผู้ป่วย ห้องระบบศูนย์บัญชาการควบคุม อุปกรณ์ทางการแพทย์ ที่สามารถติดตัวได้ รวมไปถึงการให้คำปรึกษาเรื่องสุขภาพแก่ผู้ป่วยที่อยู่ทางไกล (Telemedicine) นายแพทย์สุธร ชุตินิยมการ รองกรรมการผู้อำนวยการ (ฝ่ายบริหาร) และรักษาการรองกรรมการผู้อำนวยการ(ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ) โรงพยาบาลพระรามเก้า บอกว่า “การจะเป็น Digital Hospital มีการเอาเทคโนโลยีมาใช้ครอบคลุม เช่น ให้คนไข้ทำการดำเนินการด้วยตัวเองผ่านเว็บไซต์ แอพพลิเคชั่น ใช้เทคโนโยีมาช่วยลดระยะเวลา พัฒนาแอพในการสั่งการรักษาพยาบาล สร้างความถูกต้อง ลดข้อผิดพลาด เพิ่มความปลอดภัย คุณภาพการสั่งยา มองภาพจะสมบูรณ์ภายใน 3-5 ปีข้างหน้า“ มีการวางแผนออกเป็น 3 เฟสด้วยกัน ได้แก่ เฟสแรกคือช่วงวางระบบอินฟราสตรัคเจอร์ต่างๆ เฟสที่สองเริ่มเอาเทคโนโลยีอย่างแอพพลิเคชั่นมาช่วยอำนวยความสะดวกแก่คนไข้ และให้พนักงานปฏิบัติงานได้ดีขึ้น และในเฟสสุดท้ายคือจะต้องเป็นองค์กรที่มีการทำงานแบบ Paperless ทุกอย่างทำผ่านระบบหมด สรุป การแข่งขันในธุรกิจโรงพยาบาลดุเดือดมากขึ้น เห็นได้จากเครือข่ายรายใหญ่ๆ ต่างทุ่มงบทำการตลาดอย่างหนัก ต้องมีการแย่งฐานลูกค้ากันยกใหญ่ การที่โรงพยาบาลพระรามเก้าขึ้นมาปรับตัวก็เป็นผลดีต่อแบรนด์ และอุตสาหกรรม พัฒนาเพื่อสิ่งที่ดีที่สุดให้ผู้บริโภค CR : brandinside.asia
21 ส.ค 2018