10 เคล็ดลับในการใช้ Instagram สำหรับธุรกิจ
10 เคล็ดลับในการใช้ Instagram สำหรับธุรกิจ นอกจาก Facebook แล้วยังมีโซเชียลมีเดียอื่นๆ ที่ให้แบรนด์เลือกใช้ในการสื่อสารกับผู้บริโภค ลองมาดู 10 เคล็ดลับในการใช้ Instagram ในเชิงธุรกิจกันดูบ้าง โซเชียลมีเดียแต่ละตัวขึ้นชื่อว่ามีคาแรคเตอร์ที่แตกต่างกันออกไป และมีกลุ่มผู้ใช้งานที่แตกต่างกันด้วย สำหรับ Instagram หลายคนเล่นเพื่อต้องการโชว์รูปภาพสวยๆ ไม่ต้องการเน้นอ่านข้อความใดๆ มาก แต่ในช่วงหลังก็ได้ออกฟีเจอร์ใหม่ๆ ทีเน้นเรื่องวิดีโอมากขึ้น ทำให้คนใช้งานแอคทีฟขึ้นเช่นกัน พบว่ามีหลายแบรนด์ที่เลือกใช้ Instagram ในการสร้างแบรนด์มากขึ้น ทำให้การเติบโตของการใช้งานสำหรับภาคธุรกิจเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยมีงานวิจัยพบว่า 66% ของแบรนด์มีการใช้ Instagram ในการสื่อสารกับผู้บริโภค ถือว่าเป็นการใช้โซเชียลมีเดียเป็นอันดับที่ 2 เพิ่มขึ้นจากอันดับที่ 4 ในปี 2017 หากแบรนด์ไหนที่วางแผนอยากใช้งาน Instagram ลองดู 10 เคล็ดลับในการใช้งานสำหรับธุรกิจ 1. เป็นตัวตนของตัวเองดีที่สุด แบรนด์ต่างๆ มักโดนกับดักของการใช้ภาพจาก Stock หรือภาพกราฟิกโปรโมตแบบเกินจริง แต่จริตของ Instagram เป็นเรื่องของความเรียล ความจริงใจ การที่ใช้ภาพแบบธรรมชาติยังช่วยให้ผู้บริโภคได้เห็นวัฒนธรรม หรือความเป็นตัวตนของแบรนด์ได้มากขึ้นด้วย ต้องโกไลฟ์แล้วตอนนี้การไลฟ์สดกลายเป็นเทรนด์ของการตลาดบนโลกออนไลน์ไปแล้ว โดยที่ 61% ของนักการตลาดบอกว่าพวกเขาวางแผนที่จะเพิ่มกลยุทธ์การไลฟ์สดให้มากขึ้น เพราะผู้ชมชอบดูคอนเทนต์แบบเรียลไทม์ จังหวะต้องดีInstagram เป็นแพลตฟอร์มที่มีการโพสท์คอนเทนต์ง่ายที่สุดแพลตฟอร์มหนึ่ง สามารถถ่ายภาพได้ทุกที่ที่คุณอยู่ พูดในที่ประชุม อยู่ในออฟฟิศ เปิดตัวสินค้าใหม่ แต่การโพสท์ต้องมีจังหวะในการโพสท์ที่ดี ต้องมีภาพที่เหมาะสมอยู่ในช่วงเวลาที่เหมาะสม ต้องมีการสนทนาตอบโต้เช่นเดียวกันกับโซเชียลมีเดียอื่นๆ ที่ต้องสร้างเอ็นเกจเมนต์กับผู้บริโภคให้ได้ เมื่อมีการโพสท์ก็ต้องมีการโต้ตอบ มีการสนทนาทั้งกับผู้บริโภคเอง หรือจะเป็นผู้มีอิทธิพลต่างๆ บนโลกออนไลน์ด้วยก็ได้ แนบลิงก์แปะบนประวัติของคุณความท้าทายที่พบเจอบ่อยมากที่สุดในการใช้ Instagram ก็คือผู้ใช้ไม่สามารถโพสท์ลิงก์บนแคปชั่น หรือคำบรรยายใต้ภาพได้ แต่สามารถแนบลิงก์ในส่วนของประวัติส่วนตัวที่อยู่ด้านบนของแพลตฟอร์มได้ จะเปลี่ยนลิงก์ตามจังหวะ หรือช่วงที่ต้องการโปรโมตสินค้า โปรโมชั่นต่างๆ ได้ ต้องเป็น StorytellerInstagram มีคาแรคเตอร์ในการเล่าเรื่องราวผ่านภาพ โพสท์ต่างๆ ควรเป็นมากกว่าการโพสท์โปรโมตแบรนด์ หรือสินค้า โปรโมชั่น แต่ควรเป็นการเล่าเรื่องราว เล่าสตอรี่ต่างๆ ผ่านภาพ และเชื่อมโยงมายังแบรนด์ เป็นอีกวิธีในการดึงดูดความสนใจได้ เทคโอเวอร์บัญชีอื่นๆการเข้าเทคโอเวอร์บัญชีที่มีฐานผู้ติดตามอยู่แล้ว ไม่ว่าจะป็นพาร์ทเนอร์ หรือคู่ค้าต่างๆ ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีในการสร้างทางลัดของการสร้างบัญชีเช่นกัน หรือมีการทำคอนเทนต์ร่วมกันกับบัญชีอื่นๆ ช่วยดึงดูดความสนใจ และเกิดประโยชน์ทั้งสองฝ่ายได้ ได้ดาต้าของผู้ชมนอกจากจะได้สื่อสารกับผู้บริโภคแล้ว ยังสามารถเก็บดาต้าของลูกค้า หรือผู้ติดตามได้ด้วย อาจจะเป็นจากการตอบคำถามจากคลิปวิดีโอสั้นๆ นำเสนอข้อเสนอพิเศษได้ ฟีเจอร์ Stories เป็นอีกฟีเจอร์ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในกลุ่มผู้ใช้ ทำให้มีการใช้งานแอคทีฟมากขึ้น แบรนด์ก็เริ่มมีการใช้ในการสื่อสารกับผู้ชมเช่นกัน โดยสามารถนำเสนอข้อเสนอพิเศษสำหรับคนที่ติดตาม Stories ของคุณได้ เพื่อกระตุ้นให้ผู้ชมมีส่วนร่วม และสร้างเอ็นเกจเมนต์กับแบรนด์ อย่าแค่ถาม แต่ต้องให้แสดงความคิดเห็นในอดีตแบรนด์อาจจะแค่ทำการสำรวจกับผู้บริโภคโดยการโพสท์ภาพบางอย่าง เพื่อทำการสำรวจความนิยมสินค้าในอนาคต แต่อย่าลืมที่จะให้ผู้บริโภคแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมด้วย อาจจะเปิดให้ Direct Messages หรือคอมเม้นต์ แล้วเอาความคิดเห็นมาพัฒนาต่อไปในอนาคต เชื่อเถอะว่ามันดีกว่าการตั้งคำถามปลายปิดว่าอันไหนดีกว่ากัน CR : Brandinside #ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่3
12 พ.ย. 2018
World Bank เผย ไทยครองอันดับ 3 ใน ASEAN ทำเริ่มต้นธุรกิจง่ายที่สุด แชมป์คือ “สิงคโปร์”
World Bank เผย ไทยครองอันดับ 3 ใน ASEAN ทำเริ่มต้นธุรกิจง่ายที่สุด แชมป์คือ “สิงคโปร์” World Bank จัดทำรายงานประเทศที่เริ่มต้นธุรกิจได้ง่ายที่สุด โดยอันดับ 1 ของอาเซียนคือประเทศสิงคโปร์ ส่วนประเทศไทยปีที่ผ่านมามีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยได้อันดับที่ 3 ของอาเซียน แต่ยังตามมาเลเซียอยู่ World Bank เผยรายงาน The Doing Business 2019 ซึ่งรายงานถึงความยากง่ายในการเริ่มต้นทำธุรกิจทั่วโลกฉบับล่าสุด ซึ่ง World Bank จัดทำรายงานนี้มากว่า 16 ปีแล้ว โดยปีนี้มีการเปลี่ยนแปลงหลายอันดับ ไม่ว่าจะเป็น อินเดีย จีน หรือแม้แต่ประเทศไทย ที่มีพัฒนาการของประเทศที่ดีขึ้น การประเมินด้านต่างๆ ของ World Bank ในรายงานฉบับนี้ประกอบไปด้วยการขอจดทะเบียนทำธุรกิจ การขออนุญาตก่อสร้างโรงงานหรือคลังสินค้า การขอติดตั้งไฟฟ้าเข้าสู่ธุรกิจ เรื่องของภาษี ข้อกฏหมายต่างๆ หรือแม้แต่ในด้านของแรงงาน ฯลฯ สำหรับในปีนี้ประเทศไทยครองอันดับที่ 27 ในรายงานนี้ และเป็นอันดับ 3 ในอาเซียน ส่วนแชมป์ในอาเซียนนั้นยังคงเหมือนเดิมคือประเทศสิงคโปร์ ตามมาด้วยมาเลเซีย ส่วนอันดับท้ายสุดคือติมอร์ตะวันออก มุมมองของ World Bank สำหรับพัฒนาการของประเทศไทยในปีที่ผ่านมาสำหรับการเริ่มต้นทำธุรกิจ มองว่าการขอไฟฟ้าง่ายขึ้น การจดทะเบียนธุรกิจใหม่ง่ายขึ้นกว่าเดิม มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการขนส่งสินค้าข้ามชายแดน อย่างเช่น E-Matching รวมไปถึงการจ่ายภาษีของกรมสรรพากรที่สะดวกมากยิ่งขึ้น ส่วนอันดับ 1 ในการทำธุรกิจที่ง่ายที่สุดในโลกคือประเทศนิวซีแลนด์ ในปีที่ผ่านมานั้นประเทศนิวซีแลนด์ได้ลดค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนธุกิจลดลงกว่าเดิม และมีขั้นตอนต่างๆ ใช้เวลาไม่กี่ชั่วโมงก็สามารถจดทะเบียนบริษัทในประเทศได้ ส่วนประเทศจีนสามารถทำอันดับให้ติด 1 ใน 50 ประเทศที่สามารถทำธุรกิจได้ง่าย ปีที่ผ่านมานั้นทางการจีนพัฒนาในเรื่องสำคัญๆ โดยเฉพาะการขอติดตั้งไฟฟ้าจากเดิมอยู่ที่ประมาณ 150 วัน ลดลงเหลือเพียงแค่ประมาณ 30 วัน ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญมาก อีกประเทศที่ต้องจับตามองคือประเทศอินเดีย หลังจากที่นายกรัฐมนตรีของประเทศอินเดียเคยประกาศศนโยบายให้ประเทศอินเดียสามารถทำธุรกิจได้ง่ายขึ้นมากกว่าเดิม ล่าสุดในรายงานนี้ อินเดียสามารถติดอันดับที่ 77 ประเทศที่ทำธุรกิจได้ง่าย ซึ่งในปีที่แล้วอินเดียนั้นอยู่ที่อันดับ 100 CR : Brandinside #ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่3
09 พ.ย. 2018
รายงาน Global Digital Trends ไตรมาส 4 ปี 2018 มีคน 3.4 พันล้านคน เล่น Social Media เป็นประจำ
รายงาน Global Digital Trends ไตรมาส 4 ปี 2018 มีคน 3.4 พันล้านคน เล่น Social Media เป็นประจำ Hootsuite และ We are Social เปิดเผยรายงาน 2018 Global Digital Trends ประจำไตรมาส 4 เผยให้เห็น “พันล้านถัดไป” กำลังจะกลายเป็นเรื่องจริงในเร็ววัน เนื่องมาจากมีผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตมากขึ้นเรื่อยๆ ในประเทศกำลังพัฒนา โดยตอนนี้มนุษย์กว่า 4.18 พันล้านคนเข้าถึงโลกอินเทอร์เน็ต และมีคน 3.4 พันล้านใช้โซเชี่ยลมีเดียเป็นประจำ ทำให้คำพูดที่ว่า “อินเทอร์เน็ตกำลังจะครอบครองโลก” อาจจะกลายเป็นจริง เพราะโลกแห่งความบันเทิงที่ถูกเปิดกว้าง ให้ได้ง่ายและสะดวกสบาย ตลอดหลายปีที่ผ่านมา มีรายงานมากมายออกมาเปิดเผยจำนวนผู้ใช้อินเตอร์เน็ตจำนวนมากด้วยอัตราการเติบโตที่รวดเร็วในแต่ละปี จึงไม่น่าแปลกใจเท่าไหร่หากในปี 2018 นี้จะมีมนุษย์เกือบ 4.2 พันล้านคนอยู่บนโลกออนไลน์ ซึ่ง 3.4 พันล้านในจำนวนนั้นคือผู้ใช้ Social Media เป็นประจำ รายงานนี้ยังแสดงให้เห็นถึงมีคนมากขึ้นเรื่อยๆ ที่ติดต่อกันทางอุปกรณ์มือถือ จากผู้ใช้อินเตอร์เน็ตผ่านมือถือ 5.11 พันล้านคน มี 3.17 พันล้านคนที่เป็นผู้ใช้ Social Media เป็นประจำด้วยเช่นกัน สงครามของ Social Media สงครามระหว่างแพลตฟอร์ม Social Media ยังคงดำเนินต่อไป ในปี 2018 ด้วย Facebook เป็นผู้นำในกลุ่ม แม้ว่าจะมีปัญหาต่างๆ มากมายเกินขึ้นในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา แต่ Facebook ก็สามารถดึงดูดผู้ใช้งานใหม่มากได้ถึง 38 ล้านคนใน 3 เดือน หรือ 1.7% ต่อไตรมาส ตามหลัง Facebook มาติดๆ ก็คือ YouTube และ Whatsapp ซึ่งครองตำแหน่งที่ 2 และ 3 ได้สำหรับแพลตฟอร์มที่มีคนใช้งานมากที่สุด ความกังวลต่อความปลอดภัยแต่ละประเทศต่างกัน แม้ว่าไม่สามารถชี้ชัดได้ว่าทำไมแต่ละประเทศถึงมีความกังวลต่อความปลอดภัยต่างกัน รายงานนี้ได้แสดงให้เห็นผู้ใช้อินเตอร์เน็ตในประเทศสเปนมีความกลัวมากที่สุดว่าข้อมูลส่วนตัวจะรั่วไหล ส่วนเทรนด์สำหรับแอปฯ มือถือในไตรมาสที่ 4 นั้นไม่ได้ต่างจากไตรมาสที่ 3 มากนัก แต่อุตสาหกรรมแอปฯ นั้นมีจำนวนมากขึ้นถึง 29 พันล้านแอปฯ ที่สามารถดาว์นโหลดได้ รายงานนี้ยังแสดงจำนวนเงินประมาณ 20 พันล้านดอลลาร์ที่ถูกใช้บนแอปฯ หรือเมื่อเฉลี่ยออกมาแล้วจะประมาณ 3.70 ดอลลาร์ต่อสมาร์ทโฟนแต่ละเครื่องที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ทั้งหมดทั้งมวลแล้ว เกมบนมือถือเหมือนจะได้รับความนิยมมากที่สุดในหมู่ของผู้ใช้อินเตอร์เน็ต และมียอดรวมรายได้มากที่สุดอีกด้วย ทางด้านอุปกรณ์ที่ใช้เขื่อมต่ออินเตอร์เน็ต ในตอนนี้มือถือสมาร์ทโฟนครองส่วนแบ่งมากที่สุดที่ 51.6% ในขณะที่คอมพิวเตอร์ PC และโน้ตบุ๊คนั้นอยู่ลำดับที่ 2 ด้วยส่วนแบ่ง 44.1% แต่เมื่อดูตัวเลขการเปลี่ยนแปลงจะพบว่า คอมพิวเตอร์มีการเติบโตขึ้น 2% แต่มือถือสมาร์ทโฟนนั้นลดลง 1% CR : Brandbuffet #ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่3
07 พ.ย. 2018
Halal Tourism ฮาลาล อนาคตใหม่ของการท่องเที่ยวระดับโลก
Halal Tourism ฮาลาล อนาคตใหม่ของการท่องเที่ยวระดับโลก แม้นักท่องเที่ยวจีนจะยังคงเป็นกลุ่มนักเดินทางที่สร้างรายได้ให้แก่ธุรกิจในหลายประเทศ พวกเขาเริ่มเรียนรู้มารยาทในการท่องเที่ยวและเริ่มมีอารยะอย่างตะวันตก และยังคงมีประชากรจากแดนมังกรจำนวนมากที่มองว่าการเดินทางไปต่างประเทศเป็นอีกหนึ่งรูปแบบของการแสดงความความร่ำรวยและการมีไลฟ์สไตล์ใหม่ที่เหนือกว่าการเที่ยวผ่านบริษัททัวร์ แต่ในปี 2018 กลุ่มนักท่องเที่ยวที่น่าจับตามองคือชาวมุสลิม หลังจากการเกิดขึ้นของเหตุการณ์ 9/11 ทำให้ชาวมุสลิมได้รับการจับตามองในการเข้าสหรัฐอเมริกา และบางประเทศในแถบยุโรป จุดหมายปลายทางอย่างประเทศในแถบเอเชียจึงเป็นทางเลือกใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนมาถึงกระแสการท่องเที่ยวฮาลาลที่กำลังเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก นักท่องเที่ยวกลุ่มนี้จะสามารถสร้างมูลค่าให้แก่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของโลกถึง 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2020 (จากรายงานของ MasterCard และ Crescent Rating) พร้อมด้วยกลุ่มชนชั้นกลางที่ขยายตัวอย่างมากและต้องการท่องเที่ยวเพื่อแสดงไลฟ์สไตล์ในฐานะเครื่องมือแสดงสถานะทางสังคม โดยมีการใช้จ่ายเงินต่อทริปมากถึง 2,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 70,000 บาทไทย โรงแรมขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ถนนพระราม 9 อย่างโรงแรมอัลมีรอซ (Al Meroz) คือโรงแรมฮาลาลแห่งแรกในประเทศไทย เมื่อเกิดความต้องการ อุปทานตอบรับอย่างโรงแรมนี้จึงเกิดขึ้นเพื่อรองรับการมาถึงของนักท่องเที่ยวจากตะวันออกกลาง โดยเฉพาะ โครงสร้างอาคารคล้ายมัสยิด ห้องละหมาด ห้องรับประทานอาหารฮาลาลขนาดใหญ่จำนวน 3 ห้อง ทุกห้องมีลูกศรชี้ทิศกิบลัต ณ นครมักกะฮ์ ผ้าปูละหมาด และอัลกุรอาน สภาพแวดล้อมสวยงามและปราศจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จากรายงานของ Global Muslim Index กล่าวว่ามาเลเซียเป็นหนึ่งในผู้นำด้านการสร้างการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรต่อนักท่องเที่ยวมุสลิม ถึงขนาดเปลี่ยนบางส่วนของเมืองกัวลาลัมเปอร์ให้เป็นย่าน Ain Arabia ย่านสำหรับนักท่องเที่ยวมุสลิมที่ตั้งอยู่บนถนนบูกิตบินตัง ย่านนี้เรียงรายด้วยร้านอาหารอาหรับและตะวันออกกลาง ร้านแฟชั่นบูธีค โรงแรมสำหรับชาวมุสลิม ร้านตัดผมที่มีช่างชาวบังคลาเทศผู้เชี่ยวชาญสำหรับการตกแต่งหนวดเคราโดยเฉพาะ และห้างสรรพสินค้าที่ครอบครัวจากซาอุดีอาระเบียหรืออาหรับจะใช้เวลาช้อปปิ้งได้อย่างเพลิดเพลิน มีร้านปลอดแอลกอฮอลล์แต่สนุกได้ด้วยการสูบชิชาและดื่มชา ในขณะเดียวกัน ประเทศต่างๆ อย่างประเทศไทย ญี่ปุ่น ไต้หวัน และสิงคโปร์ ต่างก็กำลังเดินหน้าพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวมุสลิม เช่น ประเทศไทยที่นอกจากจะมีโรงแรมแล้ว รัฐบาลยังมีแอพพลิเคชั่นที่ช่วยแนะนำร้านอาหารฮาลาลและสถานที่ที่นักท่องเที่ยวมุสลิมสามารถเดินทางได้ ในขณะที่สถานีรถไฟในไต้หวันก็มีห้องละหมาดและเริ่มมีร้านอาหารฮาลาลเปิดให้บริการในประเทศมากขึ้น เจ้าของธุรกิจโรงแรมรวมถึงธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวอื่นๆ จึงควรเตรียมพร้อมเรื่องสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เพื่อต้อนรับเหล่านักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ได้อย่างสมบูรณ์ อาหารฮาลาล บริการสำคัญอันดับหนึ่ง ทุกเมนูจำเป็นต้องได้รับการรับรองตราสัญลักษณ์ฮาลาลสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการละหมาด ชาวมุสลิม 63 เปอร์เซ็นต์ทำละหมาดวันละ 5 ครั้ง ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีบริการและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ พร้อมสรรพ เช่น พื้นที่สำหรับการอาบน้ำละหมาด เป็นต้นห้องอาบน้ำ น้ำสะอาดเป็นสิ่งสำคัญสำหรับชาวมุสลิม การมีพื้นที่ชำระร่างกาย และผลิตภัณฑ์ที่ปราศจากส่วนผสมจากสัตว์หรือแอลกอฮอลล์ จึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้ามสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการพักผ่อน ไม่ว่าจะเป็นสระว่ายน้ำที่แบ่งชาย-หญิง ห้องออกกำลังกายหรือชายหาดที่แบ่งการใช้งานตามเพศ ตลอดจนพื้นที่ส่วนกลางสำหรับครอบครัว มุสลิมรุ่นใหม่ ช้อป ชิม แชร์ และเข้าถึงประสบการณ์ท้องถิ่น หนุ่มสาวมุสลิมรุ่นใหม่เริ่มให้ความสนใจเรื่องการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมมากขึ้น พร้อมเปิดรับและเรียนรู้วัฒนธรรมใหม่ๆ โดยที่ยังสามารถปฏิบัติตามหลักทางศาสนาได้อย่างครบถ้วน ฟาซาล บาฮาร์ดีน (Fazal Bahardeen) ผู้ก่อตั้ง Crescent Rating กล่าวว่า “ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการท่องเที่ยวของชาวมุสลิม (Muslim Tourism) คือผู้คนคิดว่าต้องทำสิ่งที่มุสลิมทำ แต่ไม่ใช่เลย พวกเขาต้องการทำสิ่งที่นักท่องเที่ยวทุกคนทำ ช้อปปิ้ง เดินชายหาด หรือสัมผัสประสบการณ์ท้องถิ่น พวกเขาต้องการสนุกเหมือนกับทุกคน เพียงแต่พวกเขาต้องการแน่ใจว่าจะไม่ต้องเป็นกังวลเรื่องความต้องการทางศาสนาขั้นพื้นฐานของพวกเขาก็เท่านั้น” นี่จึงเป็นที่มาของธุรกิจอย่าง Muslim History Tours บริการพานักท่องเที่ยวไปจิบชาฮาลาลบนเรือครูซล่องในแม่น้ำเทมส์ ทัวร์ขึ้นเขาคิริมันจาโร ตลอดจนการเที่ยวทั้งครอบครัวที่เกาะมาชูปิกชู โดยบริษัท Serendipity Tailormade ที่จะพาไปสัมผัสกับความเป็นท้องถิ่นอย่างแท้จริง พบปะผู้คนและประสบการณ์ใหม่ในท้องถิ่น โดยตลอดทริปจะมีการแบ่งเวลาสำหรับกิจกรรมทางศาสนาอย่างเหมาะสม ชาวมุสลิมรุ่นใหม่สร้างเทรนด์การท่องเที่ยวผ่านโซเชียลมีเดียหลายช่องทาง ทั้งในเชิงแนะนำว่าพื้นที่ไหนเป็นมิตรและพื้นที่ไหนไม่เหมาะสม รวมถึงสร้างกระแสเที่ยวคนเดียวก็ลุยได้ จนเกิดเป็นอินฟลูเอนเซอร์ บล็อกเกอร์ หรือเพจต่างๆ ให้ได้กดติดตาม ยกตัวอย่างผู้หญิงมุสลิมจากอินโดนีเซียอย่างดิอัน เปลังกี (Dian Pelangi) ที่สร้างแรงขับเคลื่อนสำคัญต่อวงการแฟชั่นและการท่องเที่ยวสำหรับชาวมุสลิม ด้วยจำนวนผู้กดติดตามกว่า 4.8 ล้านคน กับภาพการท่องเที่ยวซึ่งแต่ละที่นั้นล้วนน่าสนใจและชุดคอสตูมแต่ละทริปของเธอก็น่าติดตาม อีกหนึ่งธุรกิจที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวสำหรับชาวมุสลิมคือสปาและการพักผ่อน โปรเจ็กต์ที่น่าจับตามองอย่าง Zulal Destination Spa รีสอร์ทเพื่อการพักผ่อนระดับ 6 ดาวในโดฮา ที่แนะนำตัวเองว่าเป็นรีสอร์ทแรกที่รวบรวมบริการเพื่อการพักผ่อนมาไว้แบบครบวงจร โดยเน้นโปรแกรมการพักผ่อนแบบดั้งเดิมจากสาขาต่างๆ ของอิสลาม ทั้งเรื่องโภชนาการ ความสวยงาม การนวด กลิ่นหอม น้ำ ความสมดุล การฝึกพลังงานในร่างกาย ทั้งนี้โปรแกรมต่างๆ ถูกออกแบบเพื่อรองรับผู้เข้าพักที่ต้องการประสบการณ์ใหม่ในการพักผ่อนที่ดีที่สุด โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนเมษายน ปี 2018 CR : TCDC #ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่3
30 ต.ค. 2018
Ookbee : Content is always King
Ookbee คือสตาร์ทอัพเจ้าแรกๆ ในประเทศไทยที่เข้ามาจับตลาด e-book อย่างจริงจังและประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูง วันนี้พวกเขาเติบโตและเลือกที่จะปรับรูปแบบธุรกิจจากการเป็นเจ้าของแพล็ตฟอร์ม e-book รายใหญ่ ไปสู่เส้นทางของการเป็นผู้ผลิตคอนเทนต์รายสำคัญที่น่าจับตามอง มากไปกว่านั้น เมื่อต้นปีที่ผ่านมาพวกเขายังสามารถระดมทุนได้มากถึง 19 ล้านดอลลาร์จากบริษัทอินเตอร์เน็ตยักษ์ใหญ่จากจีนอย่าง Tencent เพื่อขยายธุรกิจได้อีกด้วย Ookbee จึงเป็น Success Story ที่เป็นแนวทางให้กับคนทำสตาร์ทอัพรุ่นใหม่ได้เรียนรู้วิธีทำธุรกิจได้ในทุกแง่มุม พบกับเรื่องราวของ Ookbee สตาร์ทอัพที่เติบโตอย่างไม่หยุดยั้งได้ใน Startup The Series – EP21 : Ookbee : Content is always King https://thestandard.co/startup-series-ep21-ookbee-content-…/ CR : Thestandard #ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่3
24 ต.ค. 2018
วิเคราะห์อนาคตการตลาดปี 2019 ผ่าน 9 เทรนด์ Digital Marketing ที่ควรแชร์เก็บไว้
โลกของเราหมุนเร็วขึ้นทุกวัน เช่นเดียวกับปี 2018 ที่กำลังจะผ่านไปในอีกไม่กี่เดือนที่จะถึง ซึ่งปีที่ผ่านมาผมได้เขียนเอาไว้ในคอลัมน์ THE STANDARD ในเรื่องของเทรนด์ และแต่ละเทรนด์ที่เขียนไปก็เกิดขึ้นจริงหลายอย่างในปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นการโฆษณาแบบจริงใจตรงไปตรงมาที่มีมากขึ้น มีแบรนด์ได้ทำ LINE BCRM จำนวนมาก และโปรโมตผ่านช่องทางนี้เยอะขึ้น ประเทศไทยมีงานโฆษณาที่ไปได้รับรางวัล Branded Entertainment ที่เวที Cannes Lions 2018 ส่วนในเวทีการแข่งขัน eSports ก็คลาคล่ำไปด้วยแบรนด์ต่างๆ ทั้งสปอนเซอร์ทีม จัดการแข่งขัน หรือ Tie-in Promotion การใช้ Micro-Influencer ที่มากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด รวมไปถึงหลาย ๆ แบรนด์ที่เริ่มเข้าใจดิจิทัลมากขึ้น และได้ลงทุนอย่างถูกจุดมากขึ้น ทำให้เกิดสิ่งที่น่าสนใจหลายอย่างที่เราควรศึกษาไว้ ตลอดปี 2018 มีเทคโนโลยีใหม่ๆ พฤติกรรมใหม่ๆ เกิดขึ้นทุกวัน การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของอัลกอริทึม ฟังก์ชันลูกเล่นใหม่ๆ ของโซเชียลมีเดีย การปรับตัวขึ้นของราคาค่าโฆษณาในช่องทางต่างๆ การปรับตัวของสื่อต่างๆ การจับมือเป็นพันธมิตร การขยายช่องทางการรับชมผ่านแพลตฟอร์มตัวเอง หรือแพลตฟอร์มใหม่ๆ การควบรวมกิจการของเจ้าของสื่อและคอนเทนต์ ทั้งหมดนี้ทำให้พฤติกรรมการเสพสื่อดิจิทัลเปลี่ยนไป ไม่ว่าจะเป็นฝั่งผู้บริโภคเอง หรือฝั่งนักการตลาดเองที่จะต้องปรับตัวตามให้ทันโลกเหล่านี้ และนี่คือ 9 เทรนด์ของ Digital Marketing ที่จะเข้ามามีผลต่อการวางแผนการตลาดต่อไปในปีหน้า 2019 Year of Offline – Online Equilibrium: เพราะไม่มีสื่อช่องทางใด เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่ได้ด้วยราคาที่ถูกอีกต่อไป ปีหน้าจะเป็นปีที่เข้าสู่สมดุลของการใช้สื่อ Offline และ Online อย่างเหมาะสมมากขึ้น จากข้อมูลการเติบโตของสื่อทั้งจากสมาคมมีเดียเอเจนซีและธุรกิจสื่อแห่งประเทศไทย รวมไปถึงสมาคมโฆษณาดิจิทัลแห่งประเทศไทยชี้ตรงกันว่า สื่อดิจิทัลโตต่อเนื่องที่ 20% ทุกปี แต่สื่อเดิมๆ อย่าง โทรทัศน์ วิทยุ และสื่อเอาต์ดอร์ เริ่มมีการเติบโตอย่างคงที่ ไม่ลดลงฮวบฮาบเหมือนตอน 3-4 ปีที่แล้วที่ดิจิทัลมาใหม่ๆ ยังคงเหลือแต่สื่อหนังสือพิมพ์ นิตยสารที่ยอดการเติบโตลงทุกปี อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงการรับสื่อคอนเทนต์ประเภทการอ่านที่เปลี่ยนมาเป็นดิจิทัลแบบเต็มตัว ซึ่งถ้ามองให้สอดคล้องกับรายงานว่า สื่อโฆษณาอย่าง เฟซบุ๊กปรับขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ รวมไปถึงสื่ออื่นๆ นั้น อาจคาดการณ์ได้ว่าการเติบโตของเม็ดเงินโฆษณาอาจมาจากราคาที่แพงขึ้น ทำให้เห็นว่าแท้จริงแล้ว ปริมาณ Advertisers ที่ไหลลงสื่อดิจิทัลในเชิงปริมาณอาจคงที่นั่นเอง สาเหตุหนึ่งเพราะเนื่องมาจากแบรนด์หลายๆ แบรนด์ปรับตัวและปรับกลยุทธ์การสื่อสารทางดิจิทัลกันมาสักระยะหนึ่ง จนเจอจุดสมดุลของการวางแผนสื่อให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย ดังนั้นเทรนด์ในปีหน้าคือการประยุกต์ใช้สื่ออย่างสมดุลเพื่อตอบโจทย์ทางการตลาด ไม่ใช่การทุ่มเงินไปช่องทางดิจิทัลเพียงอย่างเดียว เพราะมีราคาที่แพงขึ้นมาก ในขณะที่ Offline Media เริ่มกลับมามีอิทธิพลมากขึ้น สอดคล้องกับหลัก Demand – Supply ของราคาสื่อ ข้อสังเกตอีกอย่าง คือในช่วงไตรมาสแรก ราคาสื่อจะแพงขึ้นทุกช่องทางด้วยผลกระทบจากการเลือกตั้งต้นปีที่เม็ดเงินจากพรรคการเมืองจะไหลมาครอบครองพื้นที่สื่อมากขึ้น และทำให้อัตราสูงขึ้นอย่างมาก ซึ่งย่อมกระทบต่อราคาการโฆษณาบนออนไลน์ในช่วงต้นปี แต่จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติได้ในช่วงไตรมาสถัดมา The Modern-Traditional Media: ปีของการใช้หลักการสื่อเก่า ปรับลงช่องทางสื่อใหม่ ต่อเนื่องจากจุดสมดุลของการใช้สื่อเทรนด์การตลาดปีหน้า จะมาพร้อมกับกลยุทธ์การใช้งานสื่อผ่านแนวคิด ‘หลักการสื่อเก่า บนช่องทางสื่อใหม่’ ผ่านสื่อที่เรียกว่า The Modern TV, The Modern Print, The Modern Newspaper and The Modern Radio ซึ่งหลักการในการทำโฆษณาจะเหมือนยุคเดิม ไม่ว่าจะเป็นการทำโฆษณาแบบสื่อสารกระชับ และตรงจุดไม่ยาวเวิ่นเว้อแบบ 15 วินาทีของโฆษณาทีวี แต่เปลี่ยนมาอยู่ใน The Modern TV แทน หรือการโฆษณาเชิงประชาสัมพันธ์แบบพาดหัวข่าว กลับกลายมาอยู่ในรูปแบบของ Twitter Trend หรือ LINE TODAY แทน ประกอบไปด้วย The Modern TV – Facebook Watch, YouTube Video, LINE TV, Twitch, Netflix The Modern Newspaper – Twitter Trends, LINE TODAY The Modern Radio – Joox, Spotify, Podcast, YouTube กลุ่ม Music หากนักการตลาดเข้าใจหลักการโฆษณาอย่างได้ผลแบบเดิม แต่ปรับวิธีการให้เหมาะสมมากขึ้นบนช่องทางใหม่ๆ ย่อมจะทำให้เราใช้สื่อเหล่านี้ได้มีประสิทธิภาพได้ถึงขีดสุด ปัญหาเรื่อง Privacy ของเฟซบุ๊ก ความเชื่อมั่นที่ถดถอย และดราม่ารายวัน จะทำให้วัยรุ่นและ GenY ทำกิจกรรมน้อยลงในเฟซบุ๊ก แต่จะหันไปบ่นถี่ขึ้นในช่องทางอื่นๆ เช่น Instagram Stories / Twitter ในปี 2018 ถือเป็นปีซวยของพี่มาร์กและเฟซบุ๊กก็ว่าได้ ทั้งเรื่องถูกฟ้อง ถูกสอบสวนจากสภาคองเกรส รวมไปถึงการเกิดคำถามสำคัญของผู้ใช้งานเฟซบุ๊กที่เริ่มตระหนักมากขึ้นว่า ‘เฟซบุ๊กปลอดภัยจริงหรือ’ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของข่าวปลอมที่แทรกแซงเรื่องการเมือง รวมไปถึงข่าวใหญ่ที่มีผู้ใช้งานถูกล้วงข้อมูลไปกว่า 50 ล้านบัญชี สร้างคำถามตัวเบ้อเริ่มในการใช้งานแพลตฟอร์มดังกล่าว อีกทั้งเรื่องดราม่าที่เกิดจากการโพสต์ หรือคอมเมนต์มากเกินไป ก็ทำให้คนเลือกที่จะแชร์เรื่องราวของตัวเองน้อยลง ยิ่งส่งผลต่อ Engagement ที่ตกลงอย่างมากในปีที่ผ่านมา แต่ในขณะเดียวกัน Instagram Stories และ Twitter ได้รับความนิยมอย่างมากจากกลุ่มวัยรุ่น และ Gen Y โดยเฉพาะ Instagram Stories ที่เริ่มเพิ่มฟีเจอร์สใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นโพล หรือการทำ Interactive Function ที่คนดูสามารถเล่นกับคนโพสต์ได้ นับเป็นการเปิดโอกาสในการสร้างเอ็นเกจเมนต์ใหม่ๆ ของแบรนด์ผ่านชาวดิจิทัลแทนที่จะทำบนเฟซบุ๊ก ซึ่งจะกลายเป็นพื้นที่ของกลุ่มคนสูงอายุ และกลุ่มลูกค้าที่เพิ่งเข้ามาใช้งานแทน สิ่งที่เกิดขึ้น และจะกลายเป็นเทรนด์ของปีหน้าคือ แบรนด์ที่คาดหวังกิจกรรมทางการตลาดอาจจะต้องกำหนดเป้าหมายใหม่ว่า หากจะสร้างเอ็นเกจเมนต์ต่อแบรนด์ให้มากขึ้น ช่องทางอย่างเฟซบุ๊กอาจจะไม่ใช่ช่องทางที่เหมาะสมอีกต่อไป การเปิดเสรี Non-Skip Ad จาก YouTube และโฆษณา Facebook Ad-Break จะเป็นตัวเร่งให้ประเทศไทย เข้าสู่ช่วงเริ่มต้นของการเป็น Ad-Block Country (ประเทศที่มีการใช้ตัวบล็อกโฆษณาในปีหน้า) จากข่าวที่ ยูทูบเตรียมเปิดให้พาร์ตเนอร์และผู้ผลิตคอนเทนต์ทุกรายสามารถเปิดรับโฆษณาชนิดกดข้ามไม่ได้จากยูทูบ เพื่อสร้างรายได้เพิ่มขึ้น อาจเป็นตัวเร่งกิริยาของ Ad Block ในประเทศไทยให้เพิ่มมากขึ้น จะยิ่งทำให้นักการตลาดทำงานยากมากขึ้นในการเข้าถึงผู้บริโภคผ่านโฆษณาออนไลน์ และอาจจะต้องหาวิธีการใหม่ๆ ที่มากกว่าการทุ่มเงินซื้อโฆษณา ผ่านเฟซบุ๊กและยูทุบ (ปัจจุบันจำนวน % ของคนใช้โปรแกรมปิดโฆษณาอยู่ที่ 6% และประเทศที่ใช้เยอะสุดอย่างอินโดนีเซีย อยู่ที่ 58%) ซึ่งอีกประเด็นที่จะทำให้เรื่องนี้กลายเป็นปัญหาระดับชาติของทุกแบรนด์และบรรดา Publishers คือการที่บริการ AdBlock Application ถูกพัฒนาให้ปลอดจากภัยไวรัสแฝงมัลแวร์ และมีการกระจายต่อของผู้ใช้งานจริงเป็นวงกว้าง การสร้างแบรนด์บนยุคดิจิทัลในปีหน้า คือการพูดให้เป็นมนุษย์ และทำให้ได้ตามสัญญา ในปีที่แล้วเราพูดถึงความจริงใจและความโปร่งใส คือการสร้างแบรนด์ในยุคที่คนพูดคุยกัน เข้าถึงกัน ดังนั้นปีที่ผ่านมาเราจึงเห็นโฆษณาจำนวนมาก มีความ ‘เป็นมนุษย์’ มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการขายโต้งๆ ว่านี่คืองานโฆษณานะ เอาลูกค้ามาเล่นในโฆษณา หรือการมองมุมใหม่ของโลชั่น แชมพู ยาสระผม ที่สร้างคุณค่าบนความ ‘จริง’ Photo: Colin Kaepernick / twitter แต่ในขณะเดียวกัน เมื่อทุกคนต่างมุ่งมาทางความจริงใจในการสร้างแบรนด์ สิ่งที่จะเป็นเทรนด์ หรือยกระดับแบรนด์ขึ้นมาคือ การ ‘ทำ’ ให้ได้ตามสัญญา หรือทำให้ได้ตามจุดขายที่เราสื่อออกไป ยกตัวอย่างแคมเปญที่ผมมองว่า นี่คือการสร้างแบรนด์ที่แท้จริงในยุคนี้อย่าง Nike กับโฆษณาของ Colin Kaepernick ที่มาพร้อมความเชื่อที่ยิ่งใหญ่ อย่างคำที่ว่า ‘จงเชื่อในบางสิ่ง แม้มันจะหมายถึงการเสียสละทุกสิ่ง’ ซึ่ง Nike หยิบเอาคนอย่าง เคเปอร์นิก ที่เริ่มการต่อต้านเชิงสัญลักษณ์กับประเด็นการกระทำที่ไม่ชอบธรรมต่อคนผิวสีของตำรวจ ด้วยการคุกเข่าระหว่างการเคารพเพลงชาติอเมริกาในเกม NFL จนเกิดกระแสบอยคอตและถูกสั่งแบนจากการแข่งขันมาเป็นตัวแทนของความเชื่อ ทั้งๆ ที่แบรนด์รู้อยู่แล้วว่าจะเกิดปัญหาตามมาเป็นอย่างมากหากแบรนด์เลือกประเด็นละเอียดอ่อนนี้มาเล่น แต่ Nike ก็ทำ และเกิดกระแสไม่พอใจอย่างมากจนหุ้นร่วง แต่ทว่าไม่กี่วันถัดมายอดขายออนไลน์กลับพุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ เพราะคนรุ่นใหม่ และกลุ่มคนที่ยอมรับในความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรมส่วนใหญ่กับเห็นด้วยในการกระทำที่กล้าหาญนี้ ที่ทำตามความเชื่อโดยไม่กลัวยอดขายตกลงอย่างแท้จริง กลายเป็นแรงสนับสนุนชั้นดีของแบรนด์และนี่คือการสร้างแบรนด์แบบใหม่ในปีหน้านี้ Evolution of influencer: ยุค Influencer ปรับตัวเพื่ออยู่รอด ดาราสร้างคอนเทนต์เอง การคัดกรอง และฟองสบู่ของ Micro Influencer รวมถึงการมองนอกเหนือจากธุรกิจสู่ความสัมพันธ์แบบยั่งยืน Influencer Marketing เป็นอีกหนึ่งเทรนด์ที่มีทุกปีแต่ก็เปลี่ยนไปตามสถานการณ์ทุกปี และในปีนี้เทรนด์ที่มาแรงมากที่สุด คือการที่อินฟลูเอนเซอร์ระดับเซเลบริตี้ลงมาสร้างช่องทางของตัวเอง อย่างเช่น This is Me, VATANIKA หรือ เจ้าป่าเข้าเมือง ซึ่งสาเหตุหลักๆ หนีไม่พ้นการลงทุนในการสร้าง Owned Media Channel เพื่อติดต่อกับแฟนๆ ของตัวเอง และเพื่อทำให้ตัวเองกลับมาอยู่ในกระแสตลอดเวลา ในยุคที่มีรายการที่มีอินฟลูเอนเซอร์และเรื่องอื่นๆ มาคอยแย่งเวลาของคนในดิจิทัลไปหมด หากเซเลบริตี้นั่งรอรายการเรียกตัวไปออก หรือรอบทละครดีๆ เข้ามาก็คงไม่ทันโลกที่หมุนเร็วแบบนี้ การสร้างรายการของตัวเองผ่านแพลตฟอร์มโซเชียล คือทางเลือกที่ดีที่สุดในการทำให้ตัวเองกลับมามีผู้ติดตาม และอยู่ในกระแสอีกครั้ง อีกประเด็นหนึ่งคือ ปีนี้ Micro Influencer คือเทรนด์ที่เกิดขึ้นและแบรนด์ต่างหันมาใช้งานกันมากที่สุด แต่สิ่งที่จะตามมาคือ แบรนด์ยังคงใช้แนวคิดแบบผลัก Message แต่แทนที่จะใช้อินฟลูเอนเซอร์ตัวใหญ่ จะกลับมาใช้อินฟลูเอนเซอร์ตัวเล็กในจำนวนมากแทน โดยใช้ #Hashtag เดียวกัน โพสต์แบบเดียวกัน และสุดท้ายก็กลับไปในจุดที่หลายแบรนด์กำลังใช้งานอินฟลูเอนเซอร์แบบบิลบอร์ดมากกว่าจะเป็นผู้มีอิทธิพลทางความคิดที่แท้จริง สุดท้ายแล้วราคาที่จ่ายไปกับสิ่งที่ได้มาไม่สอดคล้องกัน กลายเป็นฟองสบู่ที่แบรนด์อาจจะเลิกใช้ และอินฟลูเอนเซอร์อาจจะได้งานยากขึ้นถ้าไม่ลดราคา ดังนั้นในปี 2019 จะเกิดการคัดกรอง Quality Influencer มากขึ้นไม่ว่าจะเป็นระดับ Macro หรือ Micro ที่ทำงานเชิง Branded Content เป็น และการได้ทำงานกับแบรนด์ที่เข้าใจการใช้งาน และใช้ Micro Influencer อย่างถูกต้องเท่านั้น จึงจะได้ผล สุดท้ายคืออินฟลูเอนเซอร์ที่อยู่มานานจนกลายเป็นสื่อใหม่ทรงอิทธิพลจะเริ่มเรียกร้องหาความจริงใจ และความสัมพันธ์อย่างยั่งยืนจากแบรนด์มากกว่าความสัมพันธ์เชิงธุรกิจอย่างเดียว การโฆษณาโดยการจ่ายเงินและบังคับให้ลงตามต้องการ จะทำให้อินฟลูเอนเซอร์เป็นกังวลเรื่องความน่าเชื่อถือและส่งผลต่อผู้ติดตามของตนเอง ยิ่งโดยเฉพาะทุกวันที่มีอินฟลูเอนเซอร์หน้าใหม่มาแรงมากขึ้น การสร้างคอนเทนต์เชิงโฆษณาแบบขายของ จึงต้องการการทำงาน ‘ร่วมกันกับแบรนด์’ มากกว่าเดิม ในปีหน้าการสร้างความสัมพันธ์และการทำงานร่วมกันระหว่างแบรนด์กับอินฟลูเอนเซอร์แบบใกล้ชิดต่อหนึ่งงาน คือสิ่งที่จะเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ Emerging Experience แบบ VR มาจนได้ รอมานานสำหรับเทรนด์ VR ที่ถูกเขียนเป็นเทรนด์มาแล้ว 4-5 ปี แต่ไม่มาสักที ด้วยเหตุผลทางความพร้อมด้านเทคโนโลยีฮาร์ดแวร์และคอนเทนต์ มาวันนี้ผมคาดว่าปี 2019 จะเริ่มเห็นการใช้งาน Virtual Reality ในการตลาดและการสร้างคอนเทนต์มากขึ้น เมื่อราคาของ VR Glass เริ่มต้นที่ 300 กว่าบาท แทนที่จะเป็นราคา 1,000 บาทขึ้นไปและหาซื้อยาก ปัจจุบันก็มีร้านสะดวกซื้อเริ่มนำมาขายในราคานี้กันแล้ว รวมไปถึงคอนเทนต์ออนไลน์ก็สนับสนุนการแสดงผลผ่าน VR มากขึ้น เราอาจจะได้เห็นการใช้ VR ในการเสพคอนเทนต์ในบ้าน หรือ In-home Consumption มากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในปีหน้า และได้เห็นการนำ VR มาใช้ในงาน Event, Tradeshow มากขึ้นอีกจนอาจจะกลายเป็น New Normal สำหรับงาน Exhibition เลยก็ได้ แบรนด์หันมาเก็บข้อมูลด้วยตนเองมากขึ้น เพื่อนำไปประกอบกับข้อมูลจากแพลตฟอร์มอื่นๆ เพื่อการนำไปใช้งานอย่างแท้จริง (Data Activation) เราพูดถึงเรื่องของ Data Driven Marketing หรือ Big Data มาหลายปี แต่ยังไม่เห็นเป็นรูปธรรมมากนักในปีนี้ สาเหตุเพราะข้อมูลที่เราเก็บมาจากแพลตฟอร์มส่วนกลางมักไม่เพียงพอและก็ไม่ตรงตามต้องการ รวมไปถึงราคาก็แพงขึ้นเรื่อยๆ (ลองนึกภาพการนำข้อมูลจากเฟซบุ๊ก, กูเกิล, ยูทูบ มาวิเคราะห์เพื่อนำไปวางแผนการตลาด หรือใช้งานต่อ ทำได้ยากมากขึ้น) หรือบางแบรนด์มีข้อมูลลูกค้าอยู่แล้วแต่ถูกเก็บแยกกันและนำมาใช้งานไม่ได้ นั่นทำให้แบรนด์หลายๆ แบรนด์เริ่มหันมาลงทุนกับการเก็บข้อมูลจากระบบ Ecosystem ของตนเองที่ได้เริ่มลงทุนไปแล้วในปีที่ผ่านมา หรือมีการรวมศูนย์ข้อมูลเพื่อให้อยู่ในที่เดียวเพื่อการวิเคราะห์และนำมาประยุกต์ใช้ด้วยข้อมูลที่มีคุณภาพมากกว่าเดิม ข้อมูลเหล่านี้จะถูกนำไปใช้ในปลายทาง เพื่อสร้างเป็นแคมเปญ ผ่านช่องทางเช่น LINE Business CRM, Direct Marketing, Chatbot, Internet of Things, Ad Optimization หรือการทำ Data Visualization ซึ่งต่อไปจะเป็นเทรนด์ที่บริษัทที่มีความพร้อมจะนำมาใช้งานสร้างแคมเปญที่วัดผลได้ ใช้เงินอย่างมีประสิทธิภาพ และกลับเข้าสู่โจทย์ที่ต้องการได้อย่างแท้จริง ทดแทนการที่ต้องพึ่งการโฆษณาผ่านแพลตฟอร์มตัวกลาง เช่นบรรดาโซเชียลมีเดียตลอดเวลา ซึ่งในประเทศไทย ณ ปัจจุบันเริ่มมีเอเจนซีหรือบริษัทที่ปรึกษา หันมาทำสินค้าหรือบริการการจัดการวางแผนในส่วนนี้แล้ว อย่างเช่น บริษัท The Alchemist ในเครือ Rabbit Digital Group ถ้าไม่สร้างคอนเทนต์ ไม่สร้างสินทรัพย์ดิจิทัลของตัวเองปีนี้ ก็จะต้องจ่ายค่าโฆษณาแพงไปเรื่อยๆ ทุกปี ข้อสุดท้ายผมคงไม่ได้นับเป็นเทรนด์ แต่นับว่าเป็นสิ่งที่ต้องทำครับ เมื่อเราต่างก็พบว่า ราคาของสื่อโซเชียล ซึ่งเป็นสัดส่วนเยอะที่สุด ปรับตัวแพงขึ้นเพราะคนจ่ายมากขึ้น ในขณะที่คนเล่นเติบโตน้อยลง และมีตัวเลือกมากขึ้น แต่ทุกคนมีเวลาเท่าเดิม เทรนด์แบบนี้ยิ่งจะทำให้ทุกคนแย่งเวลากัน ผู้ชมเองก็มีทางเลือกในการเสพคอนเทนต์ที่ไร้โฆษณามากขึ้น ทำให้มีแนวโน้มจะเข้าสู่ Ad Block Country และคนไทยเองก็คงไม่ยอมจ่ายเงินเพื่อเข้าถึงคอนเทนต์ที่เคยได้มาฟรีแบบง่ายๆ ซึ่งแบรนด์จะลำบากมากขึ้นในการทำโฆษณาให้โดนใจ ทำคอนเทนต์ที่ดีมากพอที่คนจะคลิกอ่าน ดังนั้นปีหน้าไม่ใช่เทรนด์ แต่จะเป็นปีที่แบรนด์ต้องตัดสินใจ ถ้าแบรนด์ไม่เริ่มลงทุนในแพลตฟอร์มของตัวเองตอนนี้ และวางแผนใช้งานอย่างจริงจังในระยะยาว แบรนด์นั้นจะติดกับการใช้งานแพลตฟอร์มดิจิทัลต่อไป และจะหมดอำนาจต่อรองในวันที่แพลตฟอร์มดังกล่าว ตัดสินใจ ‘ขึ้นค่าโฆษณา’ จนสุดท้าย ราคาที่จ่ายไปจะไม่คุ้มค่ากับสิ่งที่ได้รับมานั่นเอง จบไปแล้วกับ 9 เทรนด์ Digital Marketing ที่นักการตลาดควรต้องรู้และติดตามไว้ สำหรับเทรนด์ปีหน้าจะเป็นอย่างที่คาดการณ์ไว้หรือไม่ เรามาติดตามกันครับ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ เทรนด์เป็นแค่แนวทางที่จะเกิด แต่การนำไปใช้ การมองให้ออกว่าเหมาะกับเราหรือไม่ และการลองทำไปก่อนคือสิ่งสำคัญกว่าครับ CR : THE STANDARD
23 ต.ค. 2018
การตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค มีกี่แบบ แบรนด์ควรเข้าใจหรือไม่ ?
การตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค มีกี่แบบ แบรนด์ควรเข้าใจหรือไม่ ? "เมื่อเราตัดสินใจซื้อรถสักคัน" "เมื่อเราตัดสินใจซื้อเสื้อสักตัว" "เมื่อเรากำลังจะซื้อขนมสักห่อ" ถามว่าเรามีพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าต่างๆ เหล่านี้ แตกต่างกันหรือไม่ วันนี้ Marketing You Know? จะพามาหาคำตอบ และรู้จักกับประเภทต่างๆ ของพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อ ว่ามีรูปแบบอะไรบ้าง ก่อนที่เราจะไปดูแต่ละประเภทนั้น เราต้องแนะนำเกณฑ์ในการแบ่งกันก่อน ซึ่งในครั้งนี้เราวางเกณฑ์ไว้ สองแกนคือ ระดับความทุ่มเทความพยายามของคนซื้อ และ ระดับความแตกต่างระหว่างแบรนด์ เมื่อแบ่งวาดเกณฑ์ทั้งสองอแล้วนำมาแบ่งก็จะได้พฤติกรรมการซื้อทั้งหมด 4 กลุ่ม ทีนี้เราลองมาทำความรู้จักกับพฤติกรรมการซื้อทั้ง 4 กลุ่มกันเลย การซื้อที่ซับซ้อน ผู้บริโภคที่ทีมีพฤติการการซื้อซับซ้อน เนื่องจากมีความพยายามในการซื้อสูง และการรับรู้ความแตกต่างระหว่างแบรนด์มีมาก ผู้บริโภคกลุ่มนี้จะมีความพยายามมากเมื่อซื้อสินค้าที่มีราคาแพง มีความเสี่ยงในการซื้อ เป็นสินค้าที่ซื้อไม่บ่อยนัก แต่แสดงออกถึงความเป็นตัวตน ผู้บริโภคจะเรียนรู้อย่างมากเกี่ยวกับสินค้าในเรื่องต่างๆ ทั้งคุณสมบัติ ฟังก์ชั่น การใช้งานต่างๆ ซึ่งอาจจะมีคุณสมบัติบางอย่างที่ยังไม่ได้ถูกแสดงออกมา สำหรับคนซื้อแน่นอนว่าพวกเขาไม่รู้ และการหาคำตอบจึงเกิดขึ้นทำให้ระยะเวลาในการตัดสินใจมีหายขั้นตอน ผู้บริโภคจะผ่านขั้นตอนการเรียนรู้ โดยเริ่มจากการพัฒนาความเชื่อเกี่ยวกับสินค้าไปสู่การสร้างทัศนคติและทำการซื้อในที่สุด ถ้าคุณกำลังดูแลสินค้าที่อยู่ในกลุ่มนี้ สิ่งสำคัญก่อนการสร้างแคมเปญคือคุณต้องเข้าใจในตัวสินค้าให้มากๆ และช่วยให้ความเข้าใจนี้ส่งต่อไปยังผู้บริโภคให้มากที่สุด รวมถึงการสร้างความแตกต่างของแบรนด์ โดยอธิบายถึงประโยชน์การใช้งานของสินค้าของแบรนด์ผ่านสื่อและแพลตฟอร์มต่างๆ ให้ลูกค้าจดจำแบรนด์และเข้าใจในสินค้าไปพร้อมๆ กัน การซื้อแบบลดความสงสัย ผู้บริโภคที่ที่ทีมีพฤติการการซื้อซับซ้อน เนื่องจากมีความพยายามในการซื้อสูง แต่การรับรู้ความแตกต่างระหว่างแบรนด์มีน้อย ผู้บริโภคกลุ่มนี้จะมีความพยายามในการซื้อสินค้าราคาเเพง เป็นสินค้าที่ซื้อไม่บ่อย แต่ผู้บริโภครับรู้ว่าแบรนด์ไม่ได้มีความแตกต่างกันมากนัก เช่นชุดเฟอร์นิเจอร์ในห้องนั่งเล่น เป็นการซื้อที่ผู้บริโภคใช้ความพยายามในการซื้อสูงเนื่องจากเป็นสินค้าที่มีราคาเเพง แต่ผู้บริโภคจะเลือกซื้อชุดเฟอร์นิเจอร์หลายแบรนด์ที่มีระดับราคาเดียวกัน หรือใกล้เคียงกัน เคสนี้ผู้บริโภครับรู้ความแตกต่างของแบรนด์มีไม่มากนัก ผู้บริโภคอาจจะดูเฟอร์นิเจอร์หลายร้านเพื่อดูว่ามีแบรนด์ไหนอยู่บ้าง แต่ผู้บรืโภคจะตัดสินใจซื้อเร็ว ซื้อในราคาที่เหมาะสม หรือหาซื้อได้สะดวก การซื้อในครั้งนี้อาจเกิดความสงสัยหลังการซื้อ หรือเป็นความกังวลหลังการซื้อ เมื่อผู้บริโภคเห็นข้อเสียของสินค้าที่ซื้อ ดังนั้นนักการตลาดที่ดูสินค้ากลุ่มนี้ จะต้องหาหลักฐานและข้อสนับสนุนเพื่อช่วยให้ผู้บริโภคมีความรู้สึกที่ดีต่อแบรนด์ที่เลือกซื้อไป การซื้อที่ติดเป็นนิสัย ผู้บริโภคที่ที่ทีมีพฤติการการซื้อซับซ้อน เความพยายามในการซื้อต่ำ และการรับรู้ความแตกต่างระหว่างแบรนด์มีน้อย สถานการ์ที่ผู้ซื้อมีความพยายามต่ำในการซื้อสินค้าและเห็นว่าแต่ละแบรนด์ไม่ได้มีความแตกต่างกันมากนัก เช่นการซื้อ น้ำตาล ผู้บริโภคมีความพยายามในการซื้อน้ำตาลน้อย โดยสามารถหาซื้อสินค้าในร้านต่างๆ ได้ง่าย รวมถึงแบรนด์ต่างๆ ก็มีให้เลือกและไม่ได้มีความแตกต่างกันมากนัก ผู้บริโภคที่เคยซื้อแบรนด์ไหนก็จะซื้อแบรนด์นั้นเป็นประจำ พฤติกรรมนี้จึงติดเป็นนิสัย และไม่ได้เป็นไปตามลำดับของการสร้างความเชื่อ การสร้างทัศนคติ ไปจนสู่การซื้อ ผู้บริโภคไม่มีการหาข้อมูล ประเมินลักษณะของแบรนด์ไม่มาก และไม่ให้ความสำคัญต่อการตัดสินใจต่อแบรนด์ที่จะซื้อ เพราะฉนั้น การสร้างความคุ้นเคยในแบรนด์ (Brand Familiarity) มากกว่าการสร้างความเชื่อมั่นในแบรนด์ (Brand Conviction) จึงมีความสำคัญ เพราะผู้บริโคตัดสินใจซื้อสินค้าจากความคุ้นเคย นักการตลาดต้องควรที่จะใช้ราคาและการส่งเสริมการขายกระตุ้นให้เกิดการทดลองใช้สินค้า Key Message บนโฆษณาในช่องทางต่างๆ นั้น ควรเน้นจุดสำคัญไม่กี่จุด ควรใช้ถ้อยคำ หรือสัญลักษณ์ที่ทำให้เห็นภาพมากขึ้น การวางแผนโฆษณาควรเลือกใช้การส่งสารแบบซ้ำๆ เพื่อให้ผู้บริโภคคุ้นเคย การซื้อที่แสวงหาความหลากหลาย ผู้บริโภคที่ที่ทีมีพฤติการการซื้อซับซ้อน ความพยายามในการซื้อสูง แต่การรับรู้ความแตกต่างระหว่างแบรนด์มีมาก ผู้บริโภคที่มีความพยายามในการซื้อสินค้าต่ำ แต่มองว่ามีความแตกต่างของแบรนด์สูง ในกรณีนี้ผู้บริโภคมักจะเปลี่ยนแบรนด์บ่อย เช่น การซื้อขนม ผู้บริโภคอาจจะมีความเชื่อบางอย่าง เลือกแบรนด์โดยไม่ได้ประเมิน และได้ประเมินเเบรนด์ที่กำลังกิน แต่ผู้บริโภคก็อาจะซื้อแบรน์อื่นเมื่อรู้สึกเบื่อ หรืออยากทดลองเเบรนด์อื่นที่มีความแตกต่าง การเปลี่ยนแบรนด์ครั้งนี้อาจจะเป็นเพราะต้องการหาความหลายหลาย ไม่ใช่ความไม่พอใจในแบรนด์ สุดท้ายแล้ว ในโลกของความเป็นจริงอาจจะมีมากกว่า 4 กลุ่มนี้ เพราะความซับซ้อนของพฤติกรรม อยู่ที่เราจะทำความเข้าใจ จบบรรทัดนี้แล้วก็กลับไปดูว่าสินค้าของคุณอยู่ในกลุ่มไหน แล้วค่อยวิเคราะห์หาแนวทางการสื่อสารของแบรนด์ต่อไป CR: BrandAge
16 ต.ค. 2018
ซื้อประกันสุขภาพยังไง ให้พอเคลม เบี้ยไม่เกินงบ แถมช่วยลดภาษี
ซื้อประกันสุขภาพยังไง ให้พอเคลม เบี้ยไม่เกินงบ แถมช่วยลดภาษีอีก เทคโนโลยีการแพทย์พัฒนาอย่างรวดเร็ว การรักษาโรคต่างๆ ก็มากขึ้น แต่ค่าบริการค่ารักษาพยาบาลก็เพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน หลายคนเลยเลือกซื้อแบบประกันสุขภาพเพื่อลดค่าใช้จ่ายเมื่อต้องเข้ารักษาตัว ให้อย่างน้อยก็สบายใจ สบายกระเป๋าว่าจะเข้าถึงบริการทางแพทย์ที่ดี แต่จะซื้อประกันยังไงดี TGIA แนะแนวทางซื้อประกันสุขภาพ ฉุกเฉินเคลมได้ จ่ายเบี้ยไม่เกินตัวนุสรา (อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย บอกว่า ประกันสุขภาพแต่ละแบบมีเงื่อนไข และความคุ้มครองต่างกัน ดังนั้นผู้เอาประกันภัย (ชื่อคนที่อยู่บนกรมธรรม์) ควรศึกษารายละเอียดให้ครบถ้วนทั้งก่อนและหลังตัดสินใจทำประกัน จุดสำคัญคือต้องดูสิทธิ์ต่างๆ ภายในกรมธรรม์ เงื่อนไขความคุ้มครอง ข้อยกเว้นต่างๆ เช่น หลักการเบื้องต้นของการซื้อประกันสุขภาพคือ จะไม่คุ้มครองโรคเรื้องรัง การเจ็บป่วย(รวมถึงภาวะแทรกซ้อน) หรือ การบาดเจ็บที่ผู้เอาประกันภัยเป็นมาก่อนทำประกันหรือกำลังอยู่ระหว่างการรักษา “คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าเมื่อทำประกันสุขภาพแล้ว ถ้าเจ็บป่วยก็ใช้สิทธิหรือเคลมได้ทันที โดยไม่เข้าใจเงื่อนไขความคุ้มครอง หรือข้อยกเว้นของสัญญาประกันสุขภาพที่ทำไว้ จนเกิดปัญหาเคลมไม่ได้ขึ้น” ผู้เอาประกันภัยมักเข้าใจผิดว่าทำประกันสุขภาพแล้วจะเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ทั้งหมด แต่จริงๆ แล้วค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการรักษาพยาบาลจะจ่ายตามรายการที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ หรือบางกรมธรรม์อาจจะเป็นการเหมาจ่ายตามวงเงิน และทุนเอาประกันภัยที่ซื้อไว้ ถ้าไม่แน่ใจอะไรสอบถามได้ที่ Call Center จะทำประกันต้องบอกความจริง โกหกเมื่อไรบริษัทอาจจะยกเลิกสิทธิ์และที่สำคัญเมื่อตัดสินใจทำประกันสุขภาพจะต้องเปิดเผยข้อมูลตามความจริงและแถลงเรื่องสุขภาพโดยไม่ปิดบังหรือให้ข้อมูลเท็จ เพราะถ้าผู้เอาประกัน (คนที่มีชื่อบนกรมธรรม์) ไม่เปิดเผยข้อความจริงหรือแถลงข้อความอันเป็นเท็จ จะถือว่าสัญญาเป็นโมฆียะ คือบริษัทประกันที่ซื้อไว้มีสิทธิปฏิเสธการจ่ายเงินค่าสินไหมทดแทน รวมถึงบอกล้างสัญญาได้ ส่วนคนที่แถลงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสาระสำคัญของสุขภาพแล้ว บริษัทจะพิจารณาว่ารับประกันภัยไหม อย่างไร เช่น สุขภาพปกติบริษัทอาจจะรับประกันภัยโดยใช้อัตราเบี้ยประกันภัยมาตรฐาน หรือบางกรณีบริษัทอาจมีการเพิ่มเบี้ยประกันภัยตามความเสี่ยงสุขภาพของคนที่ซื้อประกัน ซึ่งจะเป็นอย่างไรขึ้นอยู่กับนโยบายและเงื่อนไขของผลิตภัณฑ์แต่ละบริษัท ซื้อประกันสุขภาพแล้ว ไม่ได้เริ่มคุ้มครองทันทีเมื่อซื้อประกันสุขภาพ จะมี ระยะเวลาที่ไม่คุ้มครอง(Waiting Period) แบ่งเป็น 2 ส่วน 1) ระยะ 30 วันนับจากวันทำสัญญาหรือวันต่ออายุสัญญา บริษัทจะไม่จ่ายผลประโยชน์ตามสัญญาประกันสุขภาพสำหรับการเจ็บป่วยใดๆ ที่เกิดขึ้น 2) หากเจ็บป่วยด้วยโรคเนื้องอก ถุงน้ำ หรือมะเร็งทุกชนิด ริดสีดวงทวาร ไส้เลื่อน ต้อเนื้อต้อกระจก การตัดทอนซิล หรือ อดีนอยด์ นิ่วทุกชนิด เส้นเลือดขอดที่ขา เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ จะมีระยะเวลาที่ไม่คุ้มครอง 120 วันนับจากวันทำสัญญาหรือวันต่ออายุสัญญา เพราะเป็นโรคที่ไม่ได้เกิดขึ้นทันที แต่สำหรับกรณีอุบัติเหตุกรมธรรม์จะคุ้มครองในทันทีที่มีผลบังคับ เรื่องนี้สามารถอ่านได้ในกรมธรรม์ประกันที่ซื้อไป ขั้นตอนซื้อประกันยังไงให้เบี้ยไม่เกินงบเช็คสิทธิประโยชน์ด้านสุขภาพที่มีอยู่ให้ครบถ้วน เช่น ประกันกลุ่มที่มีอยู่ ประกันสังคม สิทธิบัตรทองฯลฯคำนวนค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ เช่น ค่าห้องพักรักษาตัวที่ต้องการ โรงพยาบาลที่ใช้บริการอยู่มีค่าใช้จ่ายประมาณเท่าไร ฯลฯ คำนวนค่าใช้จ่าย ค่าเบี้ยที่สามารถจ่ายได้ตลอดทั้งปีดูความเสี่ยงทางสุขภาพของตัวเอง ว่าต้องการประกันในส่วนไหน เช่น โรคร้ายแรง หรือการเจ็บป่วยที่เกิดจากอุบัติเหตุเปรียบเทียบและหาแบบประกันจากหลายบริษัท โดยดูรายละเอียดทั้ง วงเงินการรักษา ทุนเอาประกัน รูปแบบการจ่ายเคลม เงื่อนไข ข้อยกเว้น ฯลฯ อย่างละเอียด ตลาดประกันสุขภาพในไทยโตแค่ไหนแล้ว?ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (2556 – 2560) ประกันสุขภาพเฉพาะส่วนธุรกิจประกันชีวิตเติบโตอย่างต่อเนื่องเฉลี่ยปีละ 11.31% โดยครึ่งปีแรก 2561 นับรวมทั้งธุรกิจประกันภัยก็มีเบี้ยประกันสุขภาพที่ 41,087 ล้านบาท สัดส่วนกว่า 87.76% (หรือประมาณ 36,060 ล้านบาท) เป็นเบี้ยประกันสุขภาพจากบริษัทประกันชีวิต สาเหตุหลักที่คนสนใจซื้อประกันสุขภาพมากขึ้น ส่วนหนึ่งเพื่อรับมือกับโรคร้ายแรง และลดภาระตัวเองจากค่ารักษาพยาบาลที่ปรับขึ้นทุกปีประมาณ 8% ยิ่งภาครัฐเปิดโอกาสให้คนที่ทำประกันสุขภาพ สามารถใช้เบี้ยประกันสุขภาพลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 15,000 บาทต่อบริษัทประกันชีวิตที่ได้ซื้อประกันสุขภาพไว้ แต่ก่อนจะใช้สิทธิต้องแจ้งความประสงค์กับบริษัทประกันก่อน และจะมีแบบฟอร์มให้ลูกค้าด้วย สรุปตลาดประกันสุขภาพโตขึ้นทุกปี แต่การจะซื้อประกันต้องเช็คสิทธิ์ทางการแพทย์ที่มีอยู่ ประเมินค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ที่อาจเกิดขึ้น เช่น ค่าห้องพักรักษาตัว วงเงินการรักษาตัวอย่างเหมาจ่ายหรือไม่เหมา และอ่านข้อยกเว้นอย่าง Waiting Period ที่สำคัญต้องศึกษารายละเอียดก่อนซื้อประกัน ป้องกันปัญหาที่เกิดขึ้นภายหลัง Cr:Brandinsideasia
08 ต.ค. 2018
รู้จัก P2P Lending ที่คลัง-ธปท. จะออกเกณฑ์ปล่อยเงินกู้-ยืมเงินออนไลน์ ไม่ต้องพึ่งแบงก์
เราได้ยินเรื่อง P2PLending มาพักใหญ่ ว่าเป็นเครือข่ายบนระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่จะจับคู่คนอยากปล่อยกู้กับคนอยากกู้เงินมาเจอกัน ล่าสุดกลางเดือน ก.ย. 2561 กระทรวงการคลัง ออกกฎให้คนที่เปิดแพลตฟอร์ม P2PLending ต้องมาขอใบอนุญาตก่อนเปิดให้บริการ แต่เพื่อป้องกันปัญหาอื่นๆ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เลยออกเกณฑ์ควบคุม โดยจะสกรีนผู้ประกอบการตัวระบบก่อนจะไปขอใบอนุญาตที่กระทรวงการคลัง ใครอยากปล่อยกู้ อยากกู้เงินแบบไม่พึ่งแบงก์ สิ้นปี 61 ได้ลองใช้ สิริธิดา พนมวัน ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายระบบการชำระเงินและเทคโนโลยีทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) บอกว่า ในต่างประเทศ เช่น จีนและสหรัฐฯ มีการกู้เงินแบบบุคคลต่อบุคคล (Peer to Peer Lending) คือคนทั่วไปสามารถปล่อยกู้ และขอกู้เงินระหว่างกันเองได้ ผ่านโลกออนไลน์ คือ ผู้ให้กู้ กับผู้กู้ไม่ต้องเจอหน้ากัน แค่เปิดเว็บไซด์ หรือ แอพพลิเคชั่นของผู้ให้บริการ P2PLending ก็ขอกู้เงินได้เลย “แบงก์ชาติกำลังจะออกเกณฑ์ผู้ให้บริการ P2PLending ภายในปีนี้ แต่แพลตฟอร์มของเอกชนจะออกมาใช้ได้เมือไร ต้องรอดูว่าบริษัทเหล่านั้นผ่านมาตรฐานของธปท. ไหม เช่น เรื่องกำหนดวงเงินกู้ กระบวนการดูแลลูกค้า ดูแลรักษาทรัพย์สินของผู้กู้ที่ส่งเข้าระบบมา ระบบเทคโนโลยี อย่าง KYC (กระบวนการยืนยันตัวตน) กระบวนการทำสัญญา การติดตามหนี้ เรื่อง Cybersecurity ซึ่งถ้าบริษัทนั้นทดสอบแล้วผ่าน ธปท.จะเสนอชื่อไปที่กระทรวงการคลังเพื่อขอใบอนุญาต” ฤชุกร สิริโยธิน รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) บอกว่า ปัจจุบันแม้ว่าทางเลือกการกู้เงินจะมีทั้งธนาคาร สถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร (Non-Bank อย่างบัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล) แต่ก็ยังมีคนต้องพึ่งพาเงินนอกระบบ เพราะเข้าไม่ถึงสินเชื่อ ดังนั้นภาครัฐมองว่าการมี P2PLending จะตอบโจทย์ SME ผู้ประกอบการเจ้าเล็ก เข้าถึงเงินกู้ได้มาขึ้น แถมยังเป็นแพลตฟอร์มที่จับคู่กับคนที่อยากปล่อยกู้ด้วย หลักๆ ธปท. จะออกเกณฑ์เพิ่มเติมเพื่อให้ คนที่จะทำธุรกิจ P2PLending (ธุรกิจระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนกิส์สาหรับธรุกรรมสินเชื่อระหว่างบุคคลกับบุคคล) เข้ามาทดสอบระบบให้ดีก่อนไปขอใบอนุญาตกับกระทรวงการคลัง “เราเปิดให้ระบบที่ทำ P2PLending เขามาทดสอบระบบใน Regulatory Sandbox ของแบงก์ชาติ ซึ่งจะต้องผ่านเกณฑ์หลายอย่าง เช่น การดูแลผู้บริโภค ความปลอดภัยของตัวแพลตฟอร์ม ทุนจดทะเบียน การจัดการความเสี่ยง รูปแบบการทำธุรกรรม ฯลฯ” เงื่อนไขการเปิดแพลตฟอร์ม ผู้ให้กู้ ผู้กู้ เป็นแบบไหนบ้าง สิริธิดา บอกว่า ในส่วนของไทย P2P Lending หลังจากที่กระทรวงการคลังออกเกณฑ์ให้ใบอนุญาตคนที่ทำธุรกิจนี้ โดยแบงก์ชาติจะเปิดให้ แพลตฟอร์มต่างๆ สามารถขอเข้าทดสอบระบบ (ใน Regulatory sandbox) เพื่อเปิดให้บริการ P2PLending ได้ซึ่งเงื่อนไขหลักๆ คือ เป็นนิติบุคคลที่มีทุนจดทะเบียน 5 ล้านบาทขึ้นไป ตัวแพลตฟอร์มจะเป็นตัวกลางจับคู่ผู้กับ กับผู้ปล่อยกู้ ซึ่งจะปล่อยเงินกู้เองไม่ได้ เงินที่ให้สินเชื่อต้องฝากไว้กับ Escrow account เป็นบริษัทที่ดูแลรักษาทรัพย์สินเพื่อป้องกันตัวแพลตฟอร์มการทุจริต ทำ Scoring หรือคะแนนที่ใช้พิจารณาการปล่อยสินเชื่อ ภายในแพลตฟอร์ม ต้องแสดงข้อมูลของผู้กู้เพื่อให้ผู้ที่ปล่อยกู้สามารถประเมินความเสี่ยงของผู้กู้ ทำหน้าที่คัดกรอง โครงการที่ผู้กู้ใช้ขอสินเชื่อ บริษัทจดทะเบียนในประเทศไทย (มีคนไทยถือหุ้น 75%) มีรายได้เป็นค่าธรรมเนียม ส่วนใครที่อยากกู้เงิน มีเงื่อนไขคร่าวๆ ได้แก่ เป็นบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคลก็ได้ ต้องเสนอยื่นโครงการทำธุรกิจที่ชัดเจน และไม่ยื่นซ้ำซ้อนกับแพลตฟอร์ม P2PLending ที่อื่น วงเงินสินเชื่อไม่เกิน 50 ล้านบาทต่อโครงการ ส่วนใครที่อยากใช้แพลตฟอร์มนี้ เพื่อปล่อยเงินกู้ เงื่อนไขมีดังนี่ คิดดอกเบี้ยรวมค่าธรรมเนียม ไม่เกิน 15% (ตามกฎหมาย) ผู้ให้กู้รายย่อย สามารถให้กู้ได้ไม่เกิน 5 แสนบาทต่อปี ส่วนรายใหญ่ที่เป็น High Net worth (มีทรัพย์สิน 1 ล้านเหรียญขึ้นไป) ไม่จำกัดวงเงินให้กู้ กำหนดระยะเวลาให้กู้ได้เอง ต้องดูแลความเสี่ยงด้วยตัวเอง เมื่อเกิดหนี้เสียดำเนินการตามกฎหมายปกติ “ผู้ให้กู้มีได้หลายคนต่อ 1 สัญญา แม้ผู้กู้มีรายเดียว เช่น วงเงินที่ผู้กู้ต้องการสูง ทางEscor จะเก็บเงิน รวบรวมจนครบจำนวน แล้วส่งต่อไปที่ ผู้กู้ทีเดียว ส่วนแบงก์ เขามีใบอนุญาตปล่อยกู้อยู่แล้ว สามารถทำแพลตฟอร์มได้เลย แต่ธปท.จะออกเกณฑ์มากำกับเพิ่มเติมในเรื่องขั้นตอนให้ชัดเจน เพราะลักษณะการทำธุรกิจต่างกัน เกณฑ์ P2PLending ทั้งหมด คาดว่าจะออกภายในปีนี้ ต้องรอคุยกับ ก.ล.ต.แล้ว” สรุป เมื่อเทคโนโลยีพัฒนาต่อเนื่องก็เปลี่ยนแปลงระบบการเงิน ให้ง่าย สะดวก และเร็วขึ้น ภาครัฐก็อยู่เฉยไม่ได้ ทั้งกระทรวงการคลังและธปท.เตรียมออกเกณฑ์ P2PLeanding หรือเครือข่ายกลางที่จับคู่คนอยากกู้กับอยากปล่อยกู้มาเจอกัน ถือเป็นเรื่องดีที่รัฐจะลงมาดูแลอย่างใกล้ชิด มิฉะนั้นอาจเกิดปัญหาเหมือนหลายประเทศที่ทำ P2PLending มาแล้ว
28 ก.ย. 2018