เราได้ยินเรื่อง P2PLending มาพักใหญ่ ว่าเป็นเครือข่ายบนระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่จะจับคู่คนอยากปล่อยกู้กับคนอยากกู้เงินมาเจอกัน ล่าสุดกลางเดือน ก.ย. 2561 กระทรวงการคลัง ออกกฎให้คนที่เปิดแพลตฟอร์ม P2PLending ต้องมาขอใบอนุญาตก่อนเปิดให้บริการ
แต่เพื่อป้องกันปัญหาอื่นๆ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เลยออกเกณฑ์ควบคุม โดยจะสกรีนผู้ประกอบการตัวระบบก่อนจะไปขอใบอนุญาตที่กระทรวงการคลัง
สิริธิดา พนมวัน ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายระบบการชำระเงินและเทคโนโลยีทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) บอกว่า ในต่างประเทศ เช่น จีนและสหรัฐฯ มีการกู้เงินแบบบุคคลต่อบุคคล (Peer to Peer Lending) คือคนทั่วไปสามารถปล่อยกู้ และขอกู้เงินระหว่างกันเองได้ ผ่านโลกออนไลน์ คือ ผู้ให้กู้ กับผู้กู้ไม่ต้องเจอหน้ากัน แค่เปิดเว็บไซด์ หรือ แอพพลิเคชั่นของผู้ให้บริการ P2PLending ก็ขอกู้เงินได้เลย
“แบงก์ชาติกำลังจะออกเกณฑ์ผู้ให้บริการ P2PLending ภายในปีนี้ แต่แพลตฟอร์มของเอกชนจะออกมาใช้ได้เมือไร ต้องรอดูว่าบริษัทเหล่านั้นผ่านมาตรฐานของธปท. ไหม เช่น เรื่องกำหนดวงเงินกู้ กระบวนการดูแลลูกค้า ดูแลรักษาทรัพย์สินของผู้กู้ที่ส่งเข้าระบบมา ระบบเทคโนโลยี อย่าง KYC (กระบวนการยืนยันตัวตน) กระบวนการทำสัญญา การติดตามหนี้ เรื่อง Cybersecurity ซึ่งถ้าบริษัทนั้นทดสอบแล้วผ่าน ธปท.จะเสนอชื่อไปที่กระทรวงการคลังเพื่อขอใบอนุญาต”
ฤชุกร สิริโยธิน รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) บอกว่า ปัจจุบันแม้ว่าทางเลือกการกู้เงินจะมีทั้งธนาคาร สถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร (Non-Bank อย่างบัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล) แต่ก็ยังมีคนต้องพึ่งพาเงินนอกระบบ เพราะเข้าไม่ถึงสินเชื่อ ดังนั้นภาครัฐมองว่าการมี P2PLending จะตอบโจทย์ SME ผู้ประกอบการเจ้าเล็ก เข้าถึงเงินกู้ได้มาขึ้น แถมยังเป็นแพลตฟอร์มที่จับคู่กับคนที่อยากปล่อยกู้ด้วย
หลักๆ ธปท. จะออกเกณฑ์เพิ่มเติมเพื่อให้ คนที่จะทำธุรกิจ P2PLending (ธุรกิจระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนกิส์สาหรับธรุกรรมสินเชื่อระหว่างบุคคลกับบุคคล) เข้ามาทดสอบระบบให้ดีก่อนไปขอใบอนุญาตกับกระทรวงการคลัง
“เราเปิดให้ระบบที่ทำ P2PLending เขามาทดสอบระบบใน Regulatory Sandbox ของแบงก์ชาติ ซึ่งจะต้องผ่านเกณฑ์หลายอย่าง เช่น การดูแลผู้บริโภค ความปลอดภัยของตัวแพลตฟอร์ม ทุนจดทะเบียน การจัดการความเสี่ยง รูปแบบการทำธุรกรรม ฯลฯ”
สิริธิดา บอกว่า ในส่วนของไทย P2P Lending หลังจากที่กระทรวงการคลังออกเกณฑ์ให้ใบอนุญาตคนที่ทำธุรกิจนี้ โดยแบงก์ชาติจะเปิดให้ แพลตฟอร์มต่างๆ สามารถขอเข้าทดสอบระบบ (ใน Regulatory sandbox) เพื่อเปิดให้บริการ P2PLending ได้ซึ่งเงื่อนไขหลักๆ คือ
ส่วนใครที่อยากกู้เงิน มีเงื่อนไขคร่าวๆ ได้แก่
ส่วนใครที่อยากใช้แพลตฟอร์มนี้ เพื่อปล่อยเงินกู้ เงื่อนไขมีดังนี่
“ผู้ให้กู้มีได้หลายคนต่อ 1 สัญญา แม้ผู้กู้มีรายเดียว เช่น วงเงินที่ผู้กู้ต้องการสูง ทางEscor จะเก็บเงิน รวบรวมจนครบจำนวน แล้วส่งต่อไปที่ ผู้กู้ทีเดียว ส่วนแบงก์ เขามีใบอนุญาตปล่อยกู้อยู่แล้ว สามารถทำแพลตฟอร์มได้เลย แต่ธปท.จะออกเกณฑ์มากำกับเพิ่มเติมในเรื่องขั้นตอนให้ชัดเจน เพราะลักษณะการทำธุรกิจต่างกัน เกณฑ์ P2PLending ทั้งหมด คาดว่าจะออกภายในปีนี้ ต้องรอคุยกับ ก.ล.ต.แล้ว”
เมื่อเทคโนโลยีพัฒนาต่อเนื่องก็เปลี่ยนแปลงระบบการเงิน ให้ง่าย สะดวก และเร็วขึ้น ภาครัฐก็อยู่เฉยไม่ได้ ทั้งกระทรวงการคลังและธปท.เตรียมออกเกณฑ์ P2PLeanding หรือเครือข่ายกลางที่จับคู่คนอยากกู้กับอยากปล่อยกู้มาเจอกัน ถือเป็นเรื่องดีที่รัฐจะลงมาดูแลอย่างใกล้ชิด มิฉะนั้นอาจเกิดปัญหาเหมือนหลายประเทศที่ทำ P2PLending มาแล้ว