โทรศัพท์ 1358
การค้นหาขั้นสูง

หมวดหมู่
"การเปิดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ "แนวทางการดำเนินงานศูนย์สนับสนุนและช่วยเหลือเอสเอ็มอี"
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ขอเชิญรับชมการถ่ายทอดสด facebook Live www.facebook.com/dipindustry"การเปิดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ "แนวทางการดำเนินงานศูนย์สนับสนุนและช่วยเหลือเอสเอ็มอี" โดย นายสมชาย หาญหิรัญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในวันพฤหัสบดีที่ 22 กุมภาพันธ์ 2561 เวลาประมาณ 08.45-09.15 น.
22 ก.พ. 2561
ก.อุตฯ จับมือภาคีรีมิกซ์ SSRC ใช้แพลตฟอร์มเดียว ประกาศเดินหน้าเต็มสูบ!! ติดปีก SMEs
ก.อุตฯ จับมือภาคีรีมิกซ์ SSRC ใช้แพลตฟอร์มเดียว ประกาศเดินหน้าเต็มสูบ!! ติดปีก SMEs กรุงเทพฯ 22 ก.พ. 2561- นายสมชาย หาญหิรัญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมให้เกียรติเป็นประธานเปิดงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “แนวทางการดำเนินงานศูนย์สนับสนุนและช่วยเหลือเอสเอ็มอี” ณ ห้องจตุรทิศ ชั้น 3 โรงแรมโกลเด้น ทิวลิป ซอฟเฟอริน ถนนพระราม 9 โดยมีนายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวรายงานและมอบนโยบายการดำเนินงานของศูนย์ SSRC สำหรับศูนย์สนับสนุนและช่วยเหลือเอสเอ็มอี (SME Support & Rescue Center : SSRC) เป็น 1 ใน 9 มาตรการพิเศษเพื่อการขับเคลื่อน SMEs 4.0 โดยให้บริการแก่ SMEs ที่ประสบปัญหาทางธุรกิจในทุกพื้นที่ให้สามารถเข้าถึงบริการทั้งในด้านการเงินและด้านอื่น ๆ ที่ไม่ใช่การเงิน โดยมีสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดทั้ง 76 จังหวัด กระทรวงอุตสาหกรรม ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1-11 ศูนย์พัฒนาอุตสาหกรรมเซรามิก จังหวัดลำปาง ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ศูนย์ให้บริการ OSS (SME One-Stop Service Center) ของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว./SME Bank) การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) และหน่วยงานเครือข่าย รวมทั้งสิ้น 270 แห่งทั่วประเทศ ผ่านแพลตฟอร์มการทำงานเดียวกัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเข้าถึงการบริการทั่วประเทศ เชื่อมโยงกลไกและบริการทั้งหมด ผ่านระบบดิจิทัล เพื่อให้สามารถส่งเสริมและสนับสนุน SMEs ได้อย่างคล่องตัว รวดเร็ว และตรงตามความต้องการของ SMEs ทั่วประเทศมากที่สุด ### PR. DIP (กส.สล.กสอ.) รายงาน/ภาพข่าว
22 ก.พ. 2561
นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม รับฟังการนำเสนอยุทธศาสตร์และปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การจัดทำยุทธศาสตร์กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ประจำปี พ.ศ. 2562-2564”
วันพฤหัสบดีที่ 22 กุมภาพันธ์ 2561 นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม รับฟังการนำเสนอยุทธศาสตร์และปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การจัดทำยุทธศาสตร์กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ประจำปี พ.ศ. 2562-2564” โดยมีนางสาวนิรามัย ศิริศรีสุดากุล ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรม และเจ้าหน้าที่ เข้าร่วมประชุมฯ จัดโดยกองยุทธศาสตร์และแผนงาน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ณ โรงแรมรอยัลปริ๊นเซสหลานหลวง กรุงเทพมหานครฯ
22 ก.พ. 2561
นายจุลพงษ์​ ทวี​ศรี​ ผู้ตรวจราชการกระทรวง​อุตสาหกรรม​ เข้าตรวจราชการสำนักงานอุตสาหกรรม​จังหวัดนครสวรรค์​ และลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม​หมู่บ้าน​อุตสาหกรรม​สร้างสรรค์​ ชุมชนเครื่องปั้นดินเผา​บ้าน​มอญ ตำบลบ้านแก่ง อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์​
วันพฤหัสบดีที่ 22 กุมภาพันธ์ 2561 นายจุลพงษ์ ทวีศรี ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม เข้าตรวจราชการสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดนครสวรรค์ และลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ชุมชนเครื่องปั้นดินเผาบ้านมอญ ตำบลบ้านแก่ง อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ โดยมีนายสิทธิรงณ์ เร่งเงียบ ผู้แทนผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 ร่วมประชุมและลงพื้นที่
22 ก.พ. 2561
จากกระแสการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทั่วโลกส่งผลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคและภาคธุรกิจอย่างหลีกหนีไม่พ้น โดยเฉพาะเทรนด์ต่างๆที่มักจะเปลี่ยนแปลงไปตามค่านิยมของประชาชนในประเทศ อย่างเช่นปีนี้ถือเป็นโอกาสทองของ 9 อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่สามารถสร้างมูลค่า
จากกระแสการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทั่วโลกส่งผลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคและภาคธุรกิจอย่างหลีกหนีไม่พ้น โดยเฉพาะเทรนด์ต่างๆที่มักจะเปลี่ยนแปลงไปตามค่านิยมของประชาชนในประเทศ อย่างเช่นปีนี้ถือเป็นโอกาสทองของ 9 อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่สามารถสร้างมูลค่าได้อย่างมหาศาลและคาดว่าจะได้รับความนิยมอย่างสูง 1. อุตสาหกรรมด้านศิลปะและหัตถกรรม (Art & Craft) อุตสาหกรรมศิลปะและหัตถกรรมเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่มีความโดดเด่น โดยต้องเน้นสร้างมูลค่าเพิ่มผ่านการใช้ประโยชน์จากจุดเด่นของแต่ละภูมิภาค ซึ่งสินค้าเหล่านี้สามารถตอบโจทย์กระแสโลกที่หันมาให้ความนิยมกับสินค้า DIY ได้อย่างดีเยี่ยม 2. อุตสาหกรรมความงามและแฟชั่น (Beauty & Fashion)อุตสาหกรรมความงามและแฟชั่นต้องปรับเปลี่ยนตามกระแสโลก โดยอินเทอร์เน็ตและโลกไซเบอร์ถือเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผกระทบกับทั้งสองอุตสาหกรรม เช่น การรีวิวสอนแต่งหน้า ที่มีผลต่อการเลือกซื้อเครื่องสำอาง หรือคำพูดหรือแนวคิดของบุคคลที่มีชื่อเสียงจะเป็นคอนเซปต์ในการออกแบบเพื่อสะท้อนถึงตัวตนของแบรนด์ 3. อุตสาหกรรมเกี่ยวกับสุขภาพและความเป็นอยู่ (Health & Wellbeing)ถือเป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่น่าจับตามองซึ่งไทยมีความได้เปรียบในการเป็นผู้นำด้านการบริการสุขภาพ โดยมีสถานพยาบาลที่ได้รับรองด้านคุณภาพและบริการมาตรฐานสากลเป็นจำนวนมาก จึงเชื่อว่าอุตสาหกรรมด้านสุขภาพและความเป็นอยู่จะตอบโจทย์กระแสโลกที่มีผู้คนทุกข์ทรมานจากความเครียดและวิตกกังวลเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว4. อุตสาหกรรมการการขนส่งและวิวัฒนาการของเทคโนโลยีท่องอวกาศ (Transport & Space) จุดเปลี่ยนด้านเทคโนโลยีและสถานการณ์น้ำมันดิบที่ไม่สอดคล้องกับความต้องการที่เพิ่มขึ้น ทำให้รถยนต์พลังงานทางเลือกหรือรถยนต์พลังงานสะอาดได้รับความสนใจมากขึ้น ซึ่งหน่วยวิจัยอีไอซี (Economic Intelligence Center) คาดว่าต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 10 ปีที่รถยนต์ไฟฟ้าจะสามารถเริ่มทำตลาดในไทย 5. อุตสาหกรรมค้าปลีก (Retail) พฤติกรรมและทัศนคติของผู้บริโภคที่เปลี่ยนมาซื้อสินค้าผ่านระบบอีคอมเมิร์ซ ทำให้มูลค่าการซื้อขายออนไลน์เติบโตมากกว่า 100 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ยอดซื้อสินค้าจากร้านค้าที่มีหน้าร้านเติบโตเพียง 10 เปอรเซ็นต์ ดังนั้น ธุรกิจค้าปลีกต้องเร่งปรับตัว โดยการสร้างประสบการณ์ร่วมระหว่างลูกค้ากับแบรนด์ รวมทั้งประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเข้ามาอำนวยความสะดวกผู้บริโภคมากขึ้น6.อุตสาหกรรมท่องเที่ยว (Travel) เป็นอุตสาหกรรมที่ถือได้ว่าสร้างรายได้เข้าประเทศได้อย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2561 มีการคาดการณ์ว่าจะมีรายได้จากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวถึง 3.1 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 2.7 ล้านล้านบาทในปี 2560 ที่ผ่านมา โดยเฉพาะการท่องเที่ยวแบบสั่งตัด (Tailor-made Travel) ที่ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมต้องให้ความสนใจ และพร้อมให้บริการเพื่อตอบโจทย์ความต้องการเฉพาะกลุ่มของนักท่องเที่ยวให้ได้มากที่สุด 7. อุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมและการตกแต่ง (Architecture & Decoration) กระแสโลกทางด้านอุตสาหกรรมสถาปัตยกรรมและการตกแต่งที่กำลังได้รับความสนใจ คือ เมืองสีเขียว (Green Urban) เพื่อการเป็นเมืองแห่งอนาคตและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สร้างคุณค่าในระยะยาวที่ยั่งยืน และอีกหนึ่งกระแสสำคัญคือ การออกแบบแบบมัลติฟังก์ชั่น (Multifunction) เพื่อรองรับการใช้งานอย่างหลากหลายรูปแบบ และตอบโจทย์ผู้ใช้ในทุกเพศ ทุกวัย ทุกเชื้อชาติ วัฒนธรรม 8. อุตสาหกรรมสื่อและความบันเทิง (Media & Entertainment) ในยุคของโซเชียลมีเดียอุตสาหกรรมสื่อและความบันเทิงมีการเปลี่ยนแปลงอย่างตลอดเวลา โดยในปี 2560 มีผู้ใช้งานเฟซบุ๊กถึง 76 เปอร์เซ็นต์ของผู้ใช้สื่อทั้งหมด รองลงมาคือ อินสตาแกรม 51 เปอร์เซ็นต์ และทวิตเตอร์ 42 เปอร์เซ็นต์ โดยผู้บริโภคให้ความสนใจกับไลฟ์ทีวีและเสพข้อมูลบนหน้าจอมากขึ้น ทำให้เกิดสื่อรูปแบบใหม่คือโฆษณาที่ถูกปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ทางการตลาดตามสื่อดิจิทัลที่ครองโลกแห่งภาพและวิดีโอ 9. อุตสาหกรรมอาหาร (Food) กระแสฟาร์มถึงโต๊ะอาหาร (Farm to Table) อาหารออร์แกนิก (Organic) และบรรจุภัณฑ์รักษ์โลก (Sustainable Packaging) ทำให้ธุรกิจอาหารที่จะเกิดในปี 2561 ต้องเป็นอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายและจิตใจควบคู่กัน นอกจากนี้ กระแสฟู้ดเน็ทเวิร์ค (Food Network) หรือการแชร์เมนูและประสบการณ์ทำอาหารบนโลกออนไลน์ ทำให้ผู้บริโภคหันมาทำอาหารเพื่อบริโภคเองมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง -----------------------------------ที่มา : ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี
21 ก.พ. 2561
งานแถลงข่าวการประกวดบรรจุภัณฑ์ไทย ประจำปี 2561
งานแถลงข่าวการประกวดบรรจุภัณฑ์ไทย ประจำปี 2561
21 ก.พ. 2561
ผู้ตรวจราชการเข้าตรวจราชการจังหวัดกำแพงเพชร
วันที่อังคาร 20 กุมภาพันธ์ 2561 นายจุลพงษ์ ทวีศรี ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม เข้าตรวจราชการสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดกำแพงเพชร และลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ชุมชนบ้านลานดอกไม้ตก ตำบลลานดอกไม้ตก อำเภอโกสัมพีนคร จังหวัดกำแพงเพชร โดยมีนางสาวนิรามัย ศิริศรีสุดากุล ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 ร่วมลงพื้นที่ด้วย
20 ก.พ. 2561
งานนิทรรศการวิชาการ "อุตสาหกรรมเซรามิก 4.0" อุตสาหกรรมเชื่อมโยงและศูนย์แสดงและจำหน่ายสินค้าเซรามิก
วันจันทร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2561 นายสมชาย หาญหิรัญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วยนางสาวนิสากร จึงเจริญธรรม รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายพรเทพ การศัพท์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และนายทรงพล สวาสดิ์ธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง ให้เกียรติร่วมเปิดงานนิทรรศการวิชาการ "อุตสาหกรรมเซรามิก 4.0" อุตสาหกรรมเชื่อมโยงและศูนย์แสดงและจำหน่ายสินค้าเซรามิก นางสาวนิรามัย ศิริศรีสุดากุล ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 นายภาสกร ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 นายสุรพล ปลื้มใจ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 2 นายทานทัด ยมเกิด ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาอุตสาหกรรมเซรามิก พร้อมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมพิธีเปิดงาน ณ ศูนย์แสดงและจำหน่ายสินค้าเซรามิกและหัตถกรรม จ.ลำปาง
19 ก.พ. 2561
พิธีเปิดงานศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม (Industry Transformation center : ITC)
วันจันทร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2561 นางสาวนิสากร จึงเจริญธรรม รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายพรเทพ การศัพท์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวนิรามัย ศิริศรีสุดากุล ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 นายภาสกร ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 นายสุรพล ปลื้มใจ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 2 นายทานทัด ยมเกิด ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาอุตสาหกรรมเซรามิก พร้อมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมพิธีเปิดงานศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม (Industry Transformation center : ITC) กล่าวต้อนรับโดยนายทรงพล สวาสดิ์ธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง กล่าวรายงานโดยนายกอบชัย สังสิทธิ์สวัสดิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดงานโดย ดร.สมชาย หาญหิรัญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ณ ศูนย์พัฒนาอุตสาหกรรมเซรามิก จ.ลำปาง
19 ก.พ. 2561
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมให้คำปรึกษาแนะนำงานอุตสาหกรรมเซรามิก 4.0 โดยมีการร่วมให้บริการทั้งศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1, 2 และ 3 มีมุมจัด Photo Studio
วันจันทร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2561 นายธวัชชัย กานต์ธัญลักษณ์ นักวิชาการอุตสาหกรรม และนายพันธุ์เทพ ทิพยเนตร นักวิชาการอุตสาหกรร ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมให้คำปรึกษาแนะนำงานอุตสาหกรรมเซรามิก 4.0 โดยมีการร่วมให้บริการทั้งศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1, 2 และ 3 มีมุมจัด Photo Studio ณ ศูนย์แสดงและจำหน่ายสินค้าเซรามิกและหัตถกรรมอุตสาหกรรม อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง
19 ก.พ. 2561