โทรศัพท์ 1358
การค้นหาขั้นสูง

หมวดหมู่
อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร
อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร
อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหารอุตสาหกรรมการแปรรูปอาหารเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญระดับสูงต่อประเทศไทย เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้จำนวนแรงงานมากที่สุด มีมูลค่าการลงทุนสูงที่สุด มีมูลค่าเพิ่มสูงที่สุด และมีการลงทุนด้านวิจัยและพัฒนาสูง ที่สุดในบรรดาสาขาต่าง ๆ ของภาคอุตสาหกรรมการผลิตไทย ในปัจจุบันมีแนวโน้ม การเปลี่ยนแปลงในตลาดอาหารทั่วโลกอยู่ 3 แขนง ซึ่งมีโอกาสส่งผลกระทบต่อ อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร แนวโน้มดังกล่าว ได้แก่ 1) ความต้องการมาตรฐานความปลอดภัยและความสามารถในการตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) ที่สูงขึ้นจากผู้บริโภคอาหาร 2) การเพิ่มขึ้นของความต้องการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพและผลิตภัณฑ์อาหารเสริม และ 3) การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากแหล่งโปรตีนทางเลือกซึ่งใช้พลังงาน ทรัพยากร และต้นทุนในการผลิตน้อยกว่าแหล่งโปรตีนจากสัตว์ ในปัจจุบันเป้าหมายการเพิ่มมาตรฐานการตรวจสอบย้อนกลับด้านความปลอดภัยของอาหาร การวิจัยและผลิตโภชนาเพื่อสุขภาพ ผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปที่ใช้โปรตีนทางเลือก เช่น โปรตีนเกษตรCr : http://www.oie.go.th/,http://www.eeco.or.th/
24 ม.ค. 2561
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 ลงพื้นที่สำรวจความต้องการ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านแปรรูปเกษตรท้องถิ่น
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 ลงพื้นที่สำรวจความต้องการ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านแปรรูปเกษตรท้องถิ่น
วันพุธที่ 24 มกราคม 2561 น.ส.กนกวรพรรณ คำฝอย นักวิชาการอุตสาหกรรมชำนาญการ และน.ส.จันทร์ธิมา วรรณลึก นักวิชาการอุตสาหกรรม ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 ลงพื้นที่สำรวจความต้องการ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านแปรรูปเกษตรท้องถิ่น หมู่ 7 ต.แหลมรัง อ.บึงนาราง จ.พิจิตร เพื่อคัดเลือกเข้าโครงการส่งเสริมการผลิตและการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์เข้าสู่มาตรฐานสากล
24 ม.ค. 2561
นิเวศกระเทียมดอง อีกหนึ่งความภูมิใจในการใช้บิการ เครือข่าย RISMEP
นิเวศกระเทียมดอง อีกหนึ่งความภูมิใจในการใช้บิการ เครือข่าย RISMEP
นิเวศกระเทียมดอง อีกหนึ่งความภูมิใจในการใช้บิการ เครือข่าย RISMEP
23 ม.ค. 2561
RISMEP Mechanism
RISMEP Mechanism
RISMEP (Regional Integrated SME Promotion Mechanism) การสร้างระบบการสนับสนุน SMEs / OTOPs แบบบูรณาการในระดับท้องถิ่น ประกอบด้วย สร้างเครือข่าย BDSP และเครือข่าย SP เพื่อบูรณาการการทำงานในการสนับสนุน SMEs / OTOPs ในระดับท้องถิ่น พัฒนารูปแบบการให้บริการของเครือข่าย เป็นแบบ Single Window เพื่อสร้างช่องทางการเข้าถึงบริการส่งเสริมวิสาหกิจได้อย่างง่ายและครบวงจร
23 ม.ค. 2561
อาหารสิ้นคิดที่ไม่สิ้นสุด เพียงแต่ใส่ไอเดียลงไป
อาหารสิ้นคิดที่ไม่สิ้นสุด เพียงแต่ใส่ไอเดียลงไป
อาหารสิ้นคิดที่ไม่สิ้นสุด เพียงแต่ใส่ไอเดียลงไป
23 ม.ค. 2561
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 ลงพื้นที่สำรวจความต้องการของหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (CIV) ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน พื้นที่จังหวัดพิจิตร
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 ลงพื้นที่สำรวจความต้องการของหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (CIV) ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน พื้นที่จังหวัดพิจิตร
วันอังคารที่ 23 มกราคม 2561 น.ส.กนกวรพรรณ คำฝอย นักวิชาการอุตสาหกรรมชำนาญการ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 ลงพื้นที่สำรวจความต้องการของหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (CIV) ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน พื้นที่จังหวัดพิจิตร ประกอบด้วย 1.กลุ่มจักสานผักตบชวาบ้านวังหลุม (CIV) 2.กลุ่มสมุนไพรชุมชนป่าตาล 3.กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารไข่เค็มและน้ำพริก เพื่อคัดเลือกเข้าโครงการส่งเสริมการผลิตและการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์เข้าสู่มาตรฐานสากล
23 ม.ค. 2561
เจ้าหน้าที่ศูนย์ฯ เข้าร่วมอบรม เชิงปฏิบัติการ การพัฒนาศักยภาพ ผู้ประสานงานเครือข่าย บริการส่งเสริม SMEs ( Service support coordinator : SSC )
เจ้าหน้าที่ศูนย์ฯ เข้าร่วมอบรม เชิงปฏิบัติการ การพัฒนาศักยภาพ ผู้ประสานงานเครือข่าย บริการส่งเสริม SMEs ( Service support coordinator : SSC )
วันอังคารที่ 23 มกราคม 2561 นางสาว สรญา บุญนำมา นักวิชาการอุตสาหกรรม เข้าร่วมอบรม เชิงปฏิบัติการ การพัฒนาศักยภาพ ผู้ประสานงานเครือข่าย บริการส่งเสริม SMEs ( Service support coordinator : SSC ) ระหว่างวันที่ 20 - 28 มกราคม 2561 ณ ประเทศญี่ปุ่น โดยในวันนี้ เข้าร่วมอบรมและworkshop เรื่องการพัฒนาศักยภาพการสอบถามสำหรับ Coordinator ณ unico International corp.
23 ม.ค. 2561
อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ
อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ
อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพการเกษตรเป็นสาขาอุตสาหกรรมที่มีผลิตภัณฑ์มวลรวมมากที่สุดในประเทศไทย นอกจากนี้ สัดส่วนแรงงานไทยที่ทำงานในภาคการเกษตรยังสูงถึงร้อยละ 40 ส่งผลให้การเกษตรเป็นอุตสาหกรรม ที่มีความสำคัญยิ่งต่อเศรษฐกิจของประเทศและความเป็นอยู่ของประชาชน อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันภาคเกษตรกรรมในไทยยังมีผลิตภาพแรงงานอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ จึงมีศักยภาพที่จะสามารถยกระดับจากการนำเทคโนโลยีทางการเกษตรใหม่ ๆ มาใช้ เป้าหมายพัฒนาเทคโนโลยีการเกษตรขั้นสูง ที่มีการใช้เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลแบบอัตโนมัติ การวิจัยและการลงทุนทางเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อปรับปรุงพันธุ์พืชและสัตว์Cr : http://www.oie.go.th/,http://www.eeco.or.th/
23 ม.ค. 2561
Amazon Go ร้านสะดวกซื้อเทรนแห่งอนาคต
Amazon Go ร้านสะดวกซื้อเทรนแห่งอนาคต
Amazon Go ร้านสะดวกซื้ออัจฉริยะไม่ต้องต่อคิว ไม่ต้องจ่ายเงินสด IN FOCUS Amazon อีคอมเมิร์ซรายใหญ่ของโลกจะเปิดให้บริการ Amazon Go ร้านชำสะดวกซื้อในปี 2017 และเตรียมขยายสาขากว่า 2,000 แห่งทั่วอเมริกาในอีก 10 ปี จุดเด่นของ Amazon Go คือลูกค้าไม่ต้องต่อคิว ไม่ต้องพกเงินสด แค่เปิดแอปฯ หยิบสินค้า และเดินออกไปได้เลย ระบบจะตัดเงินจากบัญชีโดยอัตโนมัติ Amazon Go สะท้อนให้เห็นว่าเทคโนโลยีอัจฉริยะอย่าง Deep-Learning, Computer Vision และ Sensor Fusion จะเข้ามามีบทบาทในธุรกิจค้าปลีกมากยิ่งขึ้น และเชื่อมต่อประสบการณ์ของผู้บริโภคผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์และออฟไลน์ในเวลาเดียวกัน หรือนี่คืออนาคตใหม่ของร้านชำ ธุรกิจค้าปลีกและห้างสรรพสินค้า? อันที่จริง หากย้อนกลับไปมองทิศทางการปรับตัวของภาคธุรกิจ จะเห็นได้ว่าร้านค้าและธุรกิจค้าปลีกเชนใหญ่ (Chain Store) ในสหรัฐฯ อาทิ J.C. Penney และ Nordstrom ปิดตัวลง เพราะได้รับผลกระทบจากอีคอมเมิร์ซที่เติบโตเฟื่องฟู ขณะที่ Walmart ทุ่มเงินซื้อสตาร์ทอัพอีคอมเมิร์ซเพื่อรุกคืบตลาดออนไลน์ ด้วยมูลค่า 3.3 พันล้านดอลลาร์ เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา แต่ Amazon กลับเดินหน้าบุกตลาดรีเทลเต็มที่ และจะประเดิมสาขาแรกที่ซีแอตเทิลในปี 2017 ทั้งยังตั้งเป้าว่าภายใน 10 ปี จะขยายสาขามากถึง 2,000 กว่าแห่งใน 35 รัฐทั่วประเทศ แล้ว Amazon เห็นโอกาสอะไรแฝงอยู่ในช่องว่างเหล่านี้? ทีมงานของ Amazon ได้ระบุไว้ในเว็บไซต์ว่า “เมื่อ 4 ปีก่อน เราถามตัวเองว่าจะเกิดอะไรขึ้น ถ้าหากเราสามารถสร้างสรรค์ประสบการณ์ช้อปปิ้งที่ไม่ต้องต่อคิว ไม่ต้องจ่ายเงินที่แคชเชียร์ เราจะขยายขอบเขตของเทคโนโลยี Computer Vision และ Machine Learning ในการสร้างร้านที่ลูกค้าแค่เข้ามาหยิบของที่ต้องการแล้วออกไปเลยได้หรือเปล่า ซึ่ง Amazon Go และประสบการณ์ช้อปปิ้งแบบ ‘Just Walk Out’ ก็ตอบโจทย์เหล่านั้น” มองในอีกแง่หนึ่ง มันคือการเชื่อมโยงของตลาดออนไลน์กับออฟไลน์ เพื่อเข้าถึงผู้บริโภคได้ทุกช่องทาง แต่ด้วยวิธีการและแนวคิดที่ ‘สดใหม่’ กว่า ข่าวการเปิดตัว Amazon Go ครั้งนี้ อาจส่งสัญญาณว่ารูปแบบของธุรกิจค้าปลีกจะเปลี่ยนไปจากเดิมอย่างแน่นอน และธุรกิจหมวดของชำและอาหารก็ยังเป็นที่ต้องการในกลุ่มผู้บริโภคอยู่ เพียงแต่ต้องจับทางให้ถูกว่าจะเข้าถึงลูกค้าหรือนำสินค้าไปถึงมือผู้บริโภคได้อย่างไร จึงจะสะดวกที่สุดและเหมาะสมที่สุด เป็นไปได้ว่าทางออกของการทำธุรกิจยุคดิจิทัลให้รอดไม่ใช่การปิดกิจการแบบ Physical Store หรือทำตลาดออนไลน์อย่างเดียว แต่คือการฉวยคว้า ‘ช่องว่าง’ ที่คนอื่นยังมองไม่เห็นและเปลี่ยนให้เป็นโอกาสทางธุรกิจ โดยไม่ลืมค้นหาความต้องการของผู้บริโภคและทำความเข้าใจพฤติกรรมของผู้บริโภคที่พร้อมจะเปลี่ยนไปทุกเมื่อ ถ้าหากใครหาเจอ และเป็นฝ่ายลงมือเดินหมากก่อน ก็น่าจะอยู่ในเกมนี้ได้อีกนาน อ้างอิง: – https://www.amazon.com/b?ie=UTF8&node=16008589011 – http://www.businessinsider.com/amazon-big-expansion-retail-pop-up-stores-2016-9/#heres-what-the-pop-up-store-in-san-franciscos-westfield-mall-looks-like-1 – http://www.wsj.com/articles/amazon-grocery-store-concept-to-open-in-seattle-in-early-2017-1480959119?mod=e2fb Tags: Amazon, Amazon Go, Deep-Learning, Computer Vision, Sensor Fusion
23 ม.ค. 2561
ยานยนต์แห่งอนาคต อีกหนึ่งการเปลี่ยนแปลง ยุค 4.0
ยานยนต์แห่งอนาคต อีกหนึ่งการเปลี่ยนแปลง ยุค 4.0
ยานยนต์แห่งอนาคต อีกหนึ่งการเปลี่ยนแปลง ยุค 4.0
23 ม.ค. 2561