10 ฟีเจอร์อัปเดตของ Facebook ที่คุณต้องรู้สำหรับปี 2019
10 ฟีเจอร์อัปเดตของ Facebook ที่คุณต้องรู้สำหรับปี 2019 มีสิ่งหนึ่งที่ยังคงเหมือนเดิมในการตลาดบนโลกออนไลน์นั้นก็คือ “ทุกอย่างล้วนเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา” โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกอย่าง Facebook แต่สิ่งที่น่าสนใจในวันนี้ก็คือ เมื่อ Facebook ทำการเปลี่ยนแปลงย่อมมีผลกระทบต่อผู้ประกอบการและนักการตลาดโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเรื่องของการโฆษณา Facebook ได้เปิดตัวการปรับปรุงพัฒนาที่ยอดเยี่ยมที่เราคาดว่าน่าจะได้เห็นในอีก ไม่กี่เดือนข้างหน้า การพัฒนาปรับปรุงครั้งนี้ เราควรศึกษาเอาไว้ใช้ในการวางแผนกลยุทธ์ในปี 2019 เพื่อช่วยให้คุณได้รับข้อมูลที่อัปเดตสามารถนำไปใช้ในการวางกลยุทธ์ในการแข่งขัน อ่านเพิ่มเติมได้ที่: https://stepstraining.co/…/11-facebook-updates-you-need-to-… #ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่3
28 มี.ค. 2562
จับกระแส Aging Society ทำ “อาหารผู้สูงวัย” ให้ว้าว!
จับกระแส Aging Society ทำ “อาหารผู้สูงวัย” ให้ว้าว! ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ นี่กลายเป็นตลาดและโอกาสของผู้ประกอบการที่จะทำสินค้าและบริการต่างๆ ออกมาตอบสนองคนกลุ่มนี้ หนึ่งในเทรนด์ที่น่าจับตาคือ อาหารผู้สูงวัย แต่จะทำอย่างไรให้ได้สินค้าที่ตอบโจทย์ ทั้งด้านคุณค่าทางโภชนาการ และคนทานอย่างผู้สูงวัยต้องกด Like ไปหาคำตอบกัน CR : https://www.smethailandclub.com/entrepreneur-4358-id.html #ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่3
26 มี.ค. 2562
เลือกเครื่องมือการตลาดดิจิทัลที่ใช่! ยอดขายเพิ่มในพริบตา
เลือกเครื่องมือการตลาดดิจิทัลที่ใช่! ยอดขายเพิ่มในพริบตา ปัญหาใหญ่ของผู้ประกอบการที่ทำการตลาดออนไลน์ในยุคนี้ คือทำการตลาดไปแล้ว แต่ผลลัพธ์ที่ได้กลับมานั้น อาจไม่มีประสิทธิภาพอย่างที่คาดหวังไว้ เป็นไปได้ว่าเกิดจากผู้ประกอบการเลือกใช้เครื่องมือดิจิทัลที่ไม่เหมาะสม การโฆษณาบน Facebook เหมาะสำหรับสร้างการรับรู้กับคนหมู่มาก ถ้าเป็น Instagram เน้นการขายผ่านรูปภาพ หรือ LINE@ เหมาะกับการแชทคุยปิดการขายกับลูกค้าได้โดยตรง ดังนั้นสิ่งสำคัญที่ผู้ประกอบการต้องรู้ในการเลือกใช้เครื่องมือดิจิทัล เพื่อให้การทำการตลาดเป็นไปอย่างเหมาะสม และทรงพลัง คือ ต้องรู้ว่าจะโปรโมทสินค้าแบบไหน และต้องรู้ว่าจะเข้าถึงลูกค้ากลุ่มใด CR : https://www.smethailandclub.com/marketing-4274-id.html #ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่3
25 มี.ค. 2562
"คนจีนยุคใหม่ ไม่เที่ยวเป็นกลุ่มใหญ่ ชอบแพ็คเก็จทัวร์ที่ออกแบบเอง"
"คนจีนยุคใหม่ ไม่เที่ยวเป็นกลุ่มใหญ่ ชอบแพ็คเก็จทัวร์ที่ออกแบบเอง" บทวิเคราะห์ของ EIC ธนาคารไทยพาณิชย์ อ้างอิงผลสำรวจของ McKinsey ที่เปิดเผยว่า กลุ่มคนจีนอายุ 35 ปีขึ้นไปเริ่มสนใจการท่องเที่ยวแบบกรุ๊ปทัวร์ที่สามารถออกแบบได้ด้วยตนเอง (Private & customized tour) ซึ่งมักจะมีลักษณะที่เฉพาะเจาะจงมาก เช่น ทัวร์ท่องเที่ยวขั้วโลกเหนือ ทัวร์ปีนเขาเอเวอเรสต์ ทัวร์ซาฟารีในแอฟริกา ทัวร์ที่เน้นทานอาหารมื้อหรูในร้านระดับ Michelin Star และชิมไวน์ที่มีชื่อเสียง ทัวร์เจาะลึกด้านสถาปัตยกรรม ฯลฯ แม้ว่าทัวร์ที่ออกแบบเองจะมีราคาสูงกว่าแพ็คเก็จทัวร์ทั่วๆ ไปกว่า 23% แต่ผลวิจัยระบุว่า ตลาดทัวร์ออกแบบเองกำลังเติบโตอย่างรวดเร็วในจีน ตรงข้ามกับตลาดกรุ๊ปทัวร์ทั่วไปที่กำลังหดตัวลงอย่างต่อเนื่องความน่าสนใจคือ แพ็คเก็จทัวร์ที่ออกแบบเองเป็นรูปแบบทัวร์ที่ไม่ได้ไปเที่ยวกันเป็นหมู่คณะเหมือนอย่างที่เคยเป็นมา เนื่องจากทัวร์ลักษณะนี้เกิดจากความต้องการท่องเที่ยวเฉพาะในกลุ่มเพื่อนฝูงหรือครอบครัวเท่านั้น ทำให้มีจำนวนนักท่องเที่ยวต่อกลุ่มไม่มากนัก พูดง่ายๆ ก็คือ คนจีนวัยกลางคนเริ่มเปลี่ยนแปลงรูปแบบการท่องเที่ยวจากกรุ๊ปทัวร์ขนาดใหญ่เป็นกรุ๊ปทัวร์ที่เล็กลงและยืดหยุ่นมากขึ้น นักท่องเที่ยวจีนยุคใหม่ ชอบหาประสบการณ์แปลกใหม่ผลสำรวจเดียวกันจาก McKinsey ยังชี้ให้เห็นอีกว่า คนจีนอายุระหว่าง 20-34 ปี นิยมหาประสบการณ์ด้วยตนเองในการเดินทาง ทั้งจุดหมายปลายทาง ที่พัก และตั๋วเครื่องบินที่ขอเลือกด้วยตนเอง ส่วนกิจกรรมหรือแหล่งท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวจีนยุคใหม่ชอบความแปลกใหม่ รวมถึงมักจะจ้างไกด์ท้องถิ่นเพื่อให้นำเที่ยวในสถานที่ท่องเที่ยวที่ตนเองสนใจแบบเจาะลึกควบคู่กับการช่วยแก้ปัญหาด้านการสื่อสารเนื่องจากคนจีนส่วนใหญ่ยังไม่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้อย่างคล่องแคล่ว นอกจากนั้นก็ชอบที่จะเลือกซื้อแพ็กเกจทัวร์ที่ตนเองสนใจจากบริษัททัวร์ท้องถิ่นเพื่อหาแหล่งท่องเที่ยวที่แปลกใหม่เช่นกัน พฤติกรรมเปลี่ยน การทำการตลาดก็ต้องเปลี่ยนEIC เสนอว่า ภาคการท่องเที่ยวไทยควรปรับตัวเพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวจีน บริษัทนำเที่ยวขนาดใหญ่อาจปรับเปลี่ยนหรือขยายรูปแบบการดำเนินธุรกิจเพื่อให้บริการแก่นักท่องเที่ยวจีนรุ่นใหม่ โดยการนำเสนอกิจกรรมหรือแหล่งท่องเที่ยวที่แปลกใหม่และน่าสนใจในแพ็กเกจทัวร์ ซึ่งอาจเน้นกิจกรรมที่นักท่องเที่ยวจีนรุ่นใหม่ชื่นชอบ เช่น กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับอาหาร การเดินชมตลาดและวิถีชีวิต รวมถึงการได้มีปฏิสัมพันธ์กับคนท้องถิ่น เป็นต้น นอกจากนี้ ธุรกิจที่พึ่งพารายได้จากนักท่องเที่ยวกรุ๊ปทัวร์ขนาดใหญ่อาจขยายฐานลูกค้าและกระจายความเสี่ยงไปยังกลุ่มนักท่องเที่ยวจีนรุ่นใหม่ที่นิยมหาข้อมูล และวางแผนการท่องเที่ยวด้วยตนเองผ่านสื่อออนไลน์ ซึ่งต้องใช้วิธีการทำการตลาดที่ต่างออกไปจากเดิมเพื่อให้เข้าถึงนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ เช่น การโปรโมทสินค้าหรือแหล่งท่องเที่ยวผ่าน Influencer หรือblogger ที่มีชื่อเสียงในกลุ่มวัยรุ่นชาวจีน การฉายคลิปโฆษณาผ่านแพลตฟอร์ม การแชร์วิดีโอออนไลน์ของจีน เป็นต้น ในขณะเดียวกันชุมชนท้องถิ่นที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่น่าสนใจก็สามารถสร้างธุรกิจจากจุดเด่นของตนเพื่อให้บริการแก่นักท่องเที่ยว และรับประโยชน์จากกระแสการเปลี่ยนพฤติกรรมการท่องเที่ยวของคนจีนได้เช่นกัน CR : brandinside.asia#ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่3
20 มี.ค. 2562
ผ้าฝ้ายหมักโคลนทะเล ร้านลีลาฝ้าย อ.บ้านฉาง จ. ระยอง ภูมิปัญญาแห่ง EEC
ผ้าฝ้ายหมักโคลนทะเล ร้านลีลาฝ้าย อ.บ้านฉาง จ. ระยอง ภูมิปัญญาแห่ง EEC เมื่อ “โคลน” สมบัติจากท้องทะเลได้รับการค้นพบและนำมารวมเข้ากับสินทรัพย์ทางวัฒนธรรมอย่างเครื่องนุ่มห่มและการแต่งกาย “ผ้าฝ้ายทอมือหมักโคลนทะเล” จาก “ลีลาฝ้าย” จึงกลายเป็นแบรนด์เสื้อผ้าสตรีจากภาคตะวันออกที่เป็นส่วนผสมใหม่อันน่าสนใจ ด้วยมีการผสมผสานความเป็นท้องถิ่นให้สะท้อนเอกลักษณ์ของจังหวัดติดชายฝั่งด้วยการย้อมโคลนทะเล เป็นที่รู้กันดีว่าหนึ่งในสรรพคุณที่โดดเด่นของ “โคลน” คือการช่วยคืนความชุ่มชื่นให้แก่ผิว ในโรงพยาบาลและศูนย์ธรรมชาติบำบัดต่างๆ ทั่วโลก ได้นำโคลนไปใช้รักษาโรคผิวหนัง และยังถูกใช้เป็นส่วนผสมหลักในผลิตภัณฑ์ความงามต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมไปจนถึงผลิตภัณฑ์ประทินผิว ด้วยคุณสมบัติพิเศษที่เป็นตัวดูดซับชั้นยอด จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับที่จะใช้ในการดูดซับสารพิษจากมลภาวะที่ต้องเผชิญในแต่ละวัน นอกจากนี้ โคลนยังอุดมไปด้วยแร่ธาตุสำคัญต่างๆ ได้แก่ ซิลิกาที่ช่วยให้ผิวชุ่มชื่น สังกะสีมีสรรพคุณในการบำบัด และแมกนีเซียมช่วยต้านอาการแพ้และรักษาอาการอักเสบของผิวหนัง กระตุ้นการไหลเวียนโลหิต ตลอดจนช่วยเปิดรูขุมขนให้ผิวดูดซึมสารอาหารที่มีประโยชน์ได้ดียิ่งขึ้น โคลนจึงกลายเป็น “สินทรัพย์จากท้องทะเล” ที่มีค่าและรอวันให้ผู้ประกอบการสร้างสรรค์ของไทยในอุตสาหกรรมต่างๆ ไปค้นพบและหยิบจับขึ้นมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับธุรกิจและกลุ่มลูกค้าของตนเอง แบรนด์ “ลีลาฝ้าย” อ. บ้านฉาง จ. ระยอง เลือกนำโคลนทะเลที่ได้มาจากปากคลองบ้านพลา ซึ่งเป็นโคลนบริสุทธ์ สีเทาเนียน เนื้อละเอียด ไม่มีเม็ดดินหรือทรายปะปน ไม่มีกลิ่น และมีคุณสมบัติช่วยดูแลและฟื้นฟูผิวพรรณตามธรรมชาติ มาเป็นวัตถุดิบตั้งต้นในการหมักผ้าฝ้ายและผ้าไหมที่ทอจากเส้นใยไหมที่ชาวบ้านเลี้ยง จากนั้นจึงนำมาหมักด้วยโคลนทะเลที่มีความพิเศษ อันเป็นกรรมวิธีที่มีมาแต่โบราณ เพื่อรักษาเนื้อผ้า โดยเนื้อผ้าที่ผ่านการหมักโคลนจะมีคุณลักษณะพิเศษคือจะทิ้งตัว ไม่หดหรือยุ่ยเมื่อนำมาซัก นอกจากนี้ผ้าที่ผ่านการหมักด้วยโคลนจะได้สีสันที่แปลกตา เมื่อนำไปย้อมสีก็จะได้ผ้าที่มีสีสดมากขึ้นเพราะโคลนช่วยจับสีทำให้สีเข้มขึ้นและติดทนนาน พร้อมให้นำไปตัดเย็บ และผสมผสานกับเทคนิคการทออื่นๆ โดยสามารถออกแบบตัดเย็บด้วยดีไซน์ที่โดดเด่นของตัวผ้า ผสมผสานกับแฟชั่นสมัยใหม่ให้แปลกตาไม่ซ้ำใครในรูปแบบตามสมัยนิยม ทั้งยังสวมใส่สบาย ดูแลง่าย และสะท้อนตัวตนของผู้สวมใส่ได้เป็นอย่างดี ผ้าพันคอ เสื้อกั๊ก เสื้อคลุม ไปจนถึงชุดเดรส กระโปรง และกางเกงหลายแบบหลากทรงจากแบรนด์ลีลาฝ้าย นับเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์โอท็อปของดีของอำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง เมืองที่เต็มไปด้วยทรัพยากรทางธรรมชาติที่หลากหลาย และพื้นที่เศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ ทุกๆ ครั้งที่แบรนด์ลีลาฝ้ายได้นำผลิตภัณฑ์ของตนไปออกร้านจัดแสดง จะได้รับการตอบรับที่ดีอยู่เสมอ โดยมีฐานลูกค้าที่ขยายวงกว้างมากขึ้นเรื่อยๆ จากเพียงลูกค้าในจังหวัดและจังหวัดใกล้เคียง มาถึงลูกค้าส่วนกลางจากเมืองกรุง และกำลังจะก้าวไปสู่การส่งมอบคุณภาพของผ้าทอมือที่ทุกผืนได้รับการทอและหมักโคลนด้วยใจไปยังลูกค้านานาประเทศทั่วโลกต่อไป สมกับการเป็นโอท็อปของไทยในทศวรรษใหม่ ที่นำภูมิปัญญาและฝีมือแบบไทย ให้ก้าวไกลไปไม่หยุดยั้ง เพราะการได้สัมผัสความนุ่มลื่นมือของผ้าทอหมักโคลนทะเลที่มีสีสันสวยงามเป็นเอกลักษณ์และคุณภาพดีนั้น นอกจากจะเป็นสัมผัสที่อบอุ่นเสมือนได้รับการโอบกอดไว้อย่างอ่อนโยนแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่าและชาญฉลาด ไปพร้อมๆ กับการได้ส่งเสริมผู้ประกอบการโอท็อปของไทยให้ได้เติบโตต่อไปอย่างมั่นคงในอนาคต ติดต่อ : ลีลาฝ้าย ผ้าย้อมโคลนทะเลเลขที่ 3 ซ. เทศบาล 25 ต. สำนักท้อน อ.บ้านฉาง จ. ระยอง 21130โทรศัพท์: 086 853 2828เฟซบุ๊ก : facebook.com/ผ้าหมักโคลนทะเล
19 มี.ค. 2562
5 เทคนิคปั้นแบรนด์ให้ติดเปรี้ยง
กลยุทธ์การตลาดมีวิวัฒนาการและเปลี่ยนไปตามยุคสมัย จากการทำโฆษณาหรือประชาสัมพันธ์ที่เคยให้ผู้บริโภครับสารฝ่ายเดียวก็ขยับมาเป็นการให้ผู้บริโภคได้เข้ามามีส่วนร่วมในผลิตภัณฑ์ทั้งทางตรงทางอ้อมเพื่อสร้างความจดจำ ความประทับใจ ความตราตรึงใจในประสบการณ์ที่ได้รับจากการใช้สินค้าและบริการผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ รูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัส ซึ่งเรียกกลยุทธ์การตลาดแบบนี้ว่า Experiential Marketing หรือบางคนก็เรียก Engagement Marketing เป็นกลยุทธ์ที่เน้นสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้บริโภคโดยตรง ทำให้เกิดความเชื่อมโยงและความผูกพันระหว่างกัน จึงถือว่าเป็นเครื่องมือที่ทรงประสิทธิภาพในการแสดงออกถึงบุคลิกของแบรนด์ โดย 5 เทคนิคสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักในวงกว้างด้วย Experiential Marketing มีดังนี้ 1. ทำแคมเปญผ่านโซเชียลมีเดีย เนื่องจากสามารถเข้าถึงผู้บริโภคในวงไม่จำกัด แต่ต้องเลือกสื่อให้เหมาะสม เช่น เฟซบุ๊ก เหมาะกับการไลฟ์สดในงานอีเวนต์ เพราะไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็สามารถร่วมแสดงความคิดเห็นได้ ส่วน ทวิตเตอร์ และ อินสตาแกรม นิยมใช้เพื่อการติดแฮชแท็กเกี่ยวข้องกับกิจกรรมที่กำลังทำ และถึงแม้กิจกรรมจะเสร็จสิ้นไปแล้ว ข้อมูลเกี่ยวกับแบรนด์ก็จะคงอยู่บนโลกออนไลน์ตลอดไป 2. สนองความพึงพอใจด้วยความไว ผู้บริโภคสมัยนี้ไม่ชอบรอ ไม่ชอบอะไรที่ยืดเยื้อ และไม่ชอบอะไรที่ต้องใช้ความพยายามมากเกินขีดจำกัดที่ตั้งไว้ ดังนั้น หากจัดกิจกรรมประกวดอะไร ก็ควรให้แจ้งผลแบบฉับไวทันใจ และประกาศผลถี่ๆ วันละหลายรอบ เป็นต้น 3. แสดงจุดยืนความรับผิดชอบต่อสังคม การทำ CSR หรือ Corporate Social Responsibility เป็นอีกเทคนิคที่ช่วยให้ผู้บริโภครู้สึกดีกับแบรนด์ เพราะจะมีความรู้สึกร่วมกับประเด็นเพื่อสังคม เพื่อสิ่งแวดล้อม และความยุติธรรมต่างๆ เนื่องจากเชื่อว่าเมื่อเป็นฝ่ายรับแล้วก็ควรต้องให้อะไรกลับคืนไปบ้าง จะเห็นได้ว่าแบรนด์ไหนมีกิจกรรมแสดงออกถึงความเอื้ออาทรต่อเพื่อนร่วมโลกอย่างจริงใจ แบรนด์นั้นมีแนวโน้มได้รับความสนใจและได้ใจผู้บริโภค 4. สร้างกลุ่มแฟนคลับหรือสาวกแบรนด์ หนึ่งในกลยุทธ์ Experiential Marketing ที่ได้ผลที่สุดคือการมีแบรนด์แอมบาสซาเดอร์ที่ไม่จำเป็นต้องเป็นนักแสดงหรือเซเลบ อาจเป็นลูกค้ากลุ่มที่ภักดี หรือคนที่จะส่งสารถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้ดีกว่าทุกกลุ่มก็คือคนกลุ่มเดียวกับพวกเขาเอง ซึ่งหากพวกเขารู้สึกดีกับแบรนด์ ก็พร้อมที่จะประชาสัมพันธ์ให้แบรนด์และปกป้องแบรนด์เมื่อถูกโจมตี 5. เน้นความจริงใจไม่เสแสร้ง การทำการตลาดแบบหมกเม็ดหรือบอกไม่หมด ส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์แน่นอน เนื่องจากผู้บริโภคโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ค่อนข้างมีความรู้ และมักศึกษาข้อมูลก่อนซื้อสินค้าหรือบริการ สิ่งที่มัดใจพวกเขาคือความจริงใจ ความน่าเชื่อถือ และตรงไปตรงมา หากได้รับประสบการณ์ด้านลบ พวกเขาไม่ลังเลที่จะกระจายความรู้สึกนั้นผ่านโซเชียลมีเดีย และทำให้แบรนด์เสียหายได้ ปัจจุบันผู้บริโภคถูกถล่มด้วยข้อมูลข่าวสารและโฆษณาแทบทุกช่องทาง การมอบประสบการณ์ให้ผู้บริโภคจะช่วยสร้างปฏิสัมพันธ์และทำให้แบรนด์ฝ่าวงล้อมขึ้นมาโดดเด่นได้ ทำให้แบรนด์เป็นที่จดจำในระดับที่สูงขึ้น สิ่งที่ผู้ประกอบการจะได้รับจากการทำการตลาดแบบนี้คือความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของคอนเทนต์หรือสิ่งที่นำเสนอ ยิ่งถ้าอีเวนต์ไหนน่าสนใจ เป็นกระแสพูดถึงในโลกโซเชียลมากจนกลายเป็นไวรัล คนในสังคมก็ยิ่งต้องการมีส่วนร่วม ได้ถ่ายรูป ได้แชร์ลงในโลกโซเชียลจะได้ไม่ตกเทรนด์ นอกจากนั้น ยังเป็นช่องทางที่ดีช่องทางหนึ่งที่ใช้เพื่อศึกษาพฤติกรรมและรสนิยมของลูกค้า Experiential Marketing จึงเป็นกลยุทธ์หนึ่งที่นำมาใช้ได้ตลอดและไม่มีทีท่าจะล้าสมัย CR : ธนาคารกสิกรไทย#ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่3
14 มี.ค. 2562
" 6 เทรนด์มาแรง ตลาดเครื่องสำอางปี 2019 "
" 6 เทรนด์มาแรง ตลาดเครื่องสำอางปี 2019 " ในปี 2018 ที่ผ่านมาแค่ช่วงไตรมาสแรกตลาดส่งออกเครื่องสำอางของไทยก็โตขึ้นกว่าปีที่ผ่านมาถึง 15.12 % โดยมีมูลค่าอยู่ที่ 671.86 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยในการขยายตัวดังกล่าวเกิดจากผู้ประกอบการรายย่อย หรือ SME เป็นหลัก และแม้ว่าตัวเลขการเติบโตจะค่อนข้างไปในทางบวกแต่บรรดาผู้ประกอบการด้านเครื่องสำอางทั้งหลายก็ไม่ควรนิ่งนอนใจเพราะเทรนด์ความงามตลาดโลกมีการเปลี่ยนแปลง และขยายตัวอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้ก้าวทันเทรนด์ใหม่ๆ ของปี 2019 ที่กำลังจะมาถึง มิสเดอร์มาสรุปรวมมาให้ได้ 6 ข้อดังนี้ค่ะ 1. สินค้าออร์แกนิคยังมาแรงแม้ว่าหลายปีหลังเทรนด์ออร์แกนิคจะมาแรง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าปี 2019 เทรนด์นี้จะลดความนิยมลง เพราะด้วยความที่ผู้บริโภคหันมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้น และที่สำคัญหันมาใส่ใจสิ่งแวดล้อมโลกมากขึ้นทำให้เทรนด์ออร์แกนิคจะยังคงความร้อนแรงอย่างต่อเนื่อง และจะไม่ใช่แค่ตัวเนื้อสินค้า แต่ยังรวมถึงบรรจุภัณฑ์ที่ต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมคือสามารถนำกลับมา Recycle ได้ หรือยิ่ยสลายได้ไม่เป็นขยะตกค้างบนโลก เพราะฉะนั้นในปี 2019 ถ้าอยากจะทำแบรนด์เพื่อจับกลุ่มผู้บริโภคยุคใหม่ต้องอย่าลืมให้ความสำคัญในเรื่องของความเป็นออร์แกนิคนะคะ 2. เร่งพัฒนานวัตกรรมความงามใหม่ๆคำว่า “นวัตกรรม” แม้จะฟังดูเป็นนามธรรมจับต้องไม่ได้ แต่ลูกค้าก็จะยังคงให้ความสำคัญในการเลือกซื้อสินค้าความงามจากนวัตกรรม ยิ่งเป็นนวัตกรรมที่ช่วยให้เห็นผลเร็ว และปลอดภัย หรือมีลูกเล่นใหม่ๆในเรื่องของ Texture สี กลิ่น ก็จะยิ่งสร้างความตื่นตา ตื่นใจน่าซื้อเพิ่มขึ้นไปอีก ด้วยเหตุนี้บรรดาเจ้าของแบรนด์คงต้องเลือกสินค้าที่มีนวัตกรรมใหม่ๆ มาทำแบรนด์เพื่อช่วยให้ขายดีกันแล้วล่ะค่ะ 3. สารสกัดหายากมีลักษณะเฉพาะตัวเป็นธรรมดาของสินค้าทั่วโลกที่ของหายาก มักจะขายดีเพราะมีความต้องการสูง และที่สำคัญมักจะราคาสูงซะด้วย เหตุผลเดียวกับกับสินค้าความงามที่มีส่วนผสมของสารสกัดหายากและมีคุณสมบัติเฉพาะตัวที่มักจะมีความต้องการสูงและขายดีกว่าสินค้าที่ทำมาจากสารสกัดธรรมดาหาง่ายโดยทั่วไป 4. ออกสินค้าเป็น Series เพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคได้หลากหลายปัจจุบันต้องยอมรับว่าความต้องการของผู้บริโภคหลากหลายมาก และมาจากหลากหลายกลุ่ม เพราะฉะนั้นบางครั้งใน 1 แบรนด์อาจจะต้องออกสินค้ามากกว่า 1 อย่างเพื่อตอบโจทย์กับทุกความต้องการ ซึ่งการออกสินค้าเป็น Series ก็เป็นอีกกลวิธีเพื่อรองรับเทรนด์สินค้าใหม่ๆในปี 2019 นี้ 5. กระปุกเดียวเอาอยู่ สวยได้ในทุกสถานการณ์แม้กระแสการใช้ชีวิต Slow Life จะยังมาแรงแต่ก็ต้องยอมรับว่าการใช้ชีวิตในเมืองมันทำยากมาก ยกเว้นการได้ Slow แบบไม่ตั้งใจเช่น รถติด เป็นต้น จึงนำมาซึ่งเทรนด์สินค้าความงามปี 2019 ลำดับที่ 5 นั่นก็คือเครื่องสำอางที่สามารถบำรุง พร้อมปกป้องผิวไปพร้อมๆ กันได้ในกระปุกเดียวเพราะอย่างที่เรารู้ๆ กันว่าการใช้ชีวิตในเมืองนอกจากจะต้องเผชิญแสงแดดอันร้อนแรงแล้ว ยังต้องเจอกับมลภาวะต่างๆอีกมากที่พร้อมจะทำลายผิว การที่จะต้องมาทาครีมทีละกระปุกเพื่อบำรุง และปกป้องอาจจะทำให้เสียเวลามากเกินไป การที่จะมีครีมสักตัวที่สามารถทำ 2 อย่างพร้อมกันได้จึงเป็นการตอบโจทย์ได้ดีที่สุดสำหรับชีวิตที่สุดแสนจะเร่งรีบของคนเมือง 6. กลิ่นหอมบ่งบอกตัวตนเทรนด์สุดท้ายที่จะมาแรงสำหรับปี 2019 นั่นก็คือเครื่องสำอางที่มีจุดเด่นด้านกลิ่น ซึ่งกลิ่นในที่นี้ไม่ใช่กลิ่นหอมอย่างเดียวแต่ต้องเป็นกลิ่นที่มีความหมาย เช่น กลิ่นที่ทำให้รู้สึกผ่อนคลายจากวันที่เหนื่อยล้า ซึ่งก็เหมาะมากกับเครื่องสำอางประเภท Night Cream หรือ กลิ่นอ่อนๆ ของสารสกัดยิ่งถ้านำมาสร้างสตอรี่ร่วมกับข้อ 1 นั่นคือความเป็นออร์แกนิคด้วยแล้วจะยิ่งทำให้สินค้าความงามของเรามีเสน่ห์ยิ่งขึ้นไปอีกค่ะ CR : www.derma-innovation.com#ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่3
25 ก.พ. 2562
จับตา 3 เทรนด์เด่นธุรกิจอีคอมเมิร์ซในอาเซียน พร้อมคาดมูลค่าทะลุ 3.1 ล้านล้านบาท ในปี 2025
จับตา 3 เทรนด์เด่นธุรกิจอีคอมเมิร์ซในอาเซียน พร้อมคาดมูลค่าทะลุ 3.1 ล้านล้านบาท ในปี 2025 Sea (Group) ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตแพลตฟอร์มชั้นนำ อาทิ การีนา (Garena) ช้อปปี้ (Shopee) และ แอร์เพย์ (AirPay) ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และไต้หวัน ชี้เทรนด์อีคอมเมิร์ซในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่น่าจับตามองในปี 2562 พร้อมคาดการณ์ธุรกิจอีคอมเมิร์ซในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังคงเป็นธุรกิจดาวเด่น และคาดว่าจะสามารถทำยอดขายได้มากกว่า 1 แสนล้านดอลลาร์ภายในปี 2025 ดร.สันติธาร เสถียรไทย Group Chief Economist Sea (Group) กล่าวว่า ปี 2561 ที่ผ่านมา นับเป็นอีกหนึ่งปีที่ดีของอุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซท่ีแนวโน้มการเติบโตดีอย่างต่อเนื่อง โดยนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ยังมองในมุมบวกว่าธุรกิจอีคอมเมิร์ซในอาเซียนน่าจะยังเติบโตได้อย่างแข็งแรงต่อในปี 2562 สวนทางกับทิศทางเศรษฐกิจโลก ที่หลากหลายมุมมองจากนักเศรษฐศาสตร์สำนักต่างๆ คาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจโลกจะชะลอตัวลงในปีนี้ จากปัจจัยต่างๆ เช่น สงครามการค้าระหว่างประเทศ และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ขณะที่รายงานจากกูเกิ้ล (Google) และเทมาเส็ก (Temasek) ระบุว่า อุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เติบโตเฉลี่ยต่อปีมากกว่า 62% ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา โดยคาดการณ์ว่าจะยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ผลักดันให้ยอดขายทั้งหมด (GMV) มีมูลค่ามากกว่า 1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 3.1ล้านล้านบาท) ภายในปี 2025 จากปัจจัยบวกที่เกื้อหนุน ทั้งการที่ผู้คนเข้าถึงอินเทอร์เน็ตมากขึ้นผ่านทางโทรศัพท์สมาร์ทโฟน การลงทุนจากภาคเอกชนและรัฐเพื่อพัฒนาระบบนิเวศน์ของอีคอมเมิร์ซ บวกกับการที่ยอดขายบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยังมีสัดส่วนอยู่เพียง 3-5% ของยอดขายจากการค้าปลีกทั้งหมด นับว่ายังมีขนาดค่อนข้างเล็กเมื่อเทียบกับประเทศจีนและสหรัฐอเมริกาที่สัดส่วนยอดขายอีคอมเมิร์ซสูงถึง 20% และ 10% ตามลำดับ ทำให้ยังมีโอกาสที่จะขยายตัวได้อีกมาก แต่หากมองเจาะลึกลงไปอีกขั้นจะพบว่า สิ่งที่น่าสนใจยิ่งกว่าอัตราการเติบโตอย่างก้าวกระโดดคือ “รูปแบบ” ของการขยายตัวและการพัฒนาของอีคอมเมิร์ซในภูมิภาคนี้ที่กำลังเปลี่ยนแปลงพลิกโฉมอย่างมหาศาลเช่นกัน โดยมี 3 เทรนด์ที่ต้องจับตามองอย่างใกล้ชิด ประกอบด้วย 1. ปรากฎการณ์ ‘Experiential ecommerce’ หรือ การที่อีคอมเมิร์ซกลายเป็นเรื่องของคนซื้อ “ประสบการณ์” ไม่ใช่แค่ซื้อของ – คล้ายกับการไปห้างสรรพสินค้าซึ่งในปัจจุบันความต้องการของผู้ใช้อีคอมเมิร์ซไม่หยุดอยู่เพียงแค่การซื้อสินค้าที่ตนเองต้องการ แต่ยังชอบที่จะค้นพบสินค้าใหม่ที่ตนไม่เคยรู้จักมาก่อน มองหาความเพลิดเพลินจากการใช้แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ และพอใจที่จะมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกับเพื่อนและผู้คนในแวดวงของตนเองอีกด้วย ผู้บริโภคอาจเข้าแอปพลิเคชันโดยที่ยังไม่มีสินค้าที่อยากซื้ออยู่ในใจ แต่เข้ามาเพื่อมองหาสินค้าและข้อเสนอที่น่าสนใจจากแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซและสอบถามข้อมูลจากผู้ขายเมื่อพบสินค้าที่ตนเองสนใจการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) บวกกับบิ๊กดาต้า เพื่อให้รู้จักผู้บริโภคและสามารถปรับสินค้าแนะนำที่แต่ละคนจะเห็นจึงกลายเป็นเรื่องที่สำคัญมาก นอกจากนี้ ผู้บริโภคยังเข้าแอปพลิเคชันมาเพื่อเล่นมินิเกม เช่น เกมตอบคำถามแบบในเกมโชว์ ที่ดำเนินรายการโดยดาราที่เราคุ้นเคย เพื่อชิงรางวัลได้เป็นส่วนลดไปใช้ในการช้อปปิ้งต่อได้ ที่สำคัญผู้เล่นยังสามารถเข้าไปเล่นร่วมกับเพื่อนไปพร้อมๆกัน เป็นกิจกรรมไม่ได้ทำคนเดียวแต่มีมิติของสังคมผสมเข้าไปด้วย สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือพรมแดนระหว่างการช้อปปิ้ง แวดวงสังคม และความบันเทิงจางหายไป ทำให้ตัวชี้วัดความสำเร็จของอีคอมเมิร์ซแพลตฟอร์มก็เปลี่ยนไปเช่นกัน ปัจจัยที่เมื่อก่อนนักวิเคราะห์อาจไม่สนใจเช่น “ระยะเวลา” ที่ผู้คนใช้บนแอปพลิเคชันก็ได้กลายเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง 2. อีคอมเมิร์ซแพลตฟอร์มกลายเป็น “เพื่อนคู่คิดภาคดิจิทัล” สำหรับผู้ขายออฟไลน์ เมื่อพฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไป แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ กำลังได้รับบทบาทใหม่ทางธุรกิจ ที่มากกว่าแค่ ‘ช่องทางจำหน่ายออนไลน์’ แต่ได้กลายเป็นเพื่อนคู่คิดของแบรนด์ออฟไลน์ต่างๆ โดยใช้ความเชี่ยวชาญด้านการวิเคราะห์ดาต้า คาดการณ์ความต้องการผู้บริโภค ช่วยนำเสนอแนวทางการโฆษณาและทำการตลาด โปรโมชั่น รวมไปถึงแก้ปัญหาเรื่องโลจิสติกส์ การชำระเงิน เพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคมากขึ้นอีกด้วย แม้ผู้ค้าปลีกต่างๆจะเห็นความสำคัญของตลาดออนไลน์มานานแล้วสิ่งที่เปลี่ยนไปจากแต่ก่อนก็คือ ร้านและแบรนด์ออฟไลน์ทุกเจ้าไม่จำเป็นต้องเปิดและลงทุนเงินมหาศาลในการสร้างร้านออนไลน์ของตนเองจากศูนย์เพราะสามารถหันมาจับมือใช้บริการของอีคอมเมิร์ซแพลตฟอร์มที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านนี้ได้ เทรนด์นี้ได้เกิดขึ้นแล้วในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในช่วงที่ผ่านมาแบรนด์ที่ผลิตสินค้าอุปโภค-บริโภค และร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ อาทิ ‘Miniso’ ในสิงค์โปร ‘Nestle’ ในมาเลเชีย และ ‘Big C’ ในประเทศไทย ได้เปิดร้านในแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซและร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดมากขึ้นเพื่อพัฒนาบริการให้ผู้บริโภค 3. อีคอมเมิร์ซ “เปิดประตู” สู่ผู้บริโภคและผู้ขายใหม่ที่ไม่เคยค้นพบมาก่อน แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซสามารถช่วยให้กลุ่มผู้ประกอบการรายย่อย หรือ กลุ่ม micro-entrepreneurs และ SME สามารถเข้าถึงตลาดใหม่ๆ ที่ไม่ได้กำจัดพื้นที่อยู่แค่ตลาดท้องถิ่นที่ผู้ประกอบการรายย่อยนั้นดำเนินการอยู่ อีกทั้งยังสร้างโอกาสให้กับแบรนด์ชั้นนำต่างๆ ให้เข้าถึงกลุ่มตลาดใหม่ ที่ไม่ใช่แค่ตลาดหลักดั้งเดิมของแบรนด์นั้นๆ อีกด้วย ยกตัวอย่างจากประสบการณ์ของช้อปปี้ (Shopee) ได้ทำงานร่วมกับธุรกิจจำหน่าย ‘ปลาร้า’ แห่งหนึ่งซึ่งปกติจะพบข้อกำจัดด้านการจัดส่งและการเข้าถึงลูกค้า หลังจากได้เปิดช่องทางออนไลน์ SME รายนี้สามารถเพิ่มยอดขายได้ถึง 2 เท่าในเวลา 3 เดือน จนสุดท้ายติดลมบนพัฒนาจนกลายเป็นผู้ส่งออกไปต่างประเทศ เช่น ออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ แต่ความสำเร็จเช่นนี้ไม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ เพราะยังมี SME จำนวนมากที่ไม่คุ้นกับการใช้อีคอมเมิร์ซ โดยการศึกษาของ Bain & Company ชี้ให้เห็นว่าแม้วิสาหกิจขนาดย่อมส่วนใหญ่ของไทยเห็นประโยชน์ของการขายออนไลน์มีไม่ถึง 50% ที่ได้ทำจริง การร่วมมือกันระหว่างอีคอมเมิร์ซแพลตฟอร์มและรัฐบาลในการจัดคอร์สอบรมเพื่อช่วยให้ร้านค้าเหล่านี้ใช้อีคอมเมิร์ซได้เต็มที่อย่างมีประสิทธิภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง สุดท้ายไม่ใช่เพียงฝั่งผู้ขายเท่านั้นที่จะเชื่อมเข้าสู่ตลาดได้ง่ายขึ้น ผู้บริโภคที่อาจอยู่ในถิ่นที่ไม่ค่อยมีร้านค้าปลีกให้เลือกมากนักก็สามารถใช้อีคอมเมิร์ซเพื่อให้ได้สินค้าโดยเฉพาะของจำเป็นที่ต้องการได้ โดยข้อมูลของช้อปปี้ชี้ให้เห็นว่ากลุ่มลูกค้าที่อาศัยอยู่นอกเขตเมืองหลวง ได้กลายเป็นกลุ่มผู้บริโภคที่มีความสำคัญมากขึ้นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ “กล่าวโดยสรุปคือ อีคอมเมิร์ซในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศไทยเปรียบเสมือนยังอยู่ใน “วัยเยาว์” ที่ไม่เพียงเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่มีการเปลี่ยนแปลงและวิวัฒนาการอยู่ตลอด ต้องลองมาจับตาดูว่าเทรนด์ที่น่าจับตาในปี 2562 ของธุรกิจอีคอมเมิร์ซในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ยังคงอยู่ในช่วงตลาด ‘Sunrise’ และมีการเติบโตของอุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซเติบโตอย่างต่อเนื่องนี้จะเป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมและธุรกิจต่างๆ ในภาพกว้าง รวมทั้งเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศไทยอย่างไรบ้าง” CR : www.brandbuffet.in.th#ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่3
20 ก.พ. 2562
SME จะเติบโตบน Facebook อย่างไร? ส่อง Insight คนไทยกับ “โซเชียลคอมเมิร์ซ” ขุมทรัพย์ธุรกิจ
SME จะเติบโตบน Facebook อย่างไร? ส่อง Insight คนไทยกับ “โซเชียลคอมเมิร์ซ” ขุมทรัพย์ธุรกิจ เรารู้กันอยู่แล้วว่า Facebook เป็นโซเชียลมีเดียที่คนไทยใช้งานกันล้นหลาม กว่า 52 ล้านรายต่อเดือน ผ่านช่องทางยอดฮิตอย่างมือถือที่ 51 ล้านคนเลือกใช้อยู่ทุกเดือน ตัวเลขนี้เรียกว่าเป็นสัดส่วนถึง 98% ของผู้ใช้งานทั้งหมดในประเทศไทย และจากตัวเลขที่สะท้อนความนิยมของ Facebook ในกลุ่มคนไทย ยังต่อยอดให้ Facebook กลายเป็นทำเลทองของกลุ่ม SME ด้วย ว่าแต่อะไรที่จะช่วยสนับสนุน SME บนแพลตฟอร์ม Facebook ให้เติบโตได้บนเส้นทางธุรกิจ… เรื่องนี้มีข้อมูลน่าสนใจจากรายงาน “Facebook 2018 Holiday Study” จากการรวบรวมข้อมูลของ Facebook IQ ที่ได้จัดเก็บพฤติกรรมผู้บริโภคอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 1,500 ราย ในช่วง 16 ต.ค.-31 ธ.ค. 2017 “SME จำนวนมากกำลังเติบโตบน Facebook ในยุคที่ธุรกิจกำลังเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลและสร้างประโยชน์จากการใช้งานเครื่องมือและทรัพยากรต่าง ๆ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการทั้งส่วนธุรกิจและผู้บริโภค” คุณชวดี วงศ์พยัต หัวหน้าฝ่ายธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม Facebook ประจำประเทศไทย ขยายภาพทิศทางธุรกิจ SME ไทยในปัจจุบัน และเล่าข้อมูลสำคัญจากรายงานของ Facebook IQ ว่า “มือถือ” สร้างโอกาสทาง “ธุรกิจ”คุณชวดี เล่าว่า 97% ของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตชาวไทยระบุว่าใช้งานสมาร์ทโฟน และใช้มือถือเฉลี่ย 4.53 ชั่วโมงต่อวัน ใช้โซเชียลมีเดียเฉลี่ย 3 ชั่วโมงต่อวัน ขณะที่ 39% ของผู้ตอบแบบสำรวจดังกล่าวเป็นกลุ่ม Mobile First Shoppers คือ ใช้มือถือเป็นสื่อหลักและสื่อแรกในการตัดสินใจชอปปิ้ง (ซึ่ง 60% ของคนกลุ่มนี้อยู่ในวัยมิลเลเนียล) และอีก 30% ยังคงชื่นชอบการชอปปิ้งจากหน้าร้าน สำหรับช่วงเทศกาลของนักชอปที่ผ่านมา (ช่วงไตรมาสที่ 4 ของทุกปี จะมีการจัดกิจกรรมเทศกาลชอปปิ้งออนไลน์) จำนวน 2 ใน 3 ของนักชอปช่วงเทศกาลระบุว่ามือถือช่วยให้พวกเขาตัดสินใจซื้อเพราะได้รับข้อมูลที่ครบถ้วนชัดเจนขึ้น โดย 55% ระบุว่าพวกเขาใช้มือถือเพื่อการชอปปิ้งในช่วงเทศกาลเพราะสะดวกกว่าการเดินทางไปยังหน้าร้าน และ Facebook กับ Instagram ได้กลายเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อการตัดสินใจชอปปิ้งในช่วงเทศกาลถึง 91% และ 70% ตามลำดับ “ในไทยมีผู้ใช้งาน Facebook 36 ล้านคนต่อวัน ทั้งตัวเลขผู้ใช้งานและการเติบโตทำให้ประเทศไทยถือเป็นหนึ่งในเอเชียแปซิฟิกที่ Facebook ให้ความสำคัญ ทั้งยังเป็นประเทศต้นแบบด้านโซเชียลคอมเมิร์ซที่ใหญ่ที่สุดในโลก ทำให้นักพัฒนาของเราต้องเดินทางจากต่างประเทศเพื่อมาศึกษาพฤติกรรมคนไทย เพื่อพัฒนาเครื่องมือใหม่ ๆ ออกมารองรับการใช้งานได้อย่างเหมาะสม” โซเชียลคอมเมิร์ซ ทำเลทองหนุน SME สู่ความสำเร็จสถิติที่น่าสนใจซึ่งทำให้ SME ไม่ควรมองข้ามการใช้ช่องทางโซเชียลคอมเมิร์ซเพื่อเข้าถึงลูกค้า ได้แก่ 67% ซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ในเดือนที่ผ่านมา, 52% ใช้โซเชียลมีเดียเป็นช่องทางแรกในการค้นหาแบรนด์และผลิตภัณฑ์, 51% ของนักชอปออนไลน์เคยซื้อสินค้าผ่านโซเชียลมีเดียโดยตรง และ 44% ก็เลือกใช้บริการชำระเงินผ่านมือถือในเดือนที่ผ่านมาด้วย เรื่องนี้ทำให้ Facebook เปิดเผยว่า SME ในประเทศไทยราว 4 ใน 5 ราย นิยมเริ่มต้นธุรกิจจาก Facebook ด้วยสาเหตุต่าง ๆ อาทิ 87% ระบุว่า Facebook คือหนึ่งในปัจจัยสร้างความสำเร็จให้ธุรกิจ และ 93% เห็นว่า Facebook ทำให้พวกเขาสามารถดึงดูดลูกค้าใหม่ ๆ ได้สำเร็จ โดย 89% ยอมรับว่าติดต่อกับลูกค้าผ่าน Facebook ซึ่ง 83% เห็นว่า Facebook ช่วยสร้างโอกาสเชิงเศรษฐกิจที่มีความสำคัญต่อชุมชนท้องถิ่น นอกจากนี้ หัวหน้าฝ่ายธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม Facebook ประเทศไทย ยังอธิบายเพิ่มเติมว่า Facebook พัฒนาฟีเจอร์ต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนการค้าและประสบการณ์ใช้งานบนมือถืออย่างไร้รอยต่อ อาทิ Shop Section, Messenger Payment, Mask as Paid, Order Management รวมถึงฟีเจอร์ล่าสุดอย่าง Click to Messenger ads ที่จะเข้ามาช่วยสนับสนุนให้ร้านค้ามีช่องทางพูดคุยกับลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพและส่งเสริมการขายได้ในขณะเดียวกัน หรือแม้แต่ฟีเจอร์ Dynamic Ads for Page Shop ที่ทำให้ร้านค้าสามารถแนะนำสินค้าได้ตรงความต้องการลูกค้าแต่ละรายได้ดีขึ้น แตกต่างจากการทำโซเชียลคอมเมิร์ซในอดีตด้วยเทคโนโลยีแบบ Personalize ที่ Facebook นำมาใช้มากขึ้น “เราต้องยอมรับว่าไม่ใช่ SME ทุกรายที่มีเว็บไซต์ของตนเอง ดังนั้น Facebook จึงกลายเป็นเครื่องมือเชื่อมโยงลูกค้าและผู้ประกอบการบนโลกออนไลน์ที่เราพัฒนามาจากพฤติกรรมผู้บริโภคและ SME ไทยจริง ๆ รวมถึงการสนับสนุนให้ SME เข้าถึงลูกค้ากลุ่มใหม่ ๆ ซึ่งใช้อยู่บนมือถือ ขณะเดียวกัน เครื่องมือต่าง ๆ ที่ Facebook แนะนำก็เป็นการสร้างปัจจัย” เครื่องมือเหล่านี้ช่วยให้ SMB สามารถเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น แต่การสร้าง เอนเกจ ก็เป็นอีกปัจจัยสำคัญเพื่อทำให้เกิดออแกนิกคอนเทนต์ การสร้างคอนเทนต์สม่ำเสมอ การพูดคุยกับลูกค้า ก็เป็นการสร้างความน่าเชื่อถือที่ดีที่สุดด้วย CR : www.marketingoops.com/digital-life#ศูนย์ส่งเริมอุตสาหกรรมภาคที่3
14 ก.พ. 2562
SME จะเติบโตบน Facebook อย่างไร? ส่อง Insight คนไทยกับ “โซเชียลคอมเมิร์ซ” ขุมทรัพย์ธุรกิจ
SME จะเติบโตบน Facebook อย่างไร? ส่อง Insight คนไทยกับ “โซเชียลคอมเมิร์ซ” ขุมทรัพย์ธุรกิจ เรารู้กันอยู่แล้วว่า Facebook เป็นโซเชียลมีเดียที่คนไทยใช้งานกันล้นหลาม กว่า 52 ล้านรายต่อเดือน ผ่านช่องทางยอดฮิตอย่างมือถือที่ 51 ล้านคนเลือกใช้อยู่ทุกเดือน ตัวเลขนี้เรียกว่าเป็นสัดส่วนถึง 98% ของผู้ใช้งานทั้งหมดในประเทศไทย และจากตัวเลขที่สะท้อนความนิยมของ Facebook ในกลุ่มคนไทย ยังต่อยอดให้ Facebook กลายเป็นทำเลทองของกลุ่ม SME ด้วย ว่าแต่อะไรที่จะช่วยสนับสนุน SME บนแพลตฟอร์ม Facebook ให้เติบโตได้บนเส้นทางธุรกิจ… เรื่องนี้มีข้อมูลน่าสนใจจากรายงาน “Facebook 2018 Holiday Study” จากการรวบรวมข้อมูลของ Facebook IQ ที่ได้จัดเก็บพฤติกรรมผู้บริโภคอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 1,500 ราย ในช่วง 16 ต.ค.-31 ธ.ค. 2017 “SME จำนวนมากกำลังเติบโตบน Facebook ในยุคที่ธุรกิจกำลังเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลและสร้างประโยชน์จากการใช้งานเครื่องมือและทรัพยากรต่าง ๆ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการทั้งส่วนธุรกิจและผู้บริโภค” คุณชวดี วงศ์พยัต หัวหน้าฝ่ายธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม Facebook ประจำประเทศไทย ขยายภาพทิศทางธุรกิจ SME ไทยในปัจจุบัน และเล่าข้อมูลสำคัญจากรายงานของ Facebook IQ ว่า “มือถือ” สร้างโอกาสทาง “ธุรกิจ”คุณชวดี เล่าว่า 97% ของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตชาวไทยระบุว่าใช้งานสมาร์ทโฟน และใช้มือถือเฉลี่ย 4.53 ชั่วโมงต่อวัน ใช้โซเชียลมีเดียเฉลี่ย 3 ชั่วโมงต่อวัน ขณะที่ 39% ของผู้ตอบแบบสำรวจดังกล่าวเป็นกลุ่ม Mobile First Shoppers คือ ใช้มือถือเป็นสื่อหลักและสื่อแรกในการตัดสินใจชอปปิ้ง (ซึ่ง 60% ของคนกลุ่มนี้อยู่ในวัยมิลเลเนียล) และอีก 30% ยังคงชื่นชอบการชอปปิ้งจากหน้าร้าน สำหรับช่วงเทศกาลของนักชอปที่ผ่านมา (ช่วงไตรมาสที่ 4 ของทุกปี จะมีการจัดกิจกรรมเทศกาลชอปปิ้งออนไลน์) จำนวน 2 ใน 3 ของนักชอปช่วงเทศกาลระบุว่ามือถือช่วยให้พวกเขาตัดสินใจซื้อเพราะได้รับข้อมูลที่ครบถ้วนชัดเจนขึ้น โดย 55% ระบุว่าพวกเขาใช้มือถือเพื่อการชอปปิ้งในช่วงเทศกาลเพราะสะดวกกว่าการเดินทางไปยังหน้าร้าน และ Facebook กับ Instagram ได้กลายเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อการตัดสินใจชอปปิ้งในช่วงเทศกาลถึง 91% และ 70% ตามลำดับ “ในไทยมีผู้ใช้งาน Facebook 36 ล้านคนต่อวัน ทั้งตัวเลขผู้ใช้งานและการเติบโตทำให้ประเทศไทยถือเป็นหนึ่งในเอเชียแปซิฟิกที่ Facebook ให้ความสำคัญ ทั้งยังเป็นประเทศต้นแบบด้านโซเชียลคอมเมิร์ซที่ใหญ่ที่สุดในโลก ทำให้นักพัฒนาของเราต้องเดินทางจากต่างประเทศเพื่อมาศึกษาพฤติกรรมคนไทย เพื่อพัฒนาเครื่องมือใหม่ ๆ ออกมารองรับการใช้งานได้อย่างเหมาะสม” โซเชียลคอมเมิร์ซ ทำเลทองหนุน SME สู่ความสำเร็จสถิติที่น่าสนใจซึ่งทำให้ SME ไม่ควรมองข้ามการใช้ช่องทางโซเชียลคอมเมิร์ซเพื่อเข้าถึงลูกค้า ได้แก่ 67% ซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ในเดือนที่ผ่านมา, 52% ใช้โซเชียลมีเดียเป็นช่องทางแรกในการค้นหาแบรนด์และผลิตภัณฑ์, 51% ของนักชอปออนไลน์เคยซื้อสินค้าผ่านโซเชียลมีเดียโดยตรง และ 44% ก็เลือกใช้บริการชำระเงินผ่านมือถือในเดือนที่ผ่านมาด้วย เรื่องนี้ทำให้ Facebook เปิดเผยว่า SME ในประเทศไทยราว 4 ใน 5 ราย นิยมเริ่มต้นธุรกิจจาก Facebook ด้วยสาเหตุต่าง ๆ อาทิ 87% ระบุว่า Facebook คือหนึ่งในปัจจัยสร้างความสำเร็จให้ธุรกิจ และ 93% เห็นว่า Facebook ทำให้พวกเขาสามารถดึงดูดลูกค้าใหม่ ๆ ได้สำเร็จ โดย 89% ยอมรับว่าติดต่อกับลูกค้าผ่าน Facebook ซึ่ง 83% เห็นว่า Facebook ช่วยสร้างโอกาสเชิงเศรษฐกิจที่มีความสำคัญต่อชุมชนท้องถิ่น นอกจากนี้ หัวหน้าฝ่ายธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม Facebook ประเทศไทย ยังอธิบายเพิ่มเติมว่า Facebook พัฒนาฟีเจอร์ต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนการค้าและประสบการณ์ใช้งานบนมือถืออย่างไร้รอยต่อ อาทิ Shop Section, Messenger Payment, Mask as Paid, Order Management รวมถึงฟีเจอร์ล่าสุดอย่าง Click to Messenger ads ที่จะเข้ามาช่วยสนับสนุนให้ร้านค้ามีช่องทางพูดคุยกับลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพและส่งเสริมการขายได้ในขณะเดียวกัน หรือแม้แต่ฟีเจอร์ Dynamic Ads for Page Shop ที่ทำให้ร้านค้าสามารถแนะนำสินค้าได้ตรงความต้องการลูกค้าแต่ละรายได้ดีขึ้น แตกต่างจากการทำโซเชียลคอมเมิร์ซในอดีตด้วยเทคโนโลยีแบบ Personalize ที่ Facebook นำมาใช้มากขึ้น “เราต้องยอมรับว่าไม่ใช่ SME ทุกรายที่มีเว็บไซต์ของตนเอง ดังนั้น Facebook จึงกลายเป็นเครื่องมือเชื่อมโยงลูกค้าและผู้ประกอบการบนโลกออนไลน์ที่เราพัฒนามาจากพฤติกรรมผู้บริโภคและ SME ไทยจริง ๆ รวมถึงการสนับสนุนให้ SME เข้าถึงลูกค้ากลุ่มใหม่ ๆ ซึ่งใช้อยู่บนมือถือ ขณะเดียวกัน เครื่องมือต่าง ๆ ที่ Facebook แนะนำก็เป็นการสร้างปัจจัย” เครื่องมือเหล่านี้ช่วยให้ SMB สามารถเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น แต่การสร้าง เอนเกจ ก็เป็นอีกปัจจัยสำคัญเพื่อทำให้เกิดออแกนิกคอนเทนต์ การสร้างคอนเทนต์สม่ำเสมอ การพูดคุยกับลูกค้า ก็เป็นการสร้างความน่าเชื่อถือที่ดีที่สุดด้วย CR : www.marketingoops.com/digital-life#ศูนย์ส่งเริมอุตสาหกรรมภาคที่3
12 ก.พ. 2562