โทรศัพท์ 1358
การค้นหาขั้นสูง

หมวดหมู่
กิจกรรมเพิ่มศักยภาพอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปด้วยเทคโนโลยี นวัตกรรม ระบบมาตรฐาน และระบบโลจิสติกส์
วันที่ 15 มีนาคม 2562 นายภานุวัฒน์ เพชรอยู่ และนางสาวรังสิมา แจ้งจิตร์ ตำแหน่ง นักวิชาการอุตสาหกรรม เจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่3 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ดำเนินการจัดกิจกรรมเพิ่มศักยภาพอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปด้วยเทคโนโลยี นวัตกรรม ระบบมาตรฐาน และระบบโลจิสติกส์ (ดำเนินการเอง)เรื่อง ข้อกำหนดการจัดทำระบบมาตรฐาน GMP ให้กับ หจก.ชาวบ้านสยาม จ.นครสวรรค์ วิทยากรโดย นายธรรมรัตน์ รุ่งสังข์ และนางสาวกิตติยา วิไลรัตน์ หุ้นส่วนผู้จัดการฯ และพนักงานเข้าร่วมกิจกรรม 2 คน และเข้าติดตามการดำเนินงานโครงการเสริมสร้างนวัตกรรมการผลิตในอุตสาหกรรมอาหาร (Northern Thailand Food Valley to Smart Industry 4.0) ปีงบประมาณ 2562 ที่ปรึกษาจาก สถาบันอาหาร ณ กิจการบิ๊คสเต็ค เรื่อง การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ และบจก.ซี อาร์ ทู และการติดตั้งชุด SENSOR ในขบวนการผลิต#ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่3
15 มี.ค. 2562
5 เทคนิคปั้นแบรนด์ให้ติดเปรี้ยง
กลยุทธ์การตลาดมีวิวัฒนาการและเปลี่ยนไปตามยุคสมัย จากการทำโฆษณาหรือประชาสัมพันธ์ที่เคยให้ผู้บริโภครับสารฝ่ายเดียวก็ขยับมาเป็นการให้ผู้บริโภคได้เข้ามามีส่วนร่วมในผลิตภัณฑ์ทั้งทางตรงทางอ้อมเพื่อสร้างความจดจำ ความประทับใจ ความตราตรึงใจในประสบการณ์ที่ได้รับจากการใช้สินค้าและบริการผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ รูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัส ซึ่งเรียกกลยุทธ์การตลาดแบบนี้ว่า Experiential Marketing หรือบางคนก็เรียก Engagement Marketing เป็นกลยุทธ์ที่เน้นสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้บริโภคโดยตรง ทำให้เกิดความเชื่อมโยงและความผูกพันระหว่างกัน จึงถือว่าเป็นเครื่องมือที่ทรงประสิทธิภาพในการแสดงออกถึงบุคลิกของแบรนด์ โดย 5 เทคนิคสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักในวงกว้างด้วย Experiential Marketing มีดังนี้ 1. ทำแคมเปญผ่านโซเชียลมีเดีย เนื่องจากสามารถเข้าถึงผู้บริโภคในวงไม่จำกัด แต่ต้องเลือกสื่อให้เหมาะสม เช่น เฟซบุ๊ก เหมาะกับการไลฟ์สดในงานอีเวนต์ เพราะไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็สามารถร่วมแสดงความคิดเห็นได้ ส่วน ทวิตเตอร์ และ อินสตาแกรม นิยมใช้เพื่อการติดแฮชแท็กเกี่ยวข้องกับกิจกรรมที่กำลังทำ และถึงแม้กิจกรรมจะเสร็จสิ้นไปแล้ว ข้อมูลเกี่ยวกับแบรนด์ก็จะคงอยู่บนโลกออนไลน์ตลอดไป 2. สนองความพึงพอใจด้วยความไว ผู้บริโภคสมัยนี้ไม่ชอบรอ ไม่ชอบอะไรที่ยืดเยื้อ และไม่ชอบอะไรที่ต้องใช้ความพยายามมากเกินขีดจำกัดที่ตั้งไว้ ดังนั้น หากจัดกิจกรรมประกวดอะไร ก็ควรให้แจ้งผลแบบฉับไวทันใจ และประกาศผลถี่ๆ วันละหลายรอบ เป็นต้น 3. แสดงจุดยืนความรับผิดชอบต่อสังคม การทำ CSR หรือ Corporate Social Responsibility เป็นอีกเทคนิคที่ช่วยให้ผู้บริโภครู้สึกดีกับแบรนด์ เพราะจะมีความรู้สึกร่วมกับประเด็นเพื่อสังคม เพื่อสิ่งแวดล้อม และความยุติธรรมต่างๆ เนื่องจากเชื่อว่าเมื่อเป็นฝ่ายรับแล้วก็ควรต้องให้อะไรกลับคืนไปบ้าง จะเห็นได้ว่าแบรนด์ไหนมีกิจกรรมแสดงออกถึงความเอื้ออาทรต่อเพื่อนร่วมโลกอย่างจริงใจ แบรนด์นั้นมีแนวโน้มได้รับความสนใจและได้ใจผู้บริโภค 4. สร้างกลุ่มแฟนคลับหรือสาวกแบรนด์ หนึ่งในกลยุทธ์ Experiential Marketing ที่ได้ผลที่สุดคือการมีแบรนด์แอมบาสซาเดอร์ที่ไม่จำเป็นต้องเป็นนักแสดงหรือเซเลบ อาจเป็นลูกค้ากลุ่มที่ภักดี หรือคนที่จะส่งสารถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้ดีกว่าทุกกลุ่มก็คือคนกลุ่มเดียวกับพวกเขาเอง ซึ่งหากพวกเขารู้สึกดีกับแบรนด์ ก็พร้อมที่จะประชาสัมพันธ์ให้แบรนด์และปกป้องแบรนด์เมื่อถูกโจมตี 5. เน้นความจริงใจไม่เสแสร้ง การทำการตลาดแบบหมกเม็ดหรือบอกไม่หมด ส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์แน่นอน เนื่องจากผู้บริโภคโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ค่อนข้างมีความรู้ และมักศึกษาข้อมูลก่อนซื้อสินค้าหรือบริการ สิ่งที่มัดใจพวกเขาคือความจริงใจ ความน่าเชื่อถือ และตรงไปตรงมา หากได้รับประสบการณ์ด้านลบ พวกเขาไม่ลังเลที่จะกระจายความรู้สึกนั้นผ่านโซเชียลมีเดีย และทำให้แบรนด์เสียหายได้ ปัจจุบันผู้บริโภคถูกถล่มด้วยข้อมูลข่าวสารและโฆษณาแทบทุกช่องทาง การมอบประสบการณ์ให้ผู้บริโภคจะช่วยสร้างปฏิสัมพันธ์และทำให้แบรนด์ฝ่าวงล้อมขึ้นมาโดดเด่นได้ ทำให้แบรนด์เป็นที่จดจำในระดับที่สูงขึ้น สิ่งที่ผู้ประกอบการจะได้รับจากการทำการตลาดแบบนี้คือความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของคอนเทนต์หรือสิ่งที่นำเสนอ ยิ่งถ้าอีเวนต์ไหนน่าสนใจ เป็นกระแสพูดถึงในโลกโซเชียลมากจนกลายเป็นไวรัล คนในสังคมก็ยิ่งต้องการมีส่วนร่วม ได้ถ่ายรูป ได้แชร์ลงในโลกโซเชียลจะได้ไม่ตกเทรนด์ นอกจากนั้น ยังเป็นช่องทางที่ดีช่องทางหนึ่งที่ใช้เพื่อศึกษาพฤติกรรมและรสนิยมของลูกค้า Experiential Marketing จึงเป็นกลยุทธ์หนึ่งที่นำมาใช้ได้ตลอดและไม่มีทีท่าจะล้าสมัย CR : ธนาคารกสิกรไทย#ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่3
14 มี.ค. 2562
กิจกรรมเพิ่มผลิตภาพและสุขภาวะองค์กร SMEs Happy and Productive Workplace
วันที่ 14 มีนาคม 2562 คณะทำงาน Happy Workplace ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 ดำเนินกิจกรรมเพิ่มผลิตภาพและสุขภาวะองค์กร SMEs Happy and Productive Workplace : SHAP ครั้งที่ 1/3 ชุดที่ 2 ในหัวข้อ งานได้ผล คนเป็นสุข ให้กับ ร้านทองประเสริฐรีไซเคิล อ.เมือง จ.พิจิตร โดยมีนายณัฐชัย จินดามัง เป็นวิทยากร ณ ศูนย์บริการธุรกิจอุตสาหกรรม ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3
14 มี.ค. 2562
กิจกรรมเพิ่มศักยภาพอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปด้วยเทคโนโลยี นวัตกรรม ระบบมาตรฐาน และระบบโลจิสติกส์
วันที่ 14 มีนาคม 2562 นายภานุวัฒน์ เพชรอยู่ และนางสาวรังสิมา แจ้งจิตร์ ตำแหน่ง นักวิชาการอุตสาหกรรม เจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่3 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ดำเนินการจัดกิจกรรมเพิ่มศักยภาพอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปด้วยเทคโนโลยี นวัตกรรม ระบบมาตรฐาน และระบบโลจิสติกส์ (ดำเนินการเอง)เรื่อง ข้อกำหนดการจัดทำระบบมาตรฐาน GMP ให้กับกิจการแนชเชอรัลโปรดักส์ จ.ลพบุรี โดยมีนายยุทธนา ดวงจันทร์ เจ้าของกิจการ และพนักงานเข้าร่วมกิจกรรม 3 คน และเข้าติดตามการดำเนินงานกิจกรรมเพิ่มศักยภาพอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปฯ ของที่ปรึกษาจาก ม.นเรศวร ณ บจก.กสิกรรมไร้สารพิษละโว้ธานี จ.ลพบุรี เรื่อง การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ ข้าวโพด Freeze dried
14 มี.ค. 2562
ฝึกอบรมหลักสูตร "บุกตลาดออนไลน์ "
วันที่ 14 มีนาคม 2562 ว่าที่ ร.ต.หญิงพรวิไลลักษณ์ เฆตพัฒน์ นักวิชาการอุตสาหกรรมชำนาญการ นายธวัชชัย กานต์ธัญลักษณ์ นักวิชาการอุตสาหกรรม และ น.ส.นิภาภรณ์ แสนโฮม เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ ITC จัดฝึกอบรมหลักสูตร "บุกตลาดออนไลน์ "ฯลฯ ระหว่างวันที่ 14-16 มีนาคม2562 ณ โรงแรมเบญจธารา บูติก เพลส รีสอร์ท จ.ลพบุรี#ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่3
14 มี.ค. 2562
พิธีเปิดศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม (Industry Transformation Center:ITC4.0)
วันพฤหัสบดีที่ 14 มีนาคม พ.ศ.2562 ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม (นายพสุ โลหารชุน) ให้เกียรติเป็นประธาน ในพิธีเปิดศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม (Industry Transformation Center:ITC4.0) โดยมีอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์) พร้อมด้วย รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (นายจารุพันธุ์ จารโยภาส, นายภาสรกร ชัยรัตน์) เลขานุการกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (นายเจตนิพิฐ รอดภัย) , คณะผู้บริหารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) , ผู้แทนจากหน่วยงานเครือข่ายภาครัฐและเอกชน และ นางเฉลา ศรีเพ็ชร ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่3พร้อมด้วนเจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่3 ทั้งนี้ศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม 4.0 (Industry Transformation Center) หรือ ศูนย์ ITC 4.0 จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็น 1 ใน 9 มาตราการพิเศษเพื่อการขับเคลื่อนเอสเอ็มอีสู่ 4.0 เเพื่อผลักดันและกระตุ้นให้ SMEs วิสาหกิจชุมชน เกิดความตระหนักถึงความสำคัญของการเปลี่ยนแปลง จามารถดำเนินการผลิตไปจนกระทั่งการออกแบบผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ และเชื่อมโยงด้านการตลาด (Matching) ทั้งในและต่างประเทศ เพื่เพื่อให้ SMEs มีความพร้อมและมีศักยภาพ ก้าวสู่การเป็น (SMART SMEs) ตลอดจนยกระดับเศรษฐกิจชุมชนเข้าสู่วิสาหกิจชุมชนสมัยใหม่ 4.0 ณ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 จังหวัดสุราษฎร์ธานี #ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่3
14 มี.ค. 2562
กิจกรรมเพิ่มผลิตภาพและสุขภาวะองค์กร SMEs Happy and Productive Workplace : SHAP
วันที่ 13 มีนาคม 2562 คณะทำงาน Happy Workplace ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 ดำเนินกิจกรรมเพิ่มผลิตภาพและสุขภาวะองค์กร SMEs Happy and Productive Workplace : SHAP ครั้งที่ 1/3 ในหัวข้อ งานได้ผล คนเป็นสุข ให้กับ ร้านทองประเสริฐรีไซเคิล อ.เมือง จ.พิจิตร โดยมีนายณัฐชัย จินดามัง ที่ปรึกษา SP เป็นวิทยากร ณ ศูนย์บริการธุรกิจอุตสาหกรรม ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3
13 มี.ค. 2562
ติดตามผลลัพท์และตรวจเยี่ยมผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนจังหวัด อุทัยธานีและชัยนาท
วันที่ 13-15 มีนาคม 2562 นางสาวรัตนาวดี มณีกูล และนางสาวจันทร์ธิมา วรรณลึก เจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 ลงพื้นที่ติดตามผลลัพท์และตรวจเยี่ยมผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนจังหวัด อุทัยธานีและชัยนาท ที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาองค์ความรู้ด้านการจัดตั้งธุรกิจ start up และโครงการให้คำปรึกษาแนะนำกระบวนการผลิตและการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพ#ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่3
13 มี.ค. 2562
กิจกรรมเพิ่มผลิตภาพและสุขภาวะองค์กร SMEs Happy and Productive Workplace : SHAP
วันที่ 12 มีนาคม 2562 นายสิริชัย สุขสะอาด ช่างเหล็ก ช.3 เข้าร่วมการดำเนินกิจกรรมเพิ่มผลิตภาพและสุขภาวะองค์กร SMEs Happy and Productive Workplace : SHAPโดยมีนายณัฐชัย จินดามัง ที่ปรึกษา SP เป็นวิทยากร ณ หจก.ลิ่มเชียงเส็ง อ.เมือง จ.นครสวรรค์
12 มี.ค. 2562
กิจกรรมอบรมเสริมสร้างองค์ความรู้การใช้ปัจจัยการผลิต เพื่อเพิ่มผลิตภาพการผลิตข้าวอินทรีย์ตามมาตรฐานสากล ครั้งที่ 3
วันอังคารที่ 12 มีนาคม 2562 นางสาวจันทร์แรม แดงโสภาพ นักวิชาการอุตสาหกรรมปฏิบัติการ และนางสาวชมพูนาถ อ่อนตานนท์ ช่างเย็บสานทอและประดิษฐ์ระดับ ช2 เจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ดำเนินการจัดกิจกรรมอบรมเสริมสร้างองค์ความรู้การใช้ปัจจัยการผลิต เพื่อเพิ่มผลิตภาพการผลิตข้าวอินทรีย์ตามมาตรฐานสากล ครั้งที่ 3 พื้นที่จังหวัดอุทัยธานี ณ บ้านเลขที่ 36/3หมู่1 ต.พลวงสองนาง อ.สว่างอารมณ์ จ.อุทัยธานี ภายใต้กิจกรรมพัฒนาการรวมกลุ่ม SMEs และเชื่อมโยงอุตสาหกรรม (Industrial Cluster Development) คลัสเตอร์ข้าวฅนอินทรีย์ ปีที่ 3 ปีงบประมาณ 2562 ซึ่งมีนายสิทธา สุขกันท์ วิทยากรด้านข้าวอินทรีย์และปุ๋ยอินทรีย์สรรพสิ่งอะตอมมิกนาโน ประธานคลัสเตอร์ข้าวฅนอินทรีย์ และประธานวิสาหกิจชุมชนฅนพิจิตรอินทรีย์ เป็นวิทยากรให้การอบรม ดำเนินการโดย ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เพื่อเสริมสร้างและกระจายองค์ความรู้การใช้ปัจจัยการผลิตเพื่อเพิ่มผลิตภาพการผลิตข้าวอินทรีย์ตามมาตรฐานสากล ในการใช้ปุ๋ยอินทรีย์และสารป้องกันศัตรูพืช โดยสามารถนำไปใช้ในการเพิ่มผลิตภาพการผลิตข้าวอินทรีย์ได้ ภายในกิจกรรมได้รับความร่วมมือจากผู้แทนหน่วยงานร่วมสนับสนุนอุตสาหกรรมข้าวอินทรีย์เข้าสังเกตุการและร่วมถ่ายทอดความรู้ อาทิ สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดอุทัยธานี สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดอุทัยธานี สำนักงานเกษตรอำเภอสว่างอารมณ์ และได้รับความร่วมมือจากสมาชิกกลุ่มคลัสเตอร์ข้าวฅนอินทรีย์ ในจังหวัดอุทัยธานีกว่า 30 คน ที่ตั้งใจเรียนรู้และมีความพึงพอใจอย่างดียิ่งในกิจกรรมครั้งนี้ #คลัสเตอร์ข้าวฅนอินทรีย์
12 มี.ค. 2562