โทรศัพท์ 1358
การค้นหาขั้นสูง

หมวดหมู่
ประชุมกรมการจังหวัดและหัวหน้าส่วนราชการจังหวัดพิจิตร ประจำเดือนสิงหาคม
วันพฤหัสบดีที่ 30 สิงหาคม 2561 นางสาวปิยกุล กรรณสูต ผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์และแผนงานภูมิภาค ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 เข้าร่วมประชุมกรมการจังหวัดและหัวหน้าส่วนราชการจังหวัดพิจิตรโดยมีนายวีระศักดิ์ วิจิตร์แสงศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร เป็นประธานการประชุม ณ ห้องประชุมชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดพิจิตร อ.เมือง จ.พิจิตร
30 ส.ค 2561
ติดตามการดำเนินโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและบริหารธุรกิจอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป พื้นที่ จังหวัดพิจิตร และกำแพงเพชร
วันพุธที่ 29 สิงหาคม 2561 นางสาวจันทร์แรม แดงโสภาพ นักวิชาการอุตสาหกรรมปฏิบัติการ เจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม เข้าติดตามการดำเนินโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและบริหารธุรกิจอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป พื้นที่ จังหวัดพิจิตร และกำแพงเพชร ที่ปรึกษาโดย คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ซึ่งเป็นการลงพื้นที่เข้าพบผู้ประกอบการ ณ สถานประกอบการในอำเภอพรานกระต่าย และอำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชรที่เข้าร่วมโครงการฯ
29 ส.ค 2561
สัมมนาเชิงปฏิบัติการโครงการ RISMEP เรื่องการร่างแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ปีงบประมาณ 2562 เ
วันที่ 29 สิงหาคม 2561 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 ร่วมกับสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดนครสวรรค์ จัดกิจกรรม สัมมนาเชิงปฏิบัติการโครงการ RISMEP เรื่องการร่างแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ปีงบประมาณ 2562 เพื่อขยายผลโครงการ RISMEP สู่พื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ โดยมีหน่วยงานส่งเสริมสนับสนุนผู้ประกอบการในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์และที่ปรึกษาธุรกิจ เข้าร่วม ณ โรงแรมแกรนด์ฮิลล์ รีสอร์ทแอนด์สปา จังหวัดนครสวรรค์
29 ส.ค 2561
ทันเกมการค้า : จับเทรนด์ธุรกิจท่องเที่ยว เมื่อคนเอเชียชอบเที่ยวกับครอบครัว
ทันเกมการค้า : จับเทรนด์ธุรกิจท่องเที่ยว เมื่อคนเอเชียชอบเที่ยวกับครอบครัว ภาคการท่องเที่ยวเป็นธุรกิจหลักของไทย แต่เมื่อโลกเปลี่ยนไปทุกวัน ใครที่ทำธุรกิจด้านนี้ต้องปรับตัวให้ทันกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปด้วย Agoda เปิดผลโพลชาวเอเชียชอบเที่ยวทั้งครอบครัว ดึงยอดจองห้องพักเพิ่ม จอห์น บราวน์ ประธานกรรมการบริหาร Agoda บอกว่า การท่องเที่ยวแบบครอบครัวโตขึ้นเรื่อยๆ และมีความต้องการที่หลากหลาย โดยผลสำรวจเทรนด์การท่องเที่ยวปี 2018 (จัดทำโดย YouGov) พบว่า 70% ของนักท่องเที่ยวทั่วโลก จะเดินทางเป็นครอบครัวเฉลี่ยปีละ 2 ทริป ซึ่งคนเอเชียชอบเที่ยวเป็นครอบครัว เฉลี่ยแล้วมากกว่าปีละ 5 ทริป และยังมากกว่าค่าเฉลี่ยชาวยุโรปที่จะเที่ยวกับครอบครัวปีละ 2 ทริป “ชาวเอเชียเดินทางท่องเที่ยวเป็นครอบครัวในแต่ละปีบ่อยที่สุด โดยนักท่องเที่ยวชาวไทย 77% และชาวฟิลิปปินส์ 62% เดินทางท่องเที่ยวเป็นครอบครัวมากกว่า 5 ครั้งต่อปี ตรงข้ามกับนักท่องเที่ยวชาวอังกฤษที่มีเพียง 7% ที่จะท่องเที่ยวเป็นครอบครัวมากกว่า 5 ครั้งต่อปี ซึ่งส่วนใหญ่กว่า 34% ท่องเที่ยวเป็นครอบครัวเพียง 1 ครั้งต่อปี” นอกจากนี้การเที่ยวเป็นครอบครัวจะทำให้มีหลายเจนเนอเรชั่นเที่ยวด้วยกันทั้ง รุ่นปู่-ย่า-พ่อ-แม่-ลูก ซึ่งความต้องการของนักท่องเที่ยวคือ การใช้เวลากับครอบครัวได้มากขึ้น ทำให้รูปแบบการท่องเที่ยวต้องมีความหากหลายตามไปด้วย เช่น การพักผ่อน การได้ลองทำสิ่งใหม่ๆ เรียนรู้วัฒนธรรม และ ผจญภัย จับพฤติกรรมลูกค้าเน้นเที่ยวสั้นแต่บ่อยขึ้น โรงแรมเฮงเพราะลูกค้าจองที่พักเพิ่ม ระยะเวลาในการท่องเที่ยวถือเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับโรงแรม ว่าเขาจะจองที่พักติดกันกี่คืน จากผลสำรวจพบว่า นักท่องเที่ยวทั่วโลกจะจัดทริปเที่ยวกับครอบครัวเฉลี่ย 4-7 คืนต่อทริป โดยคนไทยเรา 1 ใน 3 จะเที่ยวกับครอบครัวมากกว่า 14 คืนต่อทริป ในขณะที่ในส่วนของนักท่องเที่ยวชาวเวียดนาม มาเลเซีย และจีน จะเดินทางไปท่องเที่ยวเป็นครอบครัวเพียง 1-3 คืนต่อทริป นอกจากนี้มีแนวโน้มจะท่องเที่ยวบ่อยขึ้น และจากผลสำรวจใน 12 เดือนที่ผ่านมา บอกว่าโรงแรมเป็นที่พักที่ได้รับความนิยมสูงสุดเมื่อเที่ยวกับครอบครัว รองลงมาเป็นบ้านพักทั้งหลัง เบดแอนด์เบรคฟาสต์ (B&B) และรีสอร์ตที่มีบริการครบวงจร โดยปัจจัยในการวางแผนทริปเที่ยวได้แก่ ค่าใช้จ่าย ความปลอดภัย กิจกรรมที่สามารถทำได้เป็นหลัก ที่พักที่มีสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น ห้องครัว บริการห้องที่เชื่อมถึงกันได้ บริการพี่เลี้ยงเด็ก คิดส์คลับ ฯลฯ แต่ตอนเที่ยวนักท่องเที่ยวกลัวอะไรบ้าง ? นักท่องเที่ยวกังวลเรื่องอาการเจ็บป่วยที่อาจเกิดขึ้นระหว่างทริป (36%) คุณภาพที่พัก (21%) การทะเลาะกันของสมาชิกในครอบครัว (16%) ในขณะที่นักท่องเที่ยวชาวอังกฤษจะมีความกังวลน้อยที่สุดเมื่อไปเที่ยวกับครอบครัว โดยเกือบ 1 ใน 3 หรือราว 27% ตอบว่าไม่กังวลกับเรื่องใดๆเลย สรุป เมื่อพฤติกรรมนักท่องเที่ยวทั่วโลกและเอเชีย หันมาเที่ยวในรูปแบบครอบครัวมากขึ้น และเลือกใช้บริการโรงแรมมากที่สุด ดังนั้นนอกจากโรงแรมต้องสร้างตัวตน สร้างชื่อเสียงในโลกออนไลน์เพื่อดึงดูดลูกค้า ยังต้องเชื่อมต่อกับแพลทฟอร์มที่บริการจองห้องพักต่างๆ ที่สำคัญโรงแรมต้องหาจุดแข็งในการทำธุรกิจ เช่น ลูกค้าชอบสิ่งอำนวยความสะดวกแบบไหน อย่างห้องพักเชื่อมกัน บริการพี่เลี้ยงเด็ก ฯลฯ ซึ่งจะช่วยให้โรงแรมสามารถเพิ่มมูลค่า และรายได้ของตนเองด้วย ที่มา : brandinside.asia
28 ส.ค 2561
กิจกรรม เจรจาธุรกิจการผลิต การค้าต่างประเทศและการแลกเปลี่ยนทางธุรกิจ ไทย - ญี่ปุ่น ประจำปี 2561
กิจกรรม เจรจาธุรกิจการผลิต การค้าต่างประเทศและการแลกเปลี่ยนทางธุรกิจ ไทย - ญี่ปุ่น ประจำปี 2561 ️ - กิจกรรมงานสัมมนาแบบเปิดเพื่อเพิ่มโอกาสในการเชื่อมสัมพันธ์ทางธุรกิจ โดยบริษัทชั้นนำจากประเทศญี่ปุ่นวัตถุประสงค์1. เพื่อเป็นการขยายตลาดต่างประเทศ และการสร้างโอกาสในการประกอบธุรกิจ ทั้งในระดับทวีปและระดับโลก2. เป็นการสร้างความเชื่อมโยงและการสร้างพันธมิตรเพื่อการร่วมมือในการทำธุรกิจ ท่านที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ บริษัท เอเซีย อัลลิแอนซ์ พาร์ทเนอร์ จำกัดคุณกันตพงศ์ และ คุณวรรณภรณ์ 02-261-8182 สมัครได้แล้วตั้งแต่วันนี้ ถึง 10 กันยายน 2561
27 ส.ค 2561
กิจกรรม การพัฒนาผลิตภัณฑ์ของอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด โดยใช้เทคโนโลยีวิทยาศาสตร์และนวัตกรรม
วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม 2561 นายสิทธิรงณ์ เร่งเงียบ ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการส่งเสริมธุรกิจอุตสาหกรรม ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ประธานคณะกรรมการตรวจรับพัสดุในงานจ้างที่ปรึกษา กิจกรรม การพัฒนาผลิตภัณฑ์ของอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด โดยใช้เทคโนโลยีวิทยาศาสตร์และนวัตกรรม พร้อมคณะกรรมการฯ ประชุมเพื่อพิจารณาตรวจรับงานงวดที่ 4 ที่ปรึกษาโดยสถานบ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยนเรศวร ณ ห้องประชุมกลุ่มพัฒนาการส่งเสริมธุรกิจอุตสาหกรรม ชั้น 2 ศภ.3 กสอ
27 ส.ค 2561
ชี้ทางรอดธุรกิจโรงแรม แบงก์ออกตัวหาพาร์ทเนอร์ทั้งรัฐ-เอกชนช่วยลูกค้า
ชี้ทางรอดธุรกิจโรงแรม แบงก์ออกตัวหาพาร์ทเนอร์ทั้งรัฐ-เอกชนช่วยลูกค้า SCB ชี้ปัญหาธุรกิจโรงแรมต้องลดเสี่ยง-เพิ่มรายได้ พิกุล ศรีมหันต์ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ผู้บริหารสูงสุด SME Segment ธนาคารไทยพาณิชย์ บอกว่า ธุรกิจโรงแรมเป็นธุรกิจอ่อนไหวต่อสถานการณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะภาวะเศรษฐกิจ และความเสี่ยงในธุรกิจ เพราะธุรกิจโรงแรมเป็นธุรกิจระยะยาว กว่าจะคืนทุนใช้เวลาเป็น 10 ปี เจ้าของกิจการต้องผ่านวงจรเศรษฐกิจและวิกฤตต่างๆอีกหลายครั้ง ดังนั้นเขาต้องบริหารให้เป็น นอกจากนี้ปัญหาใหญ่ที่ผู้ประกอบการเจอคือ ขั้นตอนการขอใบอนุญาตที่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญ เวลา และความเข้าใจอย่างมากทำให้บางคนไม่สามารถจดทะเบียนเป้นโรงแรมได้ และส่งผลกระทบต่อการประกอบกิจการ ส่วนอีกเรื่องสำคัญคือ ผู้ประกอบการต้องมีรายได้เพิ่มขึ้น เราเลยหาพันธมิตรจากหลายส่วนมาช่วยให้ธุรกิจโรงแรมมีช่องทางที่จะเพิ่มยอดขายขึ้นด้วย “ตอนนี้เรารอลูกค้าเดินมาหาไม่ได้แล้ว เราต้องเดินไปหาลูกค้าแทน ซึ่งเราก็หาพันธมิตรจากหลายส่วน อย่างกรมการปกครองที่จะมาดูเรื่องใบอนุญาตของผู้ประกอบการ Google SiteMinder ที่มีเครื่องมือช่วยเพิ่มยอดขายให้ลูกค้า ส่วน ททท. (การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย) ที่จะช่วยพัฒนาทางออกใหม่ๆ ให้เจ้าของโรงแรม” แผนต่อไปคือเราจะนำ Ecosystem สำหรับธุรกิจโรงแรมทั้งหมด มาร่วมกับธนาคารเพื่อเป็นจุดเชื่อม ให้ลูกค้าเข้าถึง Solutions ต่างๆ ได้มากขึ้น ถ้าลูกค้าประสบความสำเร็จ ธนาคารก็มีรายได้ไปด้วย กรมการปกครองปลดล็อกกฎหมายเปิดทางให้โรงแรมจดทะเบียนถูกต้อง ทัศน์พล ประทีป ณ ถลาง หัวหน้ากลุ่มมาตรฐานและระเบียบ ส่วนการรักษาความสงบเรียบร้อย 3 กรมการปกครอง บอกว่า เดิมทีการขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรมอาจจะยาก ส่งผลให้หลายบริษัทยังไม่ได้จดทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ล่าสุดเราเลยอยู่ระหว่างการแก้กฎกระทรวงเพื่อปลดล็อกให้โรงแรมที่ยังไม่ได้จดทะเบียนทั้งหลายสามารถเข้าสู่ระบบได้ง่ายขึ้น ปัจจุบันธุรกิจโรงแรมทุกประเภทมีอยู่ 11,279 ราย (นับตั้งแต่ปี 2547) ขณะนี้ยังมีโรงแรมอีกกว่า 3,000 แห่งที่ยังไม่มีใบอนุญาตถูกกฎหมาย และอีกหลักหมื่นแห่งที่มีติดเรื่องโครงสร้างอาคารไม่ใช่โรงแรมเลยไม่สามารถขอใบอนุญาตได้ “สาเหตุที่โรงแรมหลายแห่งยังจดทะเบียนไม่ได้ ก็เพราะติดกฎหมายหลายๆ ที่เช่น กฎหมายผังเมือง กฎหมายสิ่งแวดล้อม กฎหมายอาคารไม่ใช่การสร้างเพื่อเป็นโรงแรม บางที่เป็นโครงสร้างแบบคอนโดมิเนียม แต่ดัดแปลงมาทำเป็นโรงแรม ซึ่งเรากำลังจะปลดล็อกกฎหมายเหล่านี้ เช่น กฎหมายกระทรวงโยธาธิการ กฎหมายพิเศษ ฯลฯ เพื่ออำนวยความสะดวกให้การจดทะเบียนโรงแรมได้ง่ายขึ้น เร็วขึ้น” Google-Siteminder เตรียมเครื่องมือดิจิทัลเสริฟลูกค้าโรงแรม อภิชญา เตชะมหพันธ์ Head of Channel Sales, Thailand and Vietnam, Google (Thailand) Company Limited บอกว่า ปัจจุบันโลกดิจิทัลทำให้การท่องเที่ยวดูเป็นเรื่องง่ายขึ้น และยังเป็นเครื่องมือสำคัญให้ผู้ประกอบการสามารถใช้บริหารธุรกิจได้ดีขึ้นด้วย แต่ในไทยเรากลับมี SME แค่ 13% (จากจำนวน SME ในไทยที่ 2.7-2.8 ล้านราย) ที่มีเว็บไซด์ แสดงว่าคนยังใช้ดิจิทัลเป็นเครื่องมือได้ไม่เต็มที่ ซึ่งในโลกดิจิทัล ผู้ประกอบการต้องมีตัวตนบนโลกออนไลน์ ที่จะสร้างทั้งความเชื่อมั่นให้ลูกค้า เป็นช่องทางเพิ่มรายได้ให้ธุรกิจ และสามารถเก็บข้อมูลมาใช้วางแผนงานได้ด้วย โดยเรามีเครื่องมือที่ชื่อ Google My Business ให้ผู้ประกอบการใช้ได้ฟรี โดยจะสามารถใส่ข้อมูลบริษัทให้ลูกค้ารู้จักได้ สามารถสร้างเว็บไซด์ใหม่ได้ภายใน 3 คลิก แถมยังช่วยเก็บข้อมูล Insight ของลูกค้าได้ เช่น ลูกค้าชาติไหน ใช้คำว่าอะไร Search มาเจอเรา ส่วนใครที่อยากลองใช้งาน Google My Business สามารถสมัครทางออนไลน์ได้เลย ระบบจะใช้เวลาระบุตัวตนลูกค้าประมาณ 1-2 สัปดาห์ แต่ถ้าลูกค้าเลือกที่จะมาระบุตัวตนที่สาขาธนาคารไทยพาณิชย์ จะสามารถใช้งานได้ทันที อนงค์ชนก คงเทียบ Regional Sales Manager-Asia, SiteMinder บอกว่า เราจับ pain point ของลูกค้าที่เป็นผู้ประกอบการโรงแรม ว่าเมื่อเขาต้องใช้บริการ เว็บไซด์ที่ขายห้องพักบนออนไลน์หลายเว็บ บางทีก็จัดการได้ยาก SiteMinder เลยจะเป็น Software ตัวกลางที่เชื่อมทุกเว็บไซด์เข้าด้วยกันให้ลูกค้าสามารถบริหารห้องพักที่มีอยู่ได้ง่ายชึ้น ที่มา : brandinside.asia
22 ส.ค 2561
โรงพยาบาลพระรามเก้าถึงเวลาทรานส์ฟอร์มสู่ Digital Hospital
โรงพยาบาลพระรามเก้าถึงเวลาทรานส์ฟอร์มสู่ Digital Hospital จากการแข่งขันอันดุเดือดในธุรกิจโรงพยาบาล อีกทั้งการเติบโตของประชากรผู้สูงอายุ ทำให้ “โรงพยาบาลพระรามเก้า” ต้องลุกขึ้นมารีแบรนด์ครั้งใหญ่ ทรานส์ฟอร์มสู่ Digital Hospital วางภาพลักษณ์ให้คนทั่วไปเข้าถึงได้แม้ไม่ต้องเจ็บป่วย รีแบรนด์ครั้งใหญ่ และครั้งแรก ธุรกิจโรงพยาบาลเป็นหนึ่งธุรกิจที่มีการเคลื่อนไหวค่อยข้างสูงในยุคนี้ มีปัจจัยเสริมหลายอย่างทั้งจากเทรนด์การดูแลสุขภาพของคนไทยมากขึ้น การเติบโตของสังคมผู้สูงอายุที่คาดว่ามีสัดส่วน 20% ของจำนวนประชากรในอีก 3 ปีข้างหน้า ทำให้มีผู้สูงอายุเจ็บป่วยเพิ่มมากขึ้นอีกแน่นอน อีกทั้งนโยบายการผลักดันให้เมืองไทยเป็น Medical Hub ของภาครัฐ ทำให้มีชาวต่างชาติเข้ามาใช้บริการทางการแพทย์ในไทยมากขึ้น ยิ่งส่งเสริมให้ธุรกิจโตมากขึ้นไปอีก ในขณะเดียวกันก็ทำให้การแข่งขันในตลาดสูงมากขึ้นด้วย เพราะต่างคนต่างต้องงัดหมัดเด็ดของตัวเองออกมา จึงทำให้ “โรงพยาบาลพระรามเก้า” อยู่นิ่งไม่ได้ ต้องลุกขึ้นมาปรับตัวในการรีแบรนด์ปรับภาพลักษณ์แบรนด์แบบยกเครื่องครั้งใหญ่ตั้งแต่เปิดให้บริการมา 26 ปี มีการใช้โลโก้ใหม่ และใช้สีที่ดูอ่อนโยน เข้าถึงได้มากขึ้น นายแพทย์เสถียร ภู่ประเสริฐ รองประธานกรรมการบริหาร และกรรมการผู้อำนวยการ โรงพยาบาลพระรามเก้า บอกว่า “จุดอ่อนของโรงพยาบาลพระรามเก้าก็คือคนรู้จักน้อย เพราะที่ผ่านมามุ่งแต่เรื่องการรักษาพยาบาลอย่างเดียว ไม่ค่อยได้ทำการตลาด ส่วนใหญ่เป็นปากต่อปากกันว่าที่นี่เด่นเรื่องอะไร ตอนนี้ต้องการให้คนรับรู้มากขึ้น จึงต้องลุกขึ้นมาทำตลาด รอปากต่อปากอย่างเดียวไม่ได้” อีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้โรงพยาบาลพระรามเก้าต้องสร้างแบรนด์มากขึ้นก็คือ ทำเลที่ตั้งกำลังจะกลายเป็นจุดยุทธศาสตร์ เพราะย่านพระรามเก้า–รัชดา จะเป็น CBD แห่งใหม่ของกรุงเทพฯ มีศูนย์การค้า ออฟฟิศ มีประชากรหนาแน่น ทำให้ต้องสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น 5 กลยุทธ์ ปรับทัพสู้ศึกในตลาด ในการรีแบรนด์ครั้งนี้ ได้เปิดแผนการตลาดโดยมี 5 กลยุทธ์หลักได้แก่ ขยายเครือข่ายพันธมิตรด้วยความที่โรงพยาบาลพระรามเก้าเป็นรูปแบบ Stand Alone จำเป็นต้องสร้างพันธมิตร มีส่วนสำคัญในการสร้างการเติบโต ปัจจุบันมีโรงพยาบาลพันธมิตรทั้งหมด 9 แห่งในประเทศไทย ตั้งอยู่ในจังหวัดสงขลา ยะลา ปัตตานี จันทบุรี ตรัง อุบลราชธานี ชุมพร และนครสวรรค์ โดยแต่ละแห่งจะส่งต่อผู้ป่วยที่มีความซับซ้อนอย่างโรคไตมาให้โรงพยาบาล การมีพันธมิตรทำให้แข่งขันในตลาดได้ดีมากขึ้น ทุ่มงบ 2,000 ล้าน สร้างอาคารใหม่อาคารใหม่สูง 16 ชั้น พื้นที่ 40,000 ตารางเมตร มีศูนย์ดูเรื่องการเจ็บปวด หรืออาการที่เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิต ภายใต้แนวคิด Co-Healthy Space สร้างแนวคิดว่าไม่ต้องป่วยก็มาได้ เน้นดูแลสุขภาพรักษาพยาบาล และบริการด้านไลฟ์สไตล์ คาดว่าจะเปิดให้บริการในช่วงไตรมาส 4 ของปีนี้ Digital Hospital นำเทคโนโลยีมาช่วยเอาเทคโนโลยีเข้ามาสร้างบริการใหม่ๆ พัฒนาเทคโนโลยีมาสนับสนุนบริการรูปแบบใหม่ เพื่อสร้างประสบการณ์ให้ผู้ป่วย และลดภาระการทำงานของพนักงานได้ ขยายขอบเขตการให้บริการในการส่งเสริมสุขภาพจากเดิมที่หลายคนมีความคิดว่ามาโรงพยาบาลก็เพื่อมารักษาอย่างเดียวเท่านั้น แต่จะเปลี่ยนแนวคิด และเพิ่มบริการให้ครอบคลุมการส่งเสริมสุขภาพ การตรวจหาโรค ประเมินความเสี่ยงสุขภาพ รวมถึงบริการด้านสุขภาพอื่นๆ เช่น ศูนยสุขภาพเส้นผม ศูนย์ผิวหนัง และศัลยกรรมความงาม ศูนย์รักษาอาหารปวด และเวชศาสตร์ฟื้นฟู เป็นต้น การตลาดเชิงรุก ปรับภาพลักษณ์องค์กรเป็นครั้งแรกที่มีการทำการตลาดชัดเจนมากที่สุด ปรับภาพลักษณ์ให้เป็น Professtional Healthcare Community หรือศูนย์รวมเพื่อสุขภาพในการใช้ชีวิต และใช้สื่อออนไลน์ในการสื่อสารมากขึ้น เป้าหมายต้องเป็น Digital Hospital ใน 3 ปี การทรานส์ฟอร์มของโรงพยาบาลพระรามเก้าในครั้งนี้มีเป้าหมายคือต้องเป็น Digital Hospital ภายใน 3 ปีให้ได้ มีการลงทุนด้านไอทีปีละ 50 ล้านบาท มีการเตรียมอินฟราสตรัคเจอร์ต่างๆ รวมถึงวางระบบปฏิบัติการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการทำงาน ปัจจุบันกำลังทดลองใช้โปรแกรม Digital Health มีแอพพลิเคชั่นสำหรับผู้ป่วย ห้องระบบศูนย์บัญชาการควบคุม อุปกรณ์ทางการแพทย์ ที่สามารถติดตัวได้ รวมไปถึงการให้คำปรึกษาเรื่องสุขภาพแก่ผู้ป่วยที่อยู่ทางไกล (Telemedicine) นายแพทย์สุธร ชุตินิยมการ รองกรรมการผู้อำนวยการ (ฝ่ายบริหาร) และรักษาการรองกรรมการผู้อำนวยการ(ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ) โรงพยาบาลพระรามเก้า บอกว่า “การจะเป็น Digital Hospital มีการเอาเทคโนโลยีมาใช้ครอบคลุม เช่น ให้คนไข้ทำการดำเนินการด้วยตัวเองผ่านเว็บไซต์ แอพพลิเคชั่น ใช้เทคโนโยีมาช่วยลดระยะเวลา พัฒนาแอพในการสั่งการรักษาพยาบาล สร้างความถูกต้อง ลดข้อผิดพลาด เพิ่มความปลอดภัย คุณภาพการสั่งยา มองภาพจะสมบูรณ์ภายใน 3-5 ปีข้างหน้า“ มีการวางแผนออกเป็น 3 เฟสด้วยกัน ได้แก่ เฟสแรกคือช่วงวางระบบอินฟราสตรัคเจอร์ต่างๆ เฟสที่สองเริ่มเอาเทคโนโลยีอย่างแอพพลิเคชั่นมาช่วยอำนวยความสะดวกแก่คนไข้ และให้พนักงานปฏิบัติงานได้ดีขึ้น และในเฟสสุดท้ายคือจะต้องเป็นองค์กรที่มีการทำงานแบบ Paperless ทุกอย่างทำผ่านระบบหมด สรุป การแข่งขันในธุรกิจโรงพยาบาลดุเดือดมากขึ้น เห็นได้จากเครือข่ายรายใหญ่ๆ ต่างทุ่มงบทำการตลาดอย่างหนัก ต้องมีการแย่งฐานลูกค้ากันยกใหญ่ การที่โรงพยาบาลพระรามเก้าขึ้นมาปรับตัวก็เป็นผลดีต่อแบรนด์ และอุตสาหกรรม พัฒนาเพื่อสิ่งที่ดีที่สุดให้ผู้บริโภค CR : brandinside.asia
21 ส.ค 2561
การประชุมเชิงปฏิบัติการ ทบทวนแผนพัฒนาจังหวัดพิจิตร 4 ปี (พ.ศ. 2561-2564) ฉบับทบทวนปี พ.ศ. 2563 และจัดทำแผนปฏิบัติราชการจังหวัดพิจิตร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
วันอังคารที่ 21 สิงหาคม 2561 นางสาวปิยกุล กรรณสูต ผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์และแผนงานภูมิภาค ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการ ทบทวนแผนพัฒนาจังหวัดพิจิตร 4 ปี (พ.ศ. 2561-2564) ฉบับทบทวนปี พ.ศ. 2563 และจัดทำแผนปฏิบัติราชการจังหวัดพิจิตร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 โดยมี นายวีระศักดิ์ วิจิตร์แสงศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร เป็นประธานเปิดการประชุมฯ ณ โรงแรมมีพรสวรรค์ อ.เมือง จ.พิจิตร
21 ส.ค 2561
การอบรมการจัดทำระบบคุณภาพมาตรฐานการผลิตและประเมินแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสมกับวิสาหกิจชุมชน
วันอังคารที่ 21 ส.ค. 61 น.ส.กนกวรพรรณ คำฝอย และ น.ส.รัตนาวดี มณีกูล เจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 เข้ารับการอบรมการจัดทำระบบคุณภาพมาตรฐานการผลิตและประเมินแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสมกับวิสาหกิจชุมชน ระหว่างวันที่ 21-22 ส.ค. 61 จัดโดย กองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ดำเนินการโดย บริษัท ไพรม์เอเซีย จำกัด ณ โรงแรมเอเชีย แอร์พอร์ต รังสิต
21 ส.ค 2561