โทรศัพท์ 1358
การค้นหาขั้นสูง

หมวดหมู่
การชี้แจงประเด็นข้อคิดเห็นจากฝ่ายต่างๆ กรณีที่รัฐบาลไทยได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) 4 ฉบับ ร่วมกับกลุ่ม บริษัท อาลีบาบา
การชี้แจงประเด็นข้อคิดเห็นจากฝ่ายต่างๆ กรณีที่รัฐบาลไทยได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) 4 ฉบับ ร่วมกับกลุ่ม บริษัท อาลีบาบา
การชี้แจงประเด็นข้อคิดเห็นจากฝ่ายต่างๆ กรณีที่รัฐบาลไทยได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) 4 ฉบับ ร่วมกับกลุ่ม บริษัท อาลีบาบา ข้าพเจ้า นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ขอรายงานผลการชี้แจงประเด็นข้อคิดเห็นจากฝ่ายต่างๆ กรณีที่รัฐบาลไทยได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) 4 ฉบับ ร่วมกับกลุ่ม บริษัท อาลีบาบา ประเด็นประจำวันเสาร์ที่ 21 เมษายน 2561 ในประเด็นที่1โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้ 1) ประเด็นที่กังวลว่าความร่วมมือกับอาลีบาบาอาจส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการไทยในตลาดการค้าออนไลน์ ทำให้ต้องขายกิจการให้ต่างชาติ เนื่องจากอาลีบาบาเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ มีงบประมาณด้านการตลาดมาก รวมทั้งรัฐบาลจีนให้การอุดหนุนด้านการขนส่ง ทำให้มีต้นทุนถูกกว่าไทย ซึ่งรัฐบาลไทยควรมีแนวทางสนับสนุนเรื่องการลดต้นทุนค่าขนส่งให้กับผู้ประกอบการไทยในตลาดการค้าออนไลน์ เพื่อให้แข่งขันกับผู้ประกอบการรายใหญ่ได้อย่างเหมาะสมนั้น กระทรวงอุตสาหกรรมขอชี้แจงว่าความร่วมมือที่รัฐบาลไทยทำกับอาลีบาบา มุ่งเน้นการพัฒนาให้ SMEs ทุกระดับ รวมถึงกลุ่มวิสาหกิจชุมชนและกลุ่มธุรกิจเกษตรทั่วประเทศมีความรู้และทักษะทางด้านดิจิทัลและอีคอมเมริซ์ สามารถเข้าถึงตลาดออนไลน์สู่ประเทศจีนและตลาดสากล โดยอาลีบาบาจะมาช่วยอบรมให้ ผู้ประกอบการมีความรู้เรื่องการตลาดออนไลน์ เพื่อให้สามารถเลือกใช้ผู้บริการ (Service Provider) ที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับตนเองมากที่สุดการปรับปรุงระบบด้านโลจิสติกส์โดยอาศัยเทคโนโลยีของอาลีบาบาจะช่วยให้สามารถส่งสินค้าของ SMEs ไทยไปยังตลาดจีนและตลาดสากลได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เป็นการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันให้กับ SMEs ไทยนอกจากนี้กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับระบบ e-Commerce และโลจิสติกส์ จะใช้กรณีของ Alibaba เป็น Best Pratice เพื่อร่วมกันปรับปรุงและพัฒนาขีดความสามารถของผู้ประกอบการ e-Commerce และโลจิสติกส์ไทยอย่างต่อเนื่องให้มีมาตรฐานและคุณภาพที่เหนือกว่า Alibaba อีกด้วย 2) ประเด็นที่มีความกังวลว่าอาลีบาบา จะได้ฐานข้อมูล (ดาต้าเบส) ของไทย ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อผู้บริโภค ซึ่งประเด็นนี้ภาครัฐต้องพิจารณาให้เกิดความรัดกุม กระทรวงอุตสาหกรรมขอชี้แจงว่าความร่วมมือที่รัฐบาลไทยทำกับอาลีบาบาทั้ง 4 ฉบับ ไม่มีประเด็นใดที่จะนำออกซึ่งข้อมูลในระบบของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะข้อมูลของผู้ประกอบการไทย โดยหน่วยงานต่างๆ ต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการปี พ.ศ.2540 อย่างเคร่งครัด อย่างไรก็ตาม หาก SMEs รายใดเลือกที่จะทำตลาดออนไลน์กับอาลีบาบา จะได้ประโยชน์จากข้อมูลการวิเคราะห์ตลาดเป้าหมายผ่านการวิเคราะห์ Data Analitic / Big data ของอาลีบาบาด้วย ทั้งนี้หน่วยงานต่างๆ จะได้นำข้อสังเกตเหล่านี้ไปพิจารณากำกับดูแลข้อมูลของหน่วยงานให้รัดกุมยิ่งขึ้น 3) ประเด็นที่กล่าวว่า การเข้ามาของนายแจ็ค หม่า ทำให้อาลีบาบาได้เปรียบสูง เพราะรัฐบาลต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจ จึงสามารถต่อรองกับรัฐบาลไทยเป็นอย่างได้ดี ส่งผลให้สินค้าจีนอาจเข้ามารุกรานสินค้าไทย อัตราการจ้างงานแรงงานในอุตสาหกรรมที่เป็นตัวกลางจะหายไป และโรงงานผู้ผลิตสินค้าในเมืองไทยจะไม่สามารถแข่งขันได้ เนื่องจากจีนมีต้นทุนถูกกว่า นอกจากนี้อาจส่งผลกระทบต่อระบบธนาคาร และอุตสาหกรรม ซึ่งธุรกิจค้าปลีกจะเข้าสู่ตลาดออนไลน์และตกอยู่ในมือชาวต่างชาตินั้น กระทรวงอุตสาหกรรมขอชี้แจงว่าตลาดการค้าออนไลน์เป็นตลาดการค้าเสรี แม้ในปัจจุบันผู้บริโภคคนไทยก็สามารถซื้อสินค้าจากประเทศจีนผ่านทางเว็บไซต์ออนไลน์ได้ในหลากหลายช่องทางอยู่แล้ว ความร่วมมือที่เกิดขึ้นจะช่วยให้ผู้ประกอบการ SMEs ไทยสามารถขายสินค้าได้มากขึ้น ช่วยให้ตลาดจีนและผู้บริโภคชาวจีนที่อยู่ในระบบออนไลน์ซึ่งมีจำนวนกว่า 500 ล้านคนและตลาดของจีนได้รับรู้ถึงศักยภาพของสินค้าและบริการของไทยอีกเหตุผลหนึ่งคือ ยุทธศาสตร์ของรัฐบาลจีนได้เปลี่ยนไปจากเดิมที่เน้นการส่งออก ไปเป็นเน้นการนำเข้าสินค้าและบริการจากต่างประเทศมากขึ้น โดยความร่วมมือของรัฐบาลไทยกับอาลีบาบานั้น ไม่ได้เน้นการนำเข้าสินค้าจากจีนมาบริโภคในประเทศไทย แต่เป็นการสร้างเครื่องมือเพื่อเพิ่มโอกาสให้สินค้าที่มีคุณภาพของไทยสามารถเข้าไปขายในประเทศจีน และประเทศเพื่อนบ้านของไทยในกลุ่ม CLMV มากขึ้น
23 เม.ย. 2561
กสอ.ย้ำไทยไม่เสียเปรียบอาลีบาบา-ไทยมีกม.คุ้มครองดาต้าเบส
กสอ.ย้ำไทยไม่เสียเปรียบอาลีบาบา-ไทยมีกม.คุ้มครองดาต้าเบส
เมื่อวันที่ 22 เมษายน นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม(กสอ.)กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังมีกระแสข่าวความไม่เข้าใจต่อการที่หน่วยงานภาครัฐ ได้มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจ(เอ็มโอยู) 4 ฉบับกับทางบริษัท อาลีบาบา ทั้งเรื่องการค้าการลงทุนในพื้นที่ระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซี) การลงทุนสมาร์ทดิจิทัลฮับในอีอีซี ความร่วมมือด้านการพัฒนาเอสเอ็มอี และบุคลากรด้านดิจิทัล และความความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวผ่านระบบดิจิทัล โดยระบุว่าการลงนามดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการเอสเอ็มอีของไทยทั้งในเรื่องโอกาสในการแข่งขันทางการค้า และการตลาด รวมถึงเรื่องของข้อมูลของบริษัทนั้น ขอชี้แจงว่า ความร่วมมือที่รัฐบาลไทยทำข้อตกลงกับอาลีบาบา มุ่งเน้นการพัฒนาให้เอสเอ็มอีทุกระดับ รวมถึงกลุ่มวิสาหกิจชุมชนและกลุ่มธุรกิจเกษตรทั่วประเทศให้มีความรู้และทักษะทางด้านดิจิทัลและอีคอมเมิร์ซสามารถเข้าถึงตลาดออนไลน์สู่ประเทศจีนและตลาดสากล โดยอาลีบาบาจะมาช่วยอบรมให้ผู้ประกอบการไทยมีความรู้เรื่องการตลาดออนไลน์ เพื่อให้สามารถเลือกใช้ผู้บริการที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับตนเองมากที่สุด นอกจากนี้ อาลีบาบาจะนำเทคโนโลนีเข้าช่วยไทยในการปรับปรุงระบบด้านโลจิสติกส์ ให้สามารถส่งสินค้าของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยไปยังตลาดจีนและตลาดสากลได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น เป็นการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทย ขณะเดียวกันกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับระบบอีคอมเมิร์ซ และโลจิสติกส์ จะใช้กรณีของอาลีบาบาเป็นภาคปฏิบัติที่ดีที่สุดในการปรับปรุงและพัฒนาขีดความสามารถของผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซ และโลจิสติกส์ไทยอย่างต่อเนื่องมีคุณภาพและได้มาตรฐาน นายกอบชัยกล่าวว่า สำหรับความกังวลที่ว่าอาลีบาบาจะได้ฐานข้อมูล(ดาต้าเบส) ของไทย ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อผู้บริโภค ขอชี้แจงว่าไม่มีประเด็นใดที่จะนำออกซึ่งข้อมูลในระบบของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะข้อมูลของผู้ประกอบการไทย เพราะหน่วยงานต่างๆต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการปี2540 อย่างเคร่งครัด ซึ่งหากผู้ประกอบการเอสเอ็มอีรายใดเลือกที่จะทำตลาดออนไลน์กับอาลีบาบาก็จะได้ประโยชน์จากข้อมูลการวิเคราะห์ตลาดเป้าหมายผ่านการวิเคราะห์จากระบบฐานข้อมูลของอาลีบาบาด้วย นายกอบชัยกล่าวด้วยว่า การเข้ามาของนายแจ๊ก หม่า ประธานอาลีบาบา กรุ๊ป จนทำให้นักธุรกิจไทยเกิดความวิตกกังวลนั้น ขอทำความเข้าใจว่า ปัจจุบันตลาดการค้าออนไลน์เป็นตลาดการค้าเสรี ผู้บริโภคคนไทยสามารถเลือกซื้อสินค้าจากประเทศจีนผ่านทางเว็บไซต์ออนไลน์ได้ในหลากหลายช่องทางอยู่แล้ว ซึ่งความร่วมมือที่เกิดขึ้นจะช่วยให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยสามารถขายสินค้าได้มากขึ้น ช่วยให้ตลาดจีนและผู้บริโภคชาวจีนที่อยู่ในระบบออนไลน์ซึ่งมีจำนวนกว่า 500 ล้านคนรับรู้ถึงศักยภาพของสินค้าและบริการของไทย ที่สำคัญยุทธศาสตร์ของรัฐบาลจีนได้เปลี่ยนไปจากเดิมที่เน้นการส่งออกไป เป็นเน้นการนำเข้าสินค้าและบริการจากต่างประเทศมากขึ้น โดยความร่วมมือของรัฐบาลไทยกับอาลีบาบา ไม่ได้เน้นการนำเข้าสินค้าจากจีนมาบริโภคในประเทศไทย แต่เป็นการสร้างเครื่องมือเพื่อเพิ่มโอกาสให้สินค้าที่มีคุณภาพของไทยสามารถเข้าไปขายในประเทศจีน และประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มซีแอลเอ็มวี(กัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม) ได้มากขึ้น
23 เม.ย. 2561
โครงการ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข สร้างพิจิตรเมืองยิ้ม”  ประจำเดือนเมษายน 2561
โครงการ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข สร้างพิจิตรเมืองยิ้ม” ประจำเดือนเมษายน 2561
วันพฤหัสบดีที่ 19 เมษายน 2561 นางสาวนิรามัย ศิริศรีสุดากุล ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่3 และเจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่3 เข้าร่วมโครงการ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข สร้างพิจิตรเมืองยิ้ม” ประจำเดือนเมษายน 2561 โดยร่วมออกบูธให้คำปรึกษาแนะนำด้านเงินทุนหมุนเวียน การพัฒนาผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ และประชาสัมพันธ์โครงการต่างๆของศูนย์ฯ ให้กับประชาชนที่มาขอรับบริการ ณ วัดวังงิ้ว ตำบลวังงิ้วใต้ อำเภอดงเจริญ จังหวัดพิจิตร
19 เม.ย. 2561
โครงการ "บำบัดทุกข์ บำรุงสุข สร้างพิจิตรเมืองยิ้ม" ประจำเดือนเมษายน
โครงการ "บำบัดทุกข์ บำรุงสุข สร้างพิจิตรเมืองยิ้ม" ประจำเดือนเมษายน
วันพฤหัสบดีที่ 19 เมษายน 2561 นายวีระศักดิ์ วิจิตร์แสงศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร เป็นประธานในโครงการ "บำบัดทุกข์ บำรุงสุข สร้างพิจิตรเมืองยิ้ม" ประจำเดือนเมษายน 2561 โดยมี นางสาวนิรามัย ศิริศรีสุดากุล ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่3 เจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 เข้าร่วมงาน และร่วมออกบูธให้คำปรึกษาแนะนำ ณ วัดวังงิ้ว ตำบลวังงิ้วใต้ อำเภอดงเจริญ จังหวัดพิจิตร
19 เม.ย. 2561
กิจกรรมให้คำปรึกษาแนะนำ ถ่ายทอดความรู้ เรื่อง ปรับปรุงกระบวนการผลิต การบริหารการผลิต และผลิตผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green OTOP)
กิจกรรมให้คำปรึกษาแนะนำ ถ่ายทอดความรู้ เรื่อง ปรับปรุงกระบวนการผลิต การบริหารการผลิต และผลิตผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green OTOP)
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มอบหมายให้นายทักษิน ยังเพ็ง ตำแหน่งผู้สอนผลิตภัณฑ์หวายและไม้ไผ่ ช.1 ดำเนินกิจกรรมให้คำปรึกษาแนะนำ ถ่ายทอดความรู้ เรื่อง ปรับปรุงกระบวนการผลิต การบริหารการผลิต และผลิตผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green OTOP) ดำเนินการระหว่างวันที่ 18-19 เมษายน 2561 ณ วิสาหกิจชุมชนแปรรูปอาหารแม่บ้านบางม่วง เลขที่ 59/5 ม.2 ต.วัดไทร อ.เมือง จ.นครสวรรค์ โดยมี นายกิติ จารุอารยนันท์ ที่ปรึกษาอิสระ เป็นวิทยากรดำเนินการ เพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิตแผ่นข้าวเกรียบดิบ การบ่งชี้สิ่งที่ไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ (สมผ.) การลดการสูญเสียจากกระบวนการผลิต การลดต้นทุนการผลิต และลดผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อม เพื่องสร้างให้ผู้ประกอบการมีความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญที่มีต่อสภาพแวดล้อมและลดการสูญเสียจากการผลิต โดยผู้ประกอบการมีความพร้อมในการปรับปรุงตามมาตรการที่ให้คำแนะนำต่อไป
19 เม.ย. 2561
งานประชุมใหญ่สามัญประจำปี2560 (หอการค้าจังหวัดพิจิตร)
งานประชุมใหญ่สามัญประจำปี2560 (หอการค้าจังหวัดพิจิตร)
วันพฤหัสบดีที่ 19 เมษายน 2561 นายวีระศักดิ์ วิจิตร์แสงศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตรเป็นประธานในงานประชุมใหญ่สามัญประจำปี2560 (หอการค้าจังหวัดพิจิตร) โดยมีนางสาวนิรามัย ศิริศรีสุดากุล ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่3 เข้าร่วมงาน มีกิจกรรมการปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ "พลิกโอกาส..สร้างเศรษฐี" ด้วยนวัตกรรมการจัดการขยะแบบครบวงจร ในยุค4.0 โดย ดร.สมไทย วงษ์เจริญ ประธานกรรมการโรงงานคัดแยกขยะเพื่อรีไซเคิลวงษ์พาณิชย์ , การมอบป้ายของดีเมืองพิจิตรแก่ผู้ประกอบการในจังหวัดพิจิตร ณ ศูนย์การประชุมและแสดงสินค้าจังหวัดพิจิตร (CK hall) อ.เมือง จ.พิจิตร
19 เม.ย. 2561
ประชุม คณะอนุกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐประจำจังหวัดนครสวรรค์ ครั้งที่2/2561
ประชุม คณะอนุกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐประจำจังหวัดนครสวรรค์ ครั้งที่2/2561
วันพุธที่ 18 เมษายน 2561นายบรรลือ สง่าจิตร รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ เป็นประธานในการประชุม คณะอนุกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐประจำจังหวัดนครสวรรค์ ครั้งที่2/2561 โดยมี นายประเสริฐ สีน้ำเพชร อุตสาหกรรมจังหวัดนครสวรรค์ , นางสาวนิรามัย ศิริศรีสุดากุล ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 และคณะอนุกรรมการ ร่วมพิจารณาอนุมัติเงินกู้กองทุนฯ จำนวน 2 ราย วงเงินจำนวน 7.5 ล้านบาท รวมวงเงินอนุมัติในจังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 16 ราย จำนวน 63.12 ล้านบาท ณ ห้องประชุม1 สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดนครสวรรค์ อ.เมือง จ.นครสวรรค์
18 เม.ย. 2561
การประชุม knowledge management การจัดทำโครงการ การประเมินศักยภาพ SMEs ในการส่งเสริมสู่อุตสาหกรรม 4.0
การประชุม knowledge management การจัดทำโครงการ การประเมินศักยภาพ SMEs ในการส่งเสริมสู่อุตสาหกรรม 4.0
วันพุธที่ 18 เมษายน 2561 นางสาว นิรามัย ศิริศรีสุดากุล ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 เป็นประธานในการประชุม knowledge management การจัดทำโครงการ การประเมินศักยภาพ SMEs ในการส่งเสริมสู่อุตสาหกรรม 4.0 โดยมีหัวหน้ากลุ่มงาน และเจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมชั้น 2 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร
18 เม.ย. 2561
นายธวัชชัย กานต์ธัญลักษณ์ เจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 ที่ได้รับเลือกเป็นบุคคลเกียรติยศแห่งเมืองโอฆะบุรี (จังหวัดพิจิตร)
นายธวัชชัย กานต์ธัญลักษณ์ เจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 ที่ได้รับเลือกเป็นบุคคลเกียรติยศแห่งเมืองโอฆะบุรี (จังหวัดพิจิตร)
วันพุธที่ 18 เมษายน 2561 นางสาว นิรามัย ศิริศรีสุดากุล ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 พร้อมด้วยหัวหน้ากลุ่มงาน และเจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 ร่วมแสดงความยินดีกับ นายธวัชชัย กานต์ธัญลักษณ์ เจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 ที่ได้รับเลือกเป็นบุคคลเกียรติยศแห่งเมืองโอฆะบุรี (จังหวัดพิจิตร) ณ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร
18 เม.ย. 2561
รายงานงบทดลองหน่วยเบิกจ่ายรายเดือน ประจำเดือน มีนาคม 2561
รายงานงบทดลองหน่วยเบิกจ่ายรายเดือน ประจำเดือน มีนาคม 2561
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ขอรายงานงบทดลองหน่วยเบิกจ่ายรายเดือน ประจำเดือน มีนาคม 2561 Download คลิกที่นี่
17 เม.ย. 2561